6 มิ.ย. 2023 เวลา 01:15 • ธุรกิจ

ผู้สอบบัญชีพบ มือดีล้วงเงิน บริษัทกงสี "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" กว่า 100 ล้าน

เปิดรายงานผู้ตรวจสอบบัญชี พบ บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ ธุรกิจครอบครัว ของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ให้กู้ยืมระยะสั้นให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกันกว่า 117 ล้านบาท แต่ไม่ได้จ่ายหนี้คืน สุดท้ายต้องตัดหนี้สูญ
5
“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบงบการเงิน บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ธุรกิจผลิตน้ำมันรำข้าว ของครอบครัว “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พบประเด็นที่น่าสนใจ กรณีบริษัทได้ให้เงินกู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกันในช่วงที่ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นกรรมการบริษัท ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ถึง 6 มีนาคม 2560 กว่า 117 ล้านบาท แต่กลับไม่มีการชำระหนี้คืนให้แก่บริษัทแต่อย่างใด
7
รายงานผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ต่อผู้ถือหุ้น บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ในช่วงที่ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นกรรมการและดำรงตำแหน่ง Co-Founder & Managing Director พบว่า ในปี 2550-2559 บริษัทได้ให้เงินกู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างต่อเนื่อง มียอดคงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2559 ทั้งสิ้น 117,103,394.65 บาท
6
ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้ระบุในหมายเหตุงบการเงินว่า เป็นการกู้ยืมที่ไม่มีการคิดดอกเบี้ย โดยไม่มีการวางหลักประกันการกู้ยืม ซึ่งจะรับชำระคืนเมื่อทวงถาม
1
แต่เมื่อตรวจสอบในเชิงลึกพบว่า คนที่กู้ยืมเงินจากบริษัทไม่ได้มีการจ่ายหนี้คืน ทำให้บริษัทต้องทยอยตัดจำหน่ายเงินกู้ 117 ล้านบาท เป็นหนี้สูญ และนำไปเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหารในงบการเงินของบริษัท ในปี 2560-2562
3
อย่างไรก็ตามในรายงานผู้ตรวจสอบบัญชีไม่ได้ระบุว่าบริษัทปล่อยกู้ระยะสั้นให้กับใครไว้ในรายงาน ขณะที่การตัดหนี้สูญ 117 ล้านบาท ก็เกิดขึ้นหลังจากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ลาออกจากกรรมการและผู้บริหารบริษัทในวันที่ 6 มีนาคม 2560
4
เมื่อเจาะลึกในรายละเอียดพบว่า บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ได้ให้เงินกู้ระยะสั้นจำนวน 117 ล้านบาท และแสดงยอดคงค้างในงบการเงินของบริษัทตามรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ดังนี้
4
ปี 2550 จำนวน 29,637.83 บาท ไม่มีการทำสัญญาเงินกู้ ซึ่งจะชำระคืนเมื่อถูกทวงถาม
3
ปี 2551 จำนวน 36,334.87 บาท ไม่มีการทำสัญญาเงินกู้ ซึ่งจะชำระคืนเมื่อถูกทวงถาม
3
ปี 2552 จำนวน 16,000 บาท มีการทำสัญญาเงินกู้ ซึ่งจะชำระคืนเมื่อถูกทวงถาม
3
ปี 2553 จำนวน 15,000 บาท ไม่มีการทำสัญญาเงินกู้ ซึ่งจะชำระคืนเมื่อถูกทวงถาม
2
ปี 2554 จำนวน 1,486,712.46 บาท การกู้ยืมมีการคิดดอกเบี้ย โดยไม่มีการวางหลักประกันการกู้ยืม ซึ่งจะรับชำระคืนเมื่อทวงถาม
1
ปี 2555 จำนวน 5,483,576.26 บาท การกู้ยืมมีการคิดดอกเบี้ย โดยไม่มีการวางหลักประกันการกู้ยืม ซึ่งจะรับชำระคืนเมื่อทวงถาม
3
ปี 2556 จำนวน 32,520,498.09 บาท การกู้ยืมมีการคิดดอกเบี้ย โดยไม่มีการวางหลักประกันการกู้ยืม ซึ่งจะรับชำระคืนเมื่อทวงถาม
1
ปี 2557 จำนวน 34,431,412.47 บาท การกู้ยืมมีการคิดดอกเบี้ย โดยไม่มีการวางหลักประกันการกู้ยืม ซึ่งจะรับชำระคืนเมื่อทวงถาม
1
ปี 2558 เดิมผู้ตรวจสอบบัญชีแจ้งว่าไม่มีเงินให้กู้ยืมระยะสั้น ณ สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 แต่ในงบการเงินปี 2559 ผู้ตรวจสอบบัญชีพบว่า ในปี 2558 บริษัทมีเงินให้กู้ยืมระยะสั้น 114,114,365.24 บาท
ปี 2559 จำนวน 117,103,394.65 บาท การกู้ยืมไม่มีการคิดดอกเบี้ย โดยไม่มีการวางหลักประกันการกู้ยืม ซึ่งจะรับชำระคืนเมื่อทวงถาม
3
“ฐานเศรษฐกิจ” พบข้อสังเกตุสำคัญในการตรวจสอบงบการเงินของผู้ตรวจสอบบัญชีในปี 2559 ที่เสนอผู้ถือหุ้นของบริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด โดยให้ความเห็นว่า งบการเงินในปี 2559 ของบริษัทเป็นงบการเงินไม่ถูกต้อง พร้อมกับระบุในหมายเหตุงบการเงินของผู้ตรวจสอบบัญชีว่า ได้มีการแก้ไขข้อผิดพลาด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 กิจการมีการแก้ไขข้อผิดพลาดเงินให้กู้ยืมระยะสั้น เดิม 3,969,241.83 บาท เป็น 114,114,365.24 บาท ผลต่าง 110,145,123.41 บาท
5
ต่อมาในปี 2560 มีการระบุเงินให้กู้ยืมระยะสั้น ลดลงจาก 117.1 ล้านบาทในปี 2559 เหลือ 84,215,290.72 บาทในปี 2560 พร้อมระบุในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่า เงินให้กู้ยืมระยะสั้น การกู้ยืมไม่มีการคิดดอกเบี้ย โดยไม่มีการวางหลักประกันการกู้ยืม ซึ่งจะชำระเมื่อกิจการทวงถาม ในปี 2560 มีมูลค่าหนี้สูญที่ตัดจำหน่ายจำนวน 32.90 ล้านบาท ซึ่งแสดงเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหาร
5
ปี 2561 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นลดลงเหลือ 52,586,206.52 บาท หมายเหตุงบการเงิน การกู้ยืมไม่มีการคิดดอกเบี้ย โดยไม่มีการวางหลักประกันการกู้ยืม ซึ่งจะรับชำระเมื่อกิจการทวงถาม ในปี 2561 มีมูลค่าหนี้สูญตัดจำหน่ายจำนวน 31.61 ล้านบาท และในปี 2560 มีมูลค่าหนี้สูญที่ตัดจำหน่ายจำนวน 32.90 ล้านบาท ซึ่งแสดงเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหาร
2
ปี 2562 ไม่มีเงินให้กู้ยืมระยะสั้น แต่มีการระบุในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่า เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการไม่มีการคิดดอกเบี้ย ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม กำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม ในปี 2562 มีมูลค่าหนี้สูญที่ตัดจำหน่ายจำนวน 52 ล้านบาท และในปี 2561 มีมูลค่าหนี้สูญตัดจำหน่ายจำนวน 31 ล้านบาท ซึ่งแสดงเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหาร
2
การตัดหนี้สูญดังกล่าวเนื่องจากปี 2563 กิจการได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งกรรมการบริหารชุดใหม่ไม่สามารถหาหลักฐานการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว และ หรือไม่สามารถตรวจสอบด้วยวิธีอื่นใด เพื่อพิสูจน์ความมีอยู่จริงของเงินให้กู้ยืมจำนวนดังกล่าวได้
3
สำหรับสถานะบริษัท ออยฟอร์ไลฟ์ จำกัด ในปี 2562 บริษัทได้ผิดนัดชำระหนี้ทั้งในส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินกู้ยืมระยาวกับทางธนาคารแหลายแห่ง ทางธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ได้ดำเนินการฟ้องร้องแก่ศาล เพื่อให้ทางบริษัทชำระหนี้ ต่อมาบริษัทได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอฟื้นฟูกิจการ และศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ศาลล้มละลายกลางได้นัดฟังคำสั่งจำหน่ายคดี
3
โฆษณา