Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BOOK BOOK Diary
•
ติดตาม
7 มิ.ย. 2023 เวลา 12:38 • หนังสือ
EP.5 Part.1 : “ ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ ”
ตอนนี้ผมหยิบหนังสือเล่มที่น่าจะมีคนอ่านเยอะเล่มหนึ่งมาลองสรุปให้ครับ ต้องบอกก่อนเลยว่าเห็นรายละเอียดของรูปบนหน้าปกแล้วถูกใจมากครับ ที่บอกว่าชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ ถ้าคิดแบบง่ายๆ ก็ประมาณปีละ 52 สัปดาห์ ( คร่าวๆ 4000 สัปดาห์ หาร 52 สัปดาห์ ก็น่าจะเกือบๆ 80 ปี แต่ส่วนตัวผมก็กะว่าจะอยู่สัก 65-70 พอครับ ไม่ตังค์หมดก็คงมีสารพัดโรคถามหาครับ 555 ) คราวนี้ลองก็เครื่องคิดเลขนับดูครับว่า 4000 สัปดาห์ เราจะมีอายุ 76 ปีกับอีก 48 สัปดาห์ครับ
และถ้าลองนับสี่เหลี่ยมเล็กๆ ทั้งหมดดูก็จะตรงกับสี่พันรูปพอดีครับ และที่เห็นสีต่างๆ ในแต่ละรูปสี่เหลี่ยมก็น่าจะแทนกิจกรรมหรือความรู้สึกต่างๆ ของแต่ละสัปดาห์ในชีวิตเรา ( ผมคิดเอาเองนะครับ 555 ) แล้วคิดต่อไปอีกครับว่าที่เห็นเป็นสี่เหลี่ยมสีเทาก็น่าจะเป็นช่วงเวลาเกษียณ ( ยังคงมั่วต่อครับ ) ก็น่าจะประมาณที่อายุ 60 ปี ลองเดากันดูก่อนที่จะกลับไปนับกันครับ คิดว่าเท่าไร ผมให้เวลา 3 วินาที 3 2 1 นับได้ที่ 52 ปีครับ ( อันนี้ก็เดาอีกว่าให้เท่ากับ 52 สัปดาห์เป็นเลขสวยๆ ครับ )
เข้าเรื่องกันดีกว่าครับ ตอนแรกเห็นหนังสือเล่มนี้ผมยังคิดว่าน่าจะเป็นแนวหนังสือ เพิ่มประสิทธิภาพ ( productive ) แน่นอน แต่ผิดคาดครับ เป็นทางตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ( ซึ่งจริงๆ ส่วนตัวผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ) ตามชื่อหนังสือเลยครับ คนเราอาจมีเวลา 4000 สัปดาห์ หรืออาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าแล้วแต่บุคคลครับ ที่แน่ๆ คือเรามีเวลาอยู่อย่างจำกัดครับ ดังนั้นแล้ว การที่เราใช้ชีวิตอยู่ที่ทั้งๆ มีเวลาจำกัดนั้น เรายิ่งต้องใช้ชีวิตให้คุ้มค่า เพราะถ้าเราสามารถที่เราจะอยู่ตลอดไปเวลาก็จะมีไม่จำกัด
เราสามารถที่จะทำอะไรก่อนหลังก็ได้ เพราะยังมีพรุ่งนี้เสมอ ดังนั้นเมื่อมองกลับมาแล้ว ในโลกยุคปัจจุบันที่เป็นโลกไร้พรมแดน การติดต่อสื่อสารสะดวกสบาย มีเทคโนโลยีต่างๆ ที่อำนวยการสะดวกมากกว่าในอดีตมาก ก็ทำการแข่งขันสูงขึ้น สังคมที่เร่งรีบขึ้น ยิ่งถูกบังคับให้ต้องใช้เวลาอย่างคุ้มค่า หรือถ้าใช้เวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ก็อาจจะมารู้สึกผิดที่หลัง
ดังนั้นแล้วอะไรที่มีคุณค่ากับเราจริงๆ หรือทำให้เรารู้สึกว่ามีความสุขจริงๆ ที่ได้ใช้เวลาที่มีอย่างจำกัด สร้างประโยชน์หรือความสุขให้ได้มากที่สุดน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดครับ
การใช้ชีวิตปัจจุบันยุ่งยากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเราทุกคนมีเวลาอย่างจำกัดแล้ว ยิ่งต้องทำให้เราพยายามทำสิ่งต่างๆ ในแต่ละวันแต่ละสัปดาห์ให้ได้มากขึ้น คือการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ( ยิ่งทำก็ยิ่งอยากยัดทุกอย่างลงในตารางเวลา ) รวมถึงการที่อยากทำให้สิ่งที่ทำนั้นออกมาดีที่สุด หรือสมบูรณ์แบบได้ก็จะยิ่งดี แล้วก็เหมือนเสพติดครับ คืออยากทำให้ได้ดีกว่าเดิมยิ่งๆขึ้น
แต่ไม่มีใครหรอกครับที่สามารถที่อยากทำทุกอย่างได้และทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ ( ถ้ามีก็ยินดีด้วยครับ ) แต่คุณจะไม่รู้จักพอ จะพยายามทำให้ได้มากขึ้นและมากขึ้นครับ แต่ในความจริงการที่เราต้องการที่เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะไม่ได้ทำอีกอย่างเสมอครับ ( ผมยกตัวอย่างง่ายๆ คุณจะเลือกพักผ่อนโดยการนอน หรือลุกขึ้นมาทำส่ิงที่คุณอยากทำ เช่น งานที่ค้างอยู่ ท่องเที่ยว อยู่กับครอบครับ เป็นต้น )
ในหนังสือคุณโอลิเวอร์ ( Oliver ) ผู้เขียนยกตัวอย่างเรื่องการเขียนหนังสือ กับไปทำกิจกรรมอื่น ฉะนั้นแล้วการตัดสินใจที่จะทำสิ่งใด เป็นการเลือกที่ตัดสิ่งที่คุณให้ความสำคัญน้อยกว่าออกไปครับ ( คำภาษาละตินดั้งเดิมสำหรับคำว่า “ตัดสินใจ” หรือ decidere หมายถึง “การตัดทิ้ง” ซึ่งสื่อความหมายถึงการตัดทางเลือกอื่น มันเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับคำว่า “ฆาตกรรม” และ “ฆ่าตัวตาย” ,หน้า 54)
ทำให้ชัดเจนเลยครับ ว่าเราต้องเลือกตัดสิ่งที่เราให้ความสำคัญน้อยกว่าออกไปก่อน เพื่อทำสิ่งที่เราคิดว่าสำคัญกว่า และเราอาจจะรู้สึกผิดไปบ้างที่ไม่สามารถทำทุกๆ อย่างที่ปรารถนาได้
ถ้าต้องเลือกที่จะไม่ทำสิ่งใดแล้ว เรามักจะรู้สึกผิดที่อาจจะบริหารจัดการเวลาไม่ดี หรืออาจเพราะปัจจัยอื่นใดก็ตาม ( ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราเลือกทำจะได้ผลลัพธ์ออกมาดีเพียงไร) เราไม่ควรจะรู้สึกผิด เพราะจะยิ่งบั่นทอนความรู้สึกที่ดีที่เราได้เลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้ว เราควรยอมรับกับสิ่งที่เกิดขี้นครับ ( ผมแนะนำให้อ่านบทที่ 4 ครับ ถ้าคุณมีเวลาน้อย )
ขอยกตัวอย่างจากหนังสือหน้า 65 ครับ เป็นตัวอย่างที่ครูถามนักเรียนในชั้นครับ สรุปคือ ให้ใส่ ทราย กรวด และหิน ลงในขวดโหลครับ ซึ่งเด็กในตัวอย่างไม่สามารถทำได้ครับ แต่ครูได้สาธิตให้ดูโดยการใส่หิน กรวด และทรายตามลำดับก็สามารถใส่ลงในขวดโหลได้ทั้งหมด เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า เราควรทำสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน ซึ่งอ่านมาถึงตรงนี้ก็ธรรมดาครับ (เราพอจะเดาได้ครับ) แต่ในความจริง หิน ( ซึ่งเหมือนสิ่งที่สำคัญที่เราต้องทำ) กลับมีมากเกินกว่าที่เราจะใส่ในขวดโหลได้ ( ผมถูกใจประโยคนี้จริงๆ ครับ )
ฉะนั้นแล้วเราไม่ควรรู้สึกผิดหวังหรือเสียใจเลย ถ้าเราไม่สามารถทำทุกอย่างที่เราอยากจะทำได้ ไม่ว่าจะสำคัญมากหรือไม่สำคัญอะไรเลยก็ตาม นอกจากนั้นแล้วการที่เราต้ังใจทำสิ่งใดก็ตามมักมีปัจจัยภายนอกมาคอยรบกวนอยู่ตลอด ย่ิงเฉพาะในโลกโซเชียลครับ เราอาจหลงระเริงกับการดูเรื่องราวต่างๆ บนโลกโซเชียลได้เป็นชั่วโมง หลังจากที่เสียงเตือนขึ้นมาจากมือถือหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงแค่ครั้งเดียวครับ
บางครั้งก็อาจจะรู้สึกได้ว่าเป็นการพักผ่อนจากการงานหรือกิจกรรมที่ทำอยู่นานเกินไปครับ แต่ก็คงไม่ถึงกับพักไม่ได้เลยครับ
สุดท้ายของตอนแรกของหนังสือเล่มนี้ครับ มีข้อความดีๆ มากฝากอีกสองข้อความครับ
คำแนะนำด้านการบริหารจัดการเวลาที่น่ายกย่องสองข้อ
หนี่ง จงทำโครงการที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณในชั่วโมงแรกของแต่ละวัน และป้องกันเวลาของคุณด้วยการจัดตารางให้มี “นัดประชุม” กับตัวเอง กำหนดมันไว้ในปฏิทินของคุณเพื่อไม่ให้ความรับผิดชอบอื่นมาแทรกแซงได้
สอง การคิดแบบ “จ่ายให้ตัวเองก่อน” จะเปลี่ยนเคล็ดลับเหล่านี้ให้กลายมาเป็นปรัชญาแห่งชีวิต ( อ่านหน้า 65 ได้ครับ ว่าหมายถึงอะไร )
สุดท้ายของสุดท้ายแล้วอยากให้ผู้อ่านมีความสุขกับสิ่งที่ทำอยู่ ทำอย่างตั้งใจครับ แล้วจะมีความสุขกับการได้ทำสิ่งนั้นและกับผลลัพธ์ที่ได้ครับ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตามแต่ครับ และก็ไม่ต้องรู้สึกเสียใจหรือสิ่งที่ไม่ได้ทำครับ และอย่างที่บอกไปตอนต้นครับ ถ้าเวลาน้อยอย่างน้อยผมแนะนำให้อ่านบทที่ 4 “เป็นผู้ผัดวันประกันพรุ่งที่ดีกว่าเดิม” ครับ
ขอให้มีความสุขกับการอ่านหนังสือ “ ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ ” และใช้เวลาของคุณให้คุ้มค่าและมีความสุขนะครับ
ขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านครับ พบกันใหม่ตอนหน้าครับ
KeY_MaN
แรงบันดาลใจ
พัฒนาตัวเอง
หนังสือ
1 บันทึก
4
1
1
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย