Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Structure
•
ติดตาม
7 มิ.ย. 2023 เวลา 11:30 • ปรัชญา
GDP ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจกับข้อเท็จจริงมากมายที่ซ่อนไว้อยู่ในตัวชี้วัดนี้
ตัวชี้วัดหนึ่งที่มักถูกพูดถึงบ่อยครั้งโดยสังคมไทย โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ คือ GDP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินผลผลิตทางเศรษฐกิจทั้งหมดในประเทศทั้งกิจการเศรษฐกิจที่เป็นของสัญชาติไทยและกิจการข้ามชาติ และเป็นตัวชี้วัดที่มักนิยมใช้ในทางเศรษฐกิจมหภาคแทบทั่วโลกโดยเฉพาะเมื่อต้องการทราบสถิติการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม
อำนาจการซื้อโดยรวม รวมทั้งรายได้เฉลี่ยต่อหัว ต่างก็มีที่มาจากตัวชี้วัดนี้เป็นส่วนใหญ่แต่หากมองข้อเท็จจริงลงไป ก็จะพบว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจนี้มีความกว้างในการประเมินเศรษฐกิจและสามารถแตกออกมาเป็นตัวชี้วัดย่อย ๆ ได้มากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่อิงตามสกุลเงินหลักของโลกซึ่งมักเป็นค่ามาตรฐานกลางในการประเมินเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่อิงตามอำนาจการซื้อของแต่ละประเทศที่จะอิงตามค่าเงินและค่าครองชีพของประเทศตนเอง ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่คำนวณมูลค่าทางเศรษฐกิจเฉพาะกิจการภายในประเทศ หรือ GNP ซึ่งจะคำนวณถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศอื่นที่ดำเนินการโดยกิจการภายในประเทศด้วย
นอกจากนี้ ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเองก็สามารถถูกปั่นให้สูงเกินจริงได้หรือที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจเทียม” ซึ่งมักเกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของภาครัฐผ่านนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายรูปแบบประชานิยม โดยผลกระทบที่ตามมาคือ ในช่วงระยะสั้นนั้น เศรษฐกิจก็จะเติบโตตามปริมาณเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าไป แต่หากเม็ดเงินส่วนนั้นไม่ได้ถูกใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจในระยะยาวจริง
ก็จะกลายเป็นการลงทุนครั้งเดียวและเม็ดเงินมหาศาลก็จะหายไปในระบบเศรษฐกิจ และเมื่อเวลาผ่านไป เม็ดเงินในระบบก็จะลดลงกลับสู่ภาวะปกติก่อนการเข้ามาของเศรษฐกิจเทียม ทำให้บางครั้งก็มีการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเรื่อย ๆ เพื่อเลี้ยงเศรษฐกิจเทียมให้ยังคงอยู่ต่อไปซึ่งย่อมเป็นภาระทางการเงินมหาศาลต่อประเทศอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปยังการขยายขีดความสามารถทางเศรษฐกิจในระยะยาวก็จะเป็นผลดีและคุ้มค่าต่อภาคเศรษฐกิจ เหตุผลคือ เมื่อมีการลงทุนไปยังภาคส่วนที่มีศักยภาพสูงก็จะเกิดการต่อยอดทุนเดิมที่ได้ลงทุนไปสู่ทุนใหม่ ๆ ที่ต่อยอดจากทุนเดิม จากภาคเศรษฐกิจใหม่ที่ได้รับการสนับสนุน จึงทำให้หลายประเทศมักมี
การสนับสนุนการวิจัยนวัตกรรมและภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงเพื่อใช้ในการต่อยอดขีดความสามารถทางเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้ดัชนีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีโอกาสที่จะเติบโตสูงขึ้นและมั่นคงในระยะยาวอีกด้วย
โดย ชย
#TheStructureColumnist
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย