มะเร็งปอดโดยรวมแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1️⃣. มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ตัวเล็ก ( Non-small Cell Lung cancer )
2️⃣. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก ( Small Cell Lung cancer )
.
เราให้ความสนใจกลุ่ม Non-small cell lung cancer มาก เพราะมีโอกาสพบได้ถึงร้อยละ 80
.
โดยเมื่อดูชนิดย่อยของ Non small cell lung cancer ลงไปอีกพบว่า ร้อยละ 80 - 85 เป็นชนิด Adenocarcinoma ซึ่งตอบสนองได้ดีต่อยามะเร็งแบบมุ่งเป้า ( Targeted Therapy )
.
✅#การจะใช้ยามะเร็งแบบมุ่งเป้า ได้นั้นจะต้องมีการตรวจยีน หรือที่เรียกว่า “ Biomarker ” ก่อน
.
ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้มีประโยชน์หลายอย่าง คือ
✔️ช่วยพยากรณ์ของโรคได้ว่าโรคมีความรุนแรงแค่ไหน
✔️ช่วยให้เลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ เช่น การให้ยามุ่งเป้าที่ตรงกับยีนของผู้ป่วย
✔️ช่วยให้เลือกยาในกลุ่มผู้ป่วยที่มียีนดื้อยาได้
.
✅#การตรวจยีน ( Biomarker ) มีการตรวจทั้งหมด 3 วิธี
1️⃣. การตรวจหายีนกลายพันธุ์ทีละตัว เป็นการไล่ตรวจยีนทีละตัว โดยจะไล่ตรวจจากยีนที่มีโอกาสพบการกลายพันธุ์ได้บ่อยก่อน ใช้ระยะเวลารอผลประมาณ 3 - 5 วัน
2️⃣. การตรวจหายีนกลายพันธุ์เป็นกลุ่ม ข้อดีของการตรวจแบบนี้ คือ จะใช้ชิ้นเนื้อเพียงครั้งเดียว แต่สามารถตรวจยีนกลายพันธุ์ที่พบบ่อยในมะเร็งปอดได้หลายๆ ตัว ซึ่งจะใช้เวลารอผลประมาณ 2 สัปดาห์
3️⃣. การตรวจหายีนกลายพันธุ์แบบครอบคลุม สามารถตรวจยีนได้ครั้งละประมาณ 200 - 300 ตัว ใช้ระยะเวลารอผล 2 สัปดาห์
.
โดยในคนไข้คนไทยที่พบว่าเป็นมะเร็งปอดระยะลุกลาม จะมียีนกลายพันธุ์ที่พบได้บ่อยคือ ยีน EGFR พบได้ร้อยละ 60 รองลงมาคือยีน ALKพบได้ร้อยละ 5
.
ดังนั้นการตรวจยีนในคนไทยจึงนิยมตรวจทีละตัว
.
การตรวจยีนเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ แต่มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้แพทย์สามารถกำหนดแนวทางการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายนั้นๆ ได้
.
✅#หลักการการรักษามะเร็งปอดด้วยยามะเร็งแบบมุ่งเป้า ( Targeted Therapy )
ยามะเร็งมุ่งเป้านั้นมีความแตกต่างกับยาเคมีบำบัด กล่าวคือมีความจำเพาะเจาะจงในการหยุดหรือชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเพียงอย่างเดียว โดยส่งผลต่อเซลล์ปกติของร่างกายเพียงเล็กน้อย ยามะเร็งแบบมุ่งเป้า จะทำการขัดขวางการทำงานของโมเลกุลสัญญาณมะเร็ง โดยอาจทำการจับโมเลกุลสัญญาณมะเร็งโดยตรงเพื่อให้มันหยุดการทำงาน ไม่สามารถกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้ หรือปิดกั้นผิวเซลล์มะเร็งเป้าหมาย ไม่ให้โมเลกุลสัญญาณมะเร็งเข้าไปในเซลล์มะเร็งเพื่อสั่งการตามปกติ ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตช้าลงหรือหยุดลง
.
✔️เนื่องจากยามะเร็งแบบมุ่งเป้านั้นมีความจำเพาะต่อโมเลกุลสัญญาณมะเร็งที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดมะเร็ง รวมทั้งมะเร็งชนิดเดียวกันยังอาจมีโมเลกุลสัญญาณมะเร็งหลายแบบ
.
✔️แพทย์จึงต้องทำการตรวจเลือดหรือตรวจชิ้นเนื้อมะเร็งของบุคคลนั้นๆ เพื่อดูชนิดของโมเลกุลสัญญาณมะเร็งของผู้ป่วยว่ามีหรือไม่ และเป็นแบบใด เพื่อเลือกใช้ยามะเร็งแบบมุ่งเป้าให้เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้น
.
✔️หากตรวจไม่พบโมเลกุลสัญญาณมะเร็งดังกล่าว ก็จะไม่สามารถให้ยามะเร็งแบบมุ่งเป้าแก่ผู้ป่วยรายนั้นได้
.
การกลายพันธุ์ของยีนที่พบได้บ่อยในมะเร็งปอด และมีการใช้ยามุ่งเป้าในการรักษา ได้แก่
.
1️⃣. การกลายพันธุ์ของยีน EGFR หรือย่อมาจาก Epidermal Growth Factor Receptor ซึ่งพบได้บ่อยในชาวเอเชียประมาณ 60% โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่มานานกว่า 10 ปีขึ้นไป ยาในกลุ่มนี้ที่ใช้รักษาจะเป็นรูปแบบยารับประทาน
.
2️⃣. ส่วนการกลายพันธุ์อีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยรองลงมา จะเป็นความผิดปกติของยีนที่ชื่อว่า ALK หรือย่อมาจาก Anaplastic Lymphoma Kinase ซึ่งพบได้ประมาณ 4-5% และพบส่วนใหญ่ในผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่เช่นกัน
.
ผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนดังกล่าวข้างต้น จะตอบสนองดีต่อยามุ่งเป้าได้ถึง 70-80% ทำให้สามารถควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามได้เป็นระยะเวลานาน และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจะเกิดการดื้อยากลุ่มนี้ เมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่ง และปัจจุบันได้มีการพัฒนายากลุ่มใหม่เพื่อนำมาใช้รักษาในกรณีที่มีการดื้อยาเกิดขึ้น
.
3️⃣. การดื้อยาที่เกิดจากการใช้ยาต้าน EGFR และมีการกลายพันธุ์ชนิด T790M จะสามารถใช้ยา Osimertinib เพื่อรักษาการดื้อยาดังกล่าวได้ เป็นต้น
--------------------------------------------
📢 ไม่พลาดข่าวสารสุขภาพและโปรโมชั่นดี ๆ จากเรา
👍 เพียงกด like และ กดติดดาว ⭐️ (see first)
💁‍♀️ เพจศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต 🏥
------------------------------------
ปรึกษาเรื่อง มะเร็ง ได้ที่ศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัตน์9แอร์พอร์ต __
☎️ 0933285561
Line _: HIFU9000
Podcast 🗣https://anchor.fm/chularatcancercenter
ที่อยู่ : 90/5 ม.13 ซอยกิ่งแก้ว 25/1 ถ.กิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทราปราการ ใกล้กับ สนามบินสุวรรณภูมิ
Google map▶️
#โรคมะเร็งปอด #มะเร็งต่อมลูกหมาก #มะเร็งตับ #มะเร็งท่อทางเดินน้ำดี #มะเร็งต่อมไทรอยด์ #มะเร็งเต้านม #มะเร็งกระเพาะอาหาร #มะเร็งถุงน้ำดี #มะเร็งลำไส้ใหญ่ #มะเร็งรังไข่ #มะเร็งกระดูก #มะเร็ง #เนื้องอกมดลูก #รักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด #เทคโนโลยีHIFU #โรงพยาบาลจุฬารัตน์9แอร์พอร์ต
โฆษณา