Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PARLINZHAADAA
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2023 เวลา 02:17 • ครอบครัว & เด็ก
เมื่อคุณพ่อสงสัยว่า "ลูกสาวชอบปีนต้นไม้ ผิดปกติมั้ยครับ?!?!?"
"เด็กในช่วงอายุ 5-12ปี เป็นวัยที่สำรวจและเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ถ้าน้องๆจะชอบปีนต้นไม้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหรอกค่ะ เวลาปีนต้นไม้น้องๆก็จะได้ใช้ความสามารถทางด้านร่างกาย ได้ใช้แรงอย่างเหมาะสมตามวัย รวมถึงได้มีโอกาสสำรวจสิ่งรอบตัว และได้ผจญภัยด้วยค่ะ"
ตามหลักการของกิจกรรมบำบัด การปีนต้นไม้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก กรอบทฤษฎีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจข้อดีของการปีนต้นไม้คือ "Sensory integration" หมายถึงความสามารถของสมองในการประมวลผลและตีความข้อมูลจากประสาทสัมผัสของเรา เช่น การมองเห็น ดมกลิ่น รับรส กายสัมผัส การได้ยิน รวมถึงการทรงตัว การรับรู้การเคลื่อนไวของร่างกาย และการรับรู้ความต้องการภายในจิตใจของตัวเอง
เมื่อเด็กๆ ปีนต้นไม้ จะได้ใช้ระบบประสาทสัมผัสในรูปแบบต่างๆ เมื่อจับเปลือกไม้น้องๆก็จะได้รับสัมผัสจากเปลือกไม้ ขณะที่การรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่ได้รับจากการจับกิ่งไม้จะช่วยเพิ่มการรับรู้ของร่างกายและการวางแผนการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ การปีนยังเกี่ยวข้องกับการกะแรงในการเคลื่อนไหวอีกด้วย ซึ่งส่งผลต่อความสมดุลและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การปีนต้นไม้ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายสำหรับเด็ก ยกตัวอย่างเช่น
1. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
2. กระตุ้นการรับรู้และการกะแรง ว่าถ้าต้องปีนไปยังกิ่งต่อไปกิ่งไหนจะรับน้ำหนักตัวเองได้
3. ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เช่น ถ้าปีนแล้วอยากจะลงแต่ลงไม่ได้จะทำยังไง
4. ส่งเสริมทักษะการวางแผน และการบริหารจัดการ ในเวลาที่ต้องปีนจากกิ่งนึงไปอีกกิ่งนึง
5. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเล่นตามจินตนาการ เช่น สมมุติต้นไม้ให้เป็นปราสาท ยานอวกาศ หรือที่ซ่อนลับ
สรุปได้ว่าปีนต้นไม้เป็นกิจกรรมปกติและเหมาะสมต่อพัฒนาการสำหรับเด็กในช่วงอายุ 5 ถึง 12 ปี จากมุมมองของกิจกรรมบำบัด ซึ่งกิจกรรมนี้สอดคล้องกับหลักการบูรณาการทางประสาทสัมผัส มอบประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสอันมีค่าที่เอื้อต่อการพัฒนาโดยรวมของเด็ก ผู้ปกครองสามารถแนะนำบุตรหลานในการฝึกปีนอย่างปลอดภัยและส่งเสริมการเล่นที่สร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ทักษะการแก้ปัญหา และความสามารถในการประเมินความเสี่ยง
เรื่องเล่า
การศึกษา
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย