8 มิ.ย. 2023 เวลา 06:00 • การเมือง

'ความไร้มารยาททางรัฐธรรมนูญ' สะท้อนคุณภาพนักการเมืองรุ่นใหม่

ช่วงนี้เราจะเห็นบรรดานักการเมืองไทยบางพรรคที่สมอ้างตัวเองว่าเป็น ‘รุ่นใหม่’ ออกมาพูดย้ำเรื่องจัดตั้งรัฐบาล โดยที่ยังไม่มีการเปิดสมัยประชุมสภาใหม่เลย แถมบางคนยังไล่ให้รัฐบาลรักษาการลาออกก่อนเสียอีก ซึ่งก็กลายเป็นเงื่อนไขให้มวลชนนอกสภาออกมาสร้างแรงกดดัน ทั้งๆ ที่พรรคการเมืองพรรคอื่นเขาไม่ได้มีปัญหาอะไรเลย
1
เรื่องนี้พูดกันตรงๆ ก็เป็นเรื่องของการ ‘ไม่มีมารยาททางการเมือง’ ไม่รู้เรื่องกรอบประเพณีการปกครองอย่างลึกซึ้งของนักการเมืองรุ่นใหม่บางคน
เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาพุ่งประเด็นกันแต่เรื่องการจัดตั้งรัฐบาล แต่เป็นเวลาที่สมควรคอยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งคือ กกต. ‘รับรองผลการเลือกตั้ง’ เสียก่อน กล่าวให้ชัดก็คือต้องรอให้มีการรับรองสถานะความชอบธรรมของการเป็นตัวแทนประชาชนของตนเสียก่อนตามขั้นตอนกฎหมาย นั่นคือมีกรอบภายใน 60 วัน ซึ่งระเบียบข้อนี้ก็ได้มีการประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว
แต่ก็ไม่วายมีคนตีมึนทำเป็นไม่สนใจเรื่องสำคัญเช่นนี้
ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องประเพณีการปกครองแล้ว วันนี้ พ่อ PD แห่งคณะร่านฯ ก็ขอยาด educate เรื่องนี้ผ่านทาง ฤๅ ว่าด้วยเรื่องพัฒนาการของระบอบการปกครองของอังกฤษ ซึ่งเป็นต้นแบบการปกครองของประเทศไทย นั่นคือ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ รวมไปถึงที่มาของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลที่ถูกต้องตามหลักวิชาในประวัติศาสตร์การปกครองของอังกฤษ กระทั่งพัฒนามาเป็นรูปแบบการปกครองที่อำนาจการบริหารทั้งปวงเปลี่ยนจากพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไปเป็นของรัฐสภาโดยสมบูรณ์
ตามพงศาวดารของอังกฤษ นับแต่การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1688 อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ถูกจำกัดลงอย่างมาก หากแต่อำนาจบริหารราชการแผ่นดินในช่วงก่อนมีคณะรัฐมนตรีจากสภานั้นยังเป็นหน้าที่ของราชสำนักอยู่ ซึ่งการปกครองในรูปแบบนี้ได้มีพัฒนาการอย่างช้าๆ และเริ่มเป็นแบบแผนในยุคของพระนางเจ้าแอนน์แห่งบริเตน (ครองราชย์ ค.ศ. 1702-1714)
1
จากเดิมที่อำนาจในการบริหารเป็นของคณะบริหารของราชสำนัก โดยที่พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งให้ที่ปรึกษาหรือคนสนิทของพระองค์ทำหน้าที่เสนาบดีบริหารหน่วยงานต่างๆ ต่อมาเมื่อเหล่าคณะหรือพรรคต่างๆ เริ่มเข้มแข็งขึ้น ก็ได้มีการส่งสมาชิกที่มีความสามารถเข้าไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีแทนที่คนจากราชสำนักผ่านการตัดสินใจของผู้นำเสียงข้างมากในรัฐสภา จนท้ายที่สุด คณะบริหารเหล่านี้ที่เรียกว่า ‘คณะรัฐมนตรี’ ก็ไม่มีคนที่แต่งตั้งจากราชสำนักหลงเหลืออยู่เลย
กระทั่งมาถึงสมัยพระเจ้ายอร์จที่ 1 แห่งบริเตน ก็ได้มีการเลือกเอาหนึ่งในคณะรัฐมนตรีมาทำหน้าที่เป็นผู้บริหารประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นวิวัฒนาการของนายกรัฐมนตรี (Prime minister) ในฐานะ ‘เจ้านาย’ (Prime) แห่ง ‘มนตรี’ (Prime minister) ที่อุบัติขึ้นครั้งแรกบนโลก และนับเป็นครั้งแรกที่อำนาจการบริหารทั้งปวงหลุดพ้นจากพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไปเป็นของนักการเมืองจากรัฐสภาโดยสมบูรณ์
รายละเอียดพัฒนาการของระบอบการปกครองของอังกฤษ รวมไปถึงการกำเนิดขึ้นของคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีนั้น มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ขอเชิญศึกษาได้จากบทความพิเศษโดย พ่อ PD แห่งคณะร่านฯ ได้ที่นี่ อิว์ อิว์ อิว์ https://tinyurl.com/mvzt6fjd
เลือกติดตามช่องทางอื่นๆ ของ Lue History ได้ที่นี่
#LueHistory #ConstitutionalMonarchy #คณะรัฐมนตรี #นายกรัฐมนตรี
โฆษณา