Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 มิ.ย. 2023 เวลา 07:02 • ธุรกิจ
“บ่วงอิก” ปรัชญาทำธุรกิจ ให้ไม่เจ๊ง ของผู้ก่อตั้ง Thai Union
ในโลกการทำธุรกิจ หลายคนเอาแต่โฟกัสว่าจะทำอย่างไร ให้ธุรกิจเติบโตเร็ว ๆ จนอาจจะไม่ได้สนใจ หรือมองข้ามความเสี่ยงเล็ก ๆ ไป
ซึ่งบางความเสี่ยง แม้โอกาสที่มันจะเกิดแทบจะเป็นศูนย์ แต่พอเกิดขึ้นมาแล้วรับมือกับมันไม่ได้ บทสุดท้ายคือ ธุรกิจที่เราปั้นมา อาจจะจบไม่สวย
1
และเรื่องนี้ก็มีหนึ่งคนที่พูดไว้ได้อย่างน่าสนใจ
คือคุณไกรสร จันศิริ ผู้ก่อตั้ง Thai Union ที่ทำธุรกิจส่งออกอาหารทะเลแปรรูปรายใหญ่ของไทย
คุณไกรสร เรียกปรัชญาการทำธุรกิจ ให้ไม่เจ๊งนี้ว่า “บ่วงอิก”
แล้ว บ่วงอิก ที่ว่านี้หมายถึงอะไร ?
BrandCase จะเล่าให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
“บ่วงอิก” เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว
- คำว่า บ่วง แปลว่า 10,000
- คำว่า อิก แปลว่า 1
1
ซึ่งเปรียบเป็นวลีสั้น ๆ ว่า “1 ใน 10,000”
1
คุณไกรสร ให้ความหมายของ บ่วงอิก ไว้ว่า
ใน 10,000 ปี ใน 10,000 เรื่อง หรือใน 10,000 หน จะต้องเจอสัก 1 ครั้ง ที่จะเป็นความผิดพลาดครั้งรุนแรง
2
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ขึ้นมาอีกก็คือ
การจะทำอะไรก็ตาม ที่ทำแล้วมีความเสี่ยง แม้เพียงเล็กน้อย (โอกาส 1 ใน 10,000) ที่จะทำให้ธุรกิจของเราล้มละลาย ก็จงอย่าทำ
เช่น หากเรามีธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว แต่เจอโอกาสการลงทุนใหม่ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงมาก ทว่ามีโอกาส 0.01% ที่จะทำให้ธุรกิจของเราเจ๊งเลย ก็ไม่ควรเสี่ยงลงทุนโดยเด็ดขาด
ซึ่งคำว่า บ่วงอิก ก็เปรียบเสมือนเหตุการณ์ Black Swan ของบริษัทต่าง ๆ ที่โอกาสเกิดมันน้อยมาก แต่เกิดขึ้นมาทีหนึ่ง ก็เจ๊งได้เลย
2
ไม่ว่าจะเป็น
- เครดิตสวิส ที่ปล่อยกู้ให้ลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง พอลูกค้าล้มละลาย ไม่มีเงินมาจ่ายคืน บริษัทเลยขาดทุนหนัก จนเกือบเจ๊ง
- กองทุนชื่อว่า LTCM ที่มีนักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล 2 คนเป็นผู้บริหาร
กองทุนนี้ประสบความสำเร็จมาตลอด แต่เพราะกู้เงินมาลงทุนมากเกินไป พอลงทุนผิดพลาดนิดเดียว ก็เจ๊งทันที
1
- หลายบริษัทประกันภัย ที่ขายประกันแบบ เจอ จ่าย จบ พอเกิดโรคระบาดหนักเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็ไม่มีเงินจ่ายให้จบ จนตัวเองต้องจบกิจการของตัวเองแทน
เหล่านี้ล้วนเป็น “บ่วงอิก” ในความหมายของ คุณไกรสร ทั้งสิ้น
คือ นาน ๆ จะเกิดที แต่พอเกิดขึ้นแล้ว กระทบต่อธุรกิจของบริษัทอย่างมหาศาล
สำหรับ Thai Union ก็เคยเกือบมีเหตุการณ์เช่นนี้ ในสมัยปี 2539-2540 ที่เมืองไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
ในตอนนั้นบริษัทเคยจ้างที่ปรึกษาด้านการลงทุน ที่เป็นคนต่างชาติเข้ามา โดยที่ปรึกษาคนนี้ แนะนำให้บริษัท ไปกู้เงินจากต่างประเทศมาฝากในไทย
เนื่องจากในยุคนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ อยู่ที่แค่ราว 3% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากในไทย ได้ผลตอบแทนราว 10%
เพราะฉะนั้น การกู้เงินจากต่างประเทศมาฝากในไทย จะทำให้ได้ส่วนต่างดอกเบี้ย 7% แบบฟรี ๆ
1
ซึ่งการทำแบบนี้ ภาษาทางการเงิน เรียกว่าการทำ “Arbitrage” คือทำกำไรจากส่วนต่างราคา หรือส่วนต่างดอกเบี้ย ของ 2 ตลาด
คุณไกรสร พอได้ฟังก็เอามาคิด แต่ไม่ได้ทำตามที่บอก และต่อมาก็ไล่ที่ปรึกษาคนนั้นออก เพราะคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ ไม่มีธุรกิจอะไรที่ได้เงินมาง่าย ๆ
แล้วความคิดของคุณไกรสร ก็ได้รับการคอนเฟิร์มว่า ถูก
เพราะหลังจากนั้นไม่นาน วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย ก็ไปจบลงที่ รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จากราว 25 บาท เป็น 50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
2
หมายความว่า ถ้าบริษัทเราไปกู้เงินมาจากต่างประเทศ ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย จะเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวทันที หลังจากที่มีการลอยตัวค่าเงิน
2
ตอนนั้นหลายบริษัทที่ไปกู้เงินจากต่างประเทศมาเยอะ ๆ ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และหนี้สินต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ภายในชั่วข้ามคืน
ขณะที่ Thai Union ที่ไม่ได้ไปกู้เงินจากต่างประเทศมามาก ๆ ก็รอดพ้นวิกฤติมาได้
และ Thai Union ก็ไม่เพียงแค่ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 มาได้
ธุรกิจของบริษัท ที่เน้นการส่งออกสินค้า อย่างเช่น อาหารทะเลแปรรูปไปขายยังต่างประเทศ
พอเงินบาทอ่อนลงเป็นเท่าตัว ก็ทำให้ Thai Union มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น
เพราะสินค้าส่งออกจากไทย จะมีราคาถูกลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
กลายเป็นว่า นอกจาก Thai Union จะไม่ค่อยได้รับผลกระทบแล้ว
ยังกลายเป็นได้อานิสงส์ หลังจากวิกฤติครั้งนั้นด้วย..
References
-หนังสือ ดีที่สุดในสิ่งที่เป็น โดย หนุ่มเมืองจันท์
-
https://www.longtunman.com/27047
-
https://www.youtube.com/watch?v=20b7hkUiKcg
-
https://www.youtube.com/watch?v=1T8EOVZQVrI
ธุรกิจ
79 บันทึก
81
2
103
79
81
2
103
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย