8 มิ.ย. 2023 เวลา 00:09 • ธุรกิจ

Bolt x Uber บริษัท Startup เล็ก ๆของเอสโตเนียเอาชนะUber ในเกมของตัวเองได้อย่างไร

เป็นเคสที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับบริษัท Startup ขนาดเล็กที่ต้องการสู้กับทุนใหญ่ ที่ผ่านการระดมทุนจำนวนมหาศาล และมีเม็ดเงินที่จะเผาผลาญเล่นในธุรกิจอย่างไม่จำกัดแบบ Uber
1
Markus Villig ทำสิ่งที่ตรงข้ามกับบริการ Bolt ของเขาด้วยงบประมาณอันน้อยนิด เข้าได้สร้างธุรกิจมูลค่า 8.4 พันล้านดอลลาร์ และผลักดันตัวเองให้กลายเป็นมหาเศรษฐีที่มีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 700 ล้านดอลลาร์
Bolt ซึ่งมีฐานหลักอยู่ในเอสโตเนียซึ่งมีเงินทุนเพียงแค่ 2 ล้านดอลลาร์ เข้าสู่การแข่งขันโดยตรงกับ Uber ซึ่งในปีก่อนหน้าระดัมทุนได้ 1.2 พันล้านดอลลาร์จากการประเมินมูลค่า 17 พันล้านดอลลาร์
เนื่องจาก Villig มีเงินทุนเพียงแค่ 0.01% ของ Uber นั่นทำให้การต่อสู้ต้องใช้วิธีที่แตกต่างกันมาก แทนที่จะไปดวลตัวต่อตัวกับ Uber ในตลาดที่พัฒนาแล้ว Bolt เริ่มกำหนดเป้าหมายไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น โปแลนด์ ซึ่งในช่วงแรกมีการแข่งขันเพียงเล็กน้อยหรือแทบจะไม่มีเลยด้วยซ้ำ
Markus Villig ได้ร่วมกับ Martin พี่ชายของเขา ซึ่งแก่กว่า Markus 15 ปี และมีประสบการณ์ในแวดวงบริษัท Startup ในเอสโตเนีย เพื่อสร้างบริการเรียกรถขึ้นในเอสโตเนีย
Markus Villig ได้ร่วมกับ Martin พี่ชายของเขา ซึ่งแก่กว่า Markus 15 ปี (CR:Estonian World)
ส่วนใหญ่ Bolt พึ่งพาการแฮ็ก เช่น การรับสมัครพนักงานขับรถผ่าน Facebook มากกว่าจะอัดเงินไปกับการโฆษณาอย่างบ้าคลั่งเหมือนกับ Uber การจ้าง programmer ชาวเอสโตเนีย ซึ่งมีค่าจ้างเพียงเศษเสี้ยวของพนักงานในแถบ Bay Area และการทำงานในอพาร์ตเมนต์ราคาถูกในทาลลินน์ เมืองหลวงของเอสโตเนีย
ในขณะที่นักลงทุนพยายามกระตุ้นให้ Villig พยายามที่จะเจาะเข้าไปยังตลาดสหรัฐฯ แต่ Villig กลับไปเปิดตัวในแอฟริกาใต้แทน โดยจ้างพนักงานท้องถิ่นทั้งหมดผ่าน Skype ซึ่งคนขับรถชาวแอฟริกาใต้และลูกค้าส่วนใหญ่แทบจะไม่มีบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคาร ดังนั้นเขาจึงติดตามการชำระเงินด้วยเงินสดแทน รายได้จากประเทศในแอฟริกา ซึ่งรวมถึงแอฟริกาใต้ ไนจีเรีย และกานา คิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในสามของธุรกิจ Bolt
1
ระหว่างปี 2015-2019 Bolt มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 730,000 ดอลลาร์เป็น 142 ล้านดอลลาร์ Villig ไม่สามารถดำเนินธุรกิจแบบเดียวกับ Uber ได้ ไม่สามารถที่จะขาดทุนก้อนใหญ่ ดังนั้นเขาจึงบริหารบริษัทให้ใกล้ถึงจุดคุ้มทุน ในทางกลับกัน Uber ใช้เงินไป 19.8 พันล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 6.3 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ก่อนที่จะมีการทำ IPO ในปี 2019
ซึ่งหลังจากทำงานด้วยข้อจำกัดอยู่หลายปี ในที่สุด Villig ก็ได้รับการสนับสนุนจาก Didi บริษัทเรียกรถยักษ์ใหญ่ของจีน รวมถึง Mercedes-Benz ก่อนที่ Sequoia Capital และ Fidelity จะอัดฉีดเงินลงทุน 1.4 พันล้านดอลลาร์ในรอบการระดมทุนระหว่างเดือนสิงหาคม 2021 ถึง มกราคม 2022
1
แม้สถานการณ์ของ Bolt จะดีขึ้นจากเงินลงทุนที่เข้ามา แต่ Villig เองก็ยังต้องระวังตัวไม่ให้ตกหลุมพรางเดียวกันกับ Uber เขาใช้เวลากับเงินส่วนใหญ่ไปกับความพยายามในการสร้าง Super App ของ Bolt ซึ่งนำเสนอสกู๊ตเตอร์และรถเช่า รวมถึงบริการส่งอาหารและของชำ
1
ความประหยัดถือเป็น key สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ Bolt ประสบความสำเร็จมาจวบจนถึงทุกวันนี้ Bolt แทบไม่ออกบัตรเครดิต โทรศัพท์ หรือสินค้าองค์กรอื่นๆ ให้กับพนักงาน และจนถึงปี 2019 Villig ยังแชร์ห้องพักร่วมกันกับพนักงานเมื่อมีการเดินทางเพื่อประหยัดค่าโรงแรม
Villig ที่สูง 6 ฟุต 4 แทบจะบินด้วยสายการบิน Low Cost ตลอดทุกการเดินทาง “เราประหยัดมากตั้งแต่วันแรกเพราะเราไม่มีเงิน” เขากล่าว “ตอนนี้ Bolt มีพนักงาน 4,000 คน พวกเขาคิดถึงสิ่งที่พวกเขาใช้จ่ายทุกวัน และนั่นคือข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดข้อเดียวของเรา”
ในขณะที่ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีหลายรายต่างเลิกจ้างพนักงานในช่วงปีที่ผ่านมา Villig ไม่มีแผนที่จะปลดพนักงานแต่อย่างใด การลดเงินเดือนโดยสมัครใจและเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลช่วยให้พนักงานของ Bolt รอดจากเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
1
แต่ก็ยังมีความท้าทายที่เกิดขึ้นกับ Bolt เฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ Uber เหล่ารัฐบาลท้องถิ่นทั่วโลกเริ่มมองเห็นปัญหาเดียวกันกับแอปเรียกรถ รวมถึงการประท้วงที่เกิดขึ้นจากเหล่า Rider และการรณรงค์ให้จัดประเภทคนขับให้กลายเป็นพนักงานประจำไม่ใช่อาชีพอิสระอีกต่อไป
2
ในเอสโตเนีย Villig เองได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นในฐานะหนึ่งในนายจ้างรายใหญ่ที่สุดของประเทศแถบบอลติก แต่ Bolt ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในสภาพแวดล้อมที่ใหญ่ขึ้นและมีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในอนาคต
ความน่าสนใจของเอสโตเนียกับ Startup
เอสโตเนียเป็นหนึ่งในประเทศเล็ก ๆ ที่สร้างบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ไม่ว่าจะเป็น Skype ที่ขายให้ Microsoft แอปแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Wise หรือ Bolt ในเคสล่าสุด
ประธานาธิบดี Kersti Kaljulaid ของเอสโตเนีย กล่าวว่า บริษัทข้ามชาติมักจะตั้งสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศที่มีระบบภาษีที่เกื้อหนุนพวกเขา แต่เอสโตเนียไม่เคยเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้
ประธานาธิบดี Kersti Kaljulaid ของเอสโตเนีย (CR: The Nomad Today)
นั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่เอสโตเนียมีธุรกิจ Startup จากบ้านเกิดจำนวนมาก และได้เห็น Unicorn ถือกำเนิดจากประเทศนี้บ่อยขึ้น
1
และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเอสโตเนียได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นมิตรกับเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก รัฐบาลได้ดำเนินการหลายอย่างทางออนไลน์ก่อนประเทศอื่น ๆ มีการลงคะแนนเสียงออนไลน์ บัตรประชาชนแบบดิจิทัล และมีบริการ Wi-Fi ฟรีทั่วประเทศ
ซึ่งนั่นล้วนเป็น key สำคัญที่เราจะได้เห็น Unicorn Startup จากเอสโตเนียเพิ่มมากขึ้นในอนาคตนั่นเองครับผม
1
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา