Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Neurobalance ศูนย์ให้บริการฟื้นฟูสุขภาพ
•
ติดตาม
5 มิ.ย. 2023 เวลา 23:00 • ครอบครัว & เด็ก
แบบนี้..ลูกเป็นไฮเปอร์หรือสมาธิสั้นนะ.. 😳
มีคุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนยังสงสัยและสับสนกับอาการของลูกที่เป็นอยู่ คือ ไม่เคยจะนิ่ง รื้อตรงนั้น ค้นตรงนี้ตลอดเวลา พาไปไหนจูงมือก็ไม่ได้ สะบัดมือหนี วิ่งอย่างเดียว เรียกให้หยุดไม่หยุด อุ้มก็ไม่ได้ ทิ้งตัวนอน ทำตัวไหลลื่น ดิ้นรุนแรง ทำเอาคุณพ่อคุณแม่แยกไม่ออกเลยว่าลูกเป็นไฮเปอร์หรือสมาธิสั้นกันแน่ หรือว่าเด็กไฮเปอร์กับสมาธิสั้นเป็นอาการเดียวกัน เรามาดูความแตกต่างทั้ง 2 อาการ กันดีกว่า
🔹ไฮเปอร์ (ซนเกิน)
-หุนหันพลันแล่น
-ซน ดื้อ มากกว่าเด็กปกติทั่วไป
-วอกแวก ไขว้เขวง่าย
-อดทนรอคอยไม่ได้
-ชอบพูด พูดไม่หยุด พูดแทรกคนอื่นเสมอ
🔸สมาธิสั้น
-ความจำระยะสั้นบกพร่อง ขี้ลืม ไม่รอบคอบ
-อยู่ไม่นิ่ง วอกแวกง่าย ไม่จดจ่อ
-อารมณ์รุนแรง เหม่อลอย
-ไม่สามารถจดจ่องานที่ทำได้
-จัดลำดับความสำคัญไม่ได้
ซึ่งเด็กที่เป็นไฮเปอร์ หรือ เรียกง่ายๆว่า “ซนเกิน” ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิสั้นเสมอไป เนื่องจากไฮเปอร์ คือ อาการที่อยู่ไม่นิ่ง หรือ ซนเกิน เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เด็กที่มีไอคิวสูง มีความวิตกกังวล พัฒนาการทางประสาทล่าช้า หรือ อาจเป็นช่วงวัยของเด็กๆ ที่อยู่ในช่วงกำลังซน
ส่วนอาการสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder)
คือ ภาวะที่ผิดปกติทางจิตเวชส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองได้ จึงแสดงออกในทางซุกซน วอกแวกง่าย ไม่ค่อยอยู่นิ่ง เก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ จะพบมากในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3-7 ปี แต่บางรายหากเป็นไม่มากก็จะมักจะแสดงอาการออกมาเมื่ออายุขึ้น 7 ปีไปแล้ว
📌อาการของเด็กที่เป็นสมาธิสั้น
1) อาการที่เป็น อาจจะเป็น A หรือ B
📍A. อาการขาดสมาธิ คือ เด็กต้องมีอย่างน้อย 6 ข้อหรือมากกว่าจากด้านล่างนี้ และเป็นระยะเวลาต่อเนื่องติดต่อกันนาน 6 เดือน โดยที่ระดับของพัฒนาการไม่ได้เป็นไปตามวัย
-ไม่รอบคอบเวลาทำงานหรือทำการบ้าน
-ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมหรือเล่น
-ดูเหมือนไม่ได้ฟังสิ่งที่คนอื่นกำลังพูดกับตนเอง
-มักทำงานไม่ครบตามคำสั่ง ไม่ว่าจะเป็นการบ้านหรือกิจกรรมที่โรงเรียน (แต่ไม่ใช่เพราะต่อต้านหรือไม่เข้าใจ)
-มีปัญหาด้านการจัดระบบงาน ทำงานไม่เป็นระเบียบ
-มักเลี่ยงหรือไม่เต็มใจในงานที่ต้องใช้ความคิด
-มักทำของหายอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะที่โรงเรียน
-วอกแวกมองสิ่งเร้านอกห้องได้ง่าย ไม่จดจ่อ
-หลงลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำบ่อยครั้ง
📍B.อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) คือ อาการของเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น อาการเป็นต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยที่ระดับของพัฒนาการไม่ได้เป็นไปตามวัย
-อยู่ไม่สุข มักขยับตัว ขยับเท้าไปมา
-มักลุกออกจากที่นั่งในขณะที่ควรนั่งอยู่กับที่
-วิ่งไป วิ่งมา ปีนป่ายกับสิ่งที่ไม่ควรทำ
-ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมที่เงียบ ๆ ได้
-พร้อมที่จะ “วิ่ง” ไปอยู่ตลอดเวลา
-ชอบพูด พูดไม่หยุด
-มีอาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
-มักตอบออกมาก่อน โดยที่ฟังคำถามยังไม่จบ
-ไม่ชอบการเข้าคิวหรือการรอคอย
-มักพูดแทรกคนอื่นอยู่เสมอ
2) พบอาการดังกล่าวก่อนอายุ 7 ขวบ
3) พบความบกพร่องเหล่านี้ได้ในสถานที่ต่าง ๆ อย่างน้อย 2 แห่ง คือ บ้าน และ โรงเรียน
4) อาจต้องมีความรุนแรงของอาการจนกระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียน การเข้าสังคม และการทำงานอย่างเห็นได้ชัด
📌เมื่อไหร่ควรพาเด็กๆ ไปพบแพทย์?
-ผลการเรียนต่ำลง
-คุณครูมีรายงานพฤติกรรมความผิดปกติของเด็กให้ผู้ปกครองฟัง
-ผู้ปกครองเริ่มเห็นความผิดปกติได้ชัดเจนขึ้น
-เริ่มเล่นรุนแรงกับเพื่อนจนเพื่อนได้รับบาดเจ็บ
-ลูกเริ่มแยกตัวอยากอยู่คนเดียว ไม่ชอบการสื่อสาร และไม่ชอบการเข้าสังคม
(จากการที่ถูกเพื่อนปฏิเสธหรือรังแก)
📌การป้องกันไม่ให้ลูกเป็นสมาธิสั้น?
-หลีกเลี่ยงให้ลูกสัมผัสหน้าจอหากลูกยังอายุไม่ถึงเกณฑ์
-ถ้าจะให้ลูกสัมผัสหน้าจอ ลูกควรมีอายุมากกว่า 2 ขวบครึ่ง และไม่ควรปล่อยให้ลูกดูตามลำพัง
-จำกัดการดูวันละ 1 ชั่วโมง
-หากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัว เช่น การเล่นกีฬา เล่นดนตรี ทำงานศิลปะ ทำอาหาร
เล่านิทาน และกิจกรรมอื่นๆ
ซึ่งทั้งอาการไฮเปอร์และสมาธิสั้น หากได้รับการดูแลและฟื้นฟูอาจจะด้วย กิจกรรมบำบัด การเลี้ยงดูที่ถูกต้อง การรักษาด้วยยา หรือการรักษาทางเลือกอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสมอง ผ่านโปรแกรมการเรียนรู้การฝึกสมอง ช่วยพัฒนา สมาธิ ความจำ ความเร็วในการคิด การยับยั้งชั่งใจ และความสามารถในการเรียงลำดับก่อนหลังด้วยวิธีการที่ถูกต้องผ่านกระบวนที่เรียกว่า นิวโรฟีคแบค (Neurofeedback) ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยทำให้อาการลดลงได้
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #Healthwellness #Family #Parenting #Kid #Autism #hyperactivity #LD #LearningDisabilities #นูโรบาลานซ์ #นิวโรบาลานซ์ #นูโรฟีดแบค #นิวโรฟีดแบค #ไบโอฟีดแบค #ครอบครัว #การเลี้ยงดู #เด็ก #พัฒนาการเด็ก #พัฒนาการช้า #สมาธิสั้น #ไฮเปอร์ #ออทิสติก #อารมณ์รุนแรง #บกพร่องทางการเรียนรู้ #พูดช้า
📝ทำแบบประเมินอาการออทิสติก ATEC ได้ที่ >>
https://neurobalanceasia.com/atec/
👉กลุ่มอาการที่สามารถพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ [❌ปราศจากการใช้ยา]
>> ออทิสติก (ASD)
https://bit.ly/375Oq35
>> สมาธิสั้น (ADHD)
https://bit.ly/3Fl9Tln
>> บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)
https://bit.ly/3ktXzFN
>> ดาว์นซินโดรม (Downsyndrome)
https://bit.ly/3F4AQtl
>>ความเครียด (Stress)
https://bit.ly/3o8SqoI
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาและตรวจประเมิน
การทำงานของสมองโดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่
ช่องทางการติดต่อ
☎️ โทร : 02-245-4227 / 097-429-1546
Line : @neurobalance หรือ
http://bit.ly/3L95MO7
เว็บไซต์ :
https://bit.ly/3wfh3U7
📅 ทำการนัดหมายออนไลน์
https://bit.ly/3Ka90yz
พัฒนาการเด็ก
สมาธิสั้น
ครอบครัว
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย