Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
7 มิ.ย. 2023 เวลา 09:02 • ประวัติศาสตร์
บทบาทของ “คริสตจักร” ในการสงครามช่วงยุคกลาง
ในช่วงเวลาของยุคกลาง “คริสตจักร” คือสถาบันที่มีอำนาจไปทั่วยุโรป
1
อำนาจของคริสตจักรนั้นล้นเหลือ มากซะจนคริสตจักรสามารถตรากฎหมายขึ้นมาเองได้ และยังมีอิทธิพลเหนือราชสำนัก แม้แต่กษัตริย์ก็ยังต้องฟังคริสตจักร
นอกจากนั้น คริสตจักรยังได้รับการยกเว้นภาษี ถึงแม้คริสตจักรจะเก็บภาษีจากประชาชนก็ตาม โดยในเวลานั้น ประชาชนจะสละรายได้ของตนจำนวน 10% มอบให้แก่คริสตจักร โดยเชื่อว่าตนจะได้ขึ้นสวรรค์
ด้วยอิทธิพลเหล่านี้ ทำให้คริสตจักรทำได้แทบทุกอย่าง แม้กระทั่ง “ก่อสงคราม”
ในยุคกลาง คริสตจักรคือสถาบันที่บริหารจัดการเรื่องต่างๆ ในอาณาจักร มีบทบาทต่อชาวคริสต์ตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวคริสต์
และการใช้ศาสนาเป็นรากฐานแห่งอำนาจ ก็ทำให้คริสตจักรมีอิทธิพลต่อผู้คนและรัฐบาล ทำให้คริสตจักรทรงอำนาจมากซะจนสามารถแต่งตั้งกษัตริย์ได้เอง ซึ่งอำนาจเหล่านี้ก็มาจากการที่ผู้คนต้องการจะใกล้ชิดกับพระเจ้า
ในยุคแรก เหล่านักบวชชั้นผู้ใหญ่คือผู้นำคริสตจักร มีเหล่านักบวชรองลงมาคอยเป็นผู้ช่วยด้านต่างๆ แต่เมื่อคริสตจักรเติบโตขึ้น มีอำนาจมากขึ้น ระบอบการปกครองแบบชนชั้นในคริสตจักรก็ยิ่งเข้มข้นมากขึ้น
พระสันตะปาปาคือผู้นำคริสตจักร ตามมาด้วยคาร์ดินัล อาร์ชบิชอป และบิชอป
พระสันตะปาปาและเหล่านักบวชระดับสูงคือกลุ่มบุคคลที่ทรงอำนาจ มีอิทธิพลในการตัดสินพระทัยขององค์กษัตริย์หรือพระราชินี สามารถถวายคำแนะนำได้
ส่วนนักบวชระดับที่ต่ำลงมาก็จะมีหน้าที่ในการดูแลเหล่าชาวนาชาวไร่และประชาชน คอยจัดหาอาหาร ที่พัก และคอยให้คำแนะนำแก่ประชาชน
เมื่อมาถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 11 อำนาจและความมั่งคั่งของคริสตจักรก็ยิ่งขยายใหญ่ขึ้น คริสตจักรได้ครอบครองที่ดินหลายผืนและมีกองกำลังเป็นของตนเอง ไม่ต่างจากขุนศึกคนอื่นๆ
1
และเมื่อเมืองต่างๆ เติบโต ขยายใหญ่ออกไป ความขัดแย้งก็เริ่มลามไปทั่วยุโรป โดยในเวลานั้น ได้มีเมืองเกิดใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทำให้มีการตื่นตัวทางการเมืองและแนวคิดทางสังคม ทำให้เมืองเกิดใหม่เหล่านี้ต้องการจะมีอิสระ
แต่ความต้องการของเมืองเหล่านี้ก็ไม่เป็นที่พอใจสำหรับรัฐบาลนัก สงครามจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งนี้ คริสตจักรก็สร้างความขัดแย้งซะเอง เนื่องจากคริสตจักรมักจะนำเสนอบทบาทของตนเองในฐานะของผู้ที่ถือครอง "อำนาจทางศีลธรรม (Moral Authority)" โดยหาเหตุผลในการทำสงคราม
1
คริสตจักรมักจะกล่าวหาว่าฝ่ายตรงข้ามเป็น "ศัตรูแห่งคริสตจักร" และทูลให้กษัตริย์สนับสนุนคริสตจักรในการทำสงคราม ให้พระราชทานกำลังทหารและอาวุธ รวมทั้งเสบียงแก่กองกำลังคริสตจักรเพื่อต่อสู้ใน "สงครามศักดิ์สิทธิ์"
หากกษัตริย์ไม่ทรงยินยอม คริสตจักรก็จะใช้อำนาจในการลงโทษและกดดันกษัตริย์ที่ไม่ทรงยินยอม โดยคริสตจักรจะทำการตัดขาดกับราชสำนัก หรือไม่ก็เสนอที่จะล้างบาปแก่ผู้ที่ยินยอมจะสนับสนุนการทำสงคราม
แต่ถึงดูเหมือนคริสตจักรจะเป็นผู้ก่อสงคราม สนับสนุนความรุนแรง แต่ด้านบวกของคริสตจักรก็ยังมี
ในเวลานั้น เมื่อเกิดสงคราม โบสถ์ต่างๆ มักจะใช้เป็นสถานที่หลบภัยของผู้คน ป้องกันผู้คนจากภัยอันตราย อีกทั้งยังเลี้ยงดู ให้อาหารแก่ประชาชนและชาวนา คอยช่วยปลอบประโลมผู้คน
นี่ก็เป็นเรื่องราวและบทบาทของคริสตจักรต่อการสงครามในยุคกลาง
References:
https://www.historydefined.net/how-the-church-regulated-warfare-in-the-middle-ages/
https://www.medievalists.net/2018/10/medieval-church-military-power/
https://timemaps.com/encyclopedia/medieval-europe-church-history/
https://www.oxfordbibliographies.com/display/document/obo-9780199791279/obo-9780199791279-0233.xml
ประวัติศาสตร์
37 บันทึก
29
11
37
29
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย