11 มิ.ย. 2023 เวลา 08:28 • ความคิดเห็น
กรุงเทพมหานคร

ออก อย่างนี้ต้องลาออก #หมอลาออก

หมอลาออก ใครได้ใครเสีย สมองไหล..
#หมอลาออก #สื่อสารให้เป็น #เจน-หมอ #การฟ้องหมอ #ตัวชี้วัด #สธ.
ขอเล่าในบางจุดที่ยังไม่มีใครพูดถึง
ไม่ได้คิดจะตีแผ่ แค่คิดว่าเผื่อจะเป็นประโยชน์ เพื่อให้หลายคนช่วยกันคิดก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีที่สุด
เรื่องนี้มีหลาย "บริบท" ขอว่าเป็นข้อ ๆ ค่ะ
1. บริบท #ยุคสมัยและโลกที่เปลี่ยนไป #เจนเนอเรชั่นของหมอหรือตัวเอกดราม่านี้.
ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดแล้ว เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
👉ความลำบาก ความอดทน ไม่ใช่ว่าเค้าไม่มี แต่ว่าชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์มันมากจริงๆ ในเวลาทำการว่าเยอะแล้วถ้ารวมตอนอยู่เวรด้วยล่ะโอ๊ยๆ
เพราะฉะนั้น ความอดทน ความอุตสาหะที่มีกันอยู่แล้วทุกคน เจองานเข้า mass accident, Covid❕มัน
หนักหนาสาหัสมากจริง ๆค่ะ
ที่เห็นมาตลอดอายุการเป็นหมอจนจะเกษียณแร้ว
สิ่งที่ทุกคนที่เป็นหมอเด็กหรือหมอมือใหม่มีคือ เค้าอยากได้ประสบการณ์ในการดูแลรักษาคนไข้ แต่หมอก็คือคน work life balance เป็นสิทธิ์ของหมอ พอ ๆ กับอาชีพอื่น
2. "บริบท" ของตัวโรค
ปัจจุบันโรคแต่ละโรคที่พบ เราต้องหาสาเหตุกันครบทุกด้าน เค้าเรียกว่า 360 องศา รอบด้าน หาไปถึงรากของโรค
ประมาณว่าต้องหาไปให้ถึงยีน การให้คำวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแน่นอนมันยากขึ้นจริง ๆ
การรักษาโรคยิ่งยาก ดูโควิดเป็นตัวอย่างเลยค่ะ ควบคุมโรคยาก ติดต่อกันแสนง่าย รู้พิษสงกันแล้ว
สรุปคือยุคก่อนโรคไม่ได้หนักหนาสาหัสสากรรจ์ขนาดนี้
3. บริบทของ "พี่สอนน้อง จับมือสอน ด่าไปสอนไป..
ตรงนี้ออกตัวก่อนว่าป้ามี bias นะ ว่า ใครที่ยังด่าเรา[และเรายัง ด่าได้] นั่นคือยังมีความรักและหวังดีต่อกัน คือพี่หรือครูที่ดีต่อเราจริงใจ ..
..แต่พี่หรือครูบางคนก็ด่าแรงไป ใช้คำพูดตรงเกิ๊น..
ประเภทด่าว่า "คิดได้แค่นี้!"
"ทำแบบนี้"
"โ ง่ เ ห มื อ น. . .”
เด็ก ๆ ก็ไม่ไหวจะทนเหมือนกัน
4. บริบท"การโดนฟ้อง" หรือ คนไข้ฟ้องหมอนั่นแหละ
อันนี้จำได้ขึ้นใจว่า หมอรุ่นพี่ที่รักและเคารพสอนไว้ว่า
👉"ลื้อจำเอาไว้❕ก่อนผ่าเราคือพระเจ้า" แต่หลังผ่าแล้วไม่รู้
🔥ตัวใครตัวมันนะ
ผลดี ไม่ดี มันขึ้นอยู่กับอีกหลายอย่าง ขึ้นกับตัวโรค กับผู้ป่วย
และที่สุดของที่สุด มันขึ้นกับ "การสื่อสาร" ที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป
ใช่แล้วค่ะ การสื่อสารคือพระเจ้า
หมอ ทุกคนควรรู้และจำเอาไว้
หมอเราต้องสื่อสาร อธิบายรายละเอียดของโรค การดำเนินของโรค
การพยากรณ์ของโรคเป็นสถิติคร่าว ๆ ให้เป็น เช่น
- โรคนี้ โรคนั้น..ขั้นนี้แล้ว โดยทั่วไปจะมีอัตรารอดที่เท่าไหร่
- จะมีโอกาสกี่ % ที่หายได้เด็ดขาด หรือ กี่ % ที่อาจจะกลับมาเป็นอีก
👉รวมทั้งมีอัตราตายที่เท่าไหร่
🔥 ต้องสื่อสารให้เป็น
"ศาสตร์แห่งการสื่อสารนี้ ยากมาก ต้องเรียนกันแบบลึกซึ้งค่ะ"
หมอหลายคนที่ทำงานดูแลรักษาคนไข้อย่างดีด้วยความถูกต้อง
แต่ขาดการสื่อสาร หรือสื่อสารไม่เก่ง ถึงขั้นเป็นคดีมีมาแล้ว
ค้นอ่านข่าวดูค่ะ
👉การสื่อสารกับคนไข้และญาติ เป็นหัวใจสำคัญจริง ๆ
เรื่องการกลัวโดนฟ้อง
เป็นเรื่องที่ถือว่าสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ทำให้หมอลาออก
หมอทุกคนกล่าว
5. บริบท"ศรัทธา" หรือ"ความคิดที่มีต่อหมอ" เปลี่ยนไป
เดิมหมอเราได้ตรงนี้เต็มๆ มันเป็นยาชูกำลังนะป้าว่า
หลังหลังมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนเป็นแบบลูกค้ากับผู้ให้บริการ
มันยังไงไม่รู้ล่ะ ค่อยพูดๆ
เรื่องนี้ sensitive
6. บริบท ตัวชี้วัด หรือ ตัวชี้เป็นชี้ตาย (ตายก่อนแน่ๆ )
1
จากประสบการณ์เป็นครูแพทย์ และเคยทำงานในรพ. ใหญ่ที่งานหนัก ทั้งสามด้าน “บริหาร บริการ วิชาการ”บอกเลยว่า
ควรปรับเปลี่ยนระบบบริหาร บริการ วิชาการ”สามสหายตัวชี้วัด” นี้อย่างด่วน ๆ
เพราะ
หมอไม่ใช่เทวดา
ไม่ใช่ฮีโร่ ผู้กล้า
หมอเราๆ ก็เป็นคนธรรมดา
มีหวาดวิตก จิตตก กังวล และสับสนได้ถ้านอนไม่พอ
เรื่องเวลานอนพักผ่อนขอเล่าเรื่องจริงให้ฟัง
ผป: หมอครับ ผมปวดหัว ปวดเมื่อย กินข้าวไม่ค่อยได้
หมอ: เป็นมากี่วันแล้วครับ มีไข้มั้ย(ดูในบัตรแล้ว ไม่มีไข้) ..หมองัวเงียถามเพราะโดนปลุกหลังจากเพิ่งจัดการเวรร้ายๆ เสร็จสิ้นเมื่อตีสองครึ่ง..
อ้อ ผป. รายนี้มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินตอนตีสามนะ
ผป: เป็นมา2 อาทิตย์แล้วครับ เป็นๆ หายๆ
หมอ: (...zzz เอิ่ม เป็นมาครึ่งเดือน แต่เลือกมารพ. วันนี้ เวลานี้ วันที่ฉันอยู่เวร!!!
…อันนี้คิดในใจ)
จริง ๆ ก็คือเป็นหวัด แต่เพื่อความสะดวก(ของตัวเอง) เลยเลือกมาตรวจเวลาแบบนี้
อันนี้เป็นเรื่องจริง ผป. รายนี้เลือกมาตอนนี้เพราะ
- เค้าจะเดินทางเข้ากทม. ตีสี่ทุกวัน รพ. เป็นทางผ่าน ผป. จึงแวะซะหน่อย
- เร็วดี ไม่ต้องต่อคิว(ทนให้พยาบาลดุเอาหน่อย)
… ในที่สุด ผป. ได้รับยาแก้ปวดเมื่อย ลดน้ำมูก และยาลดไข้เผื่อมีไข้ โดยคุณหมอเวร สั่งยาให้ไปพอใช้สำหรับ 3 วัน
… ผป. ไม่พอใจ เขียนบัตรสนเท่ห์ เอ ก็ไม่เท่หรอกนะ เขียนลงชื่อแพทย์เวรเลย มาถึงผอ. ผู้บังคับบัญชา
เลยมีเรื่องมาพูดคุยกันในห้องประชุม
..เรื่องแบบนี้ตัดสินได้ยากนักนะว่า ใครถูกใครผิด
..ถ้าใครมาเป็นแพทย์เวรวันนั้นเอง จึงจะเข้าใจ
..ห้องฉุกเฉินเค้ามีไว้เผื่อเคสฉุกเฉินรีบด่วน แต่มีเคสหวัด ปวดท้องกระเพาะ ปวดกล้ามเนื้อ..มาทุกเวร
..ถ้าแพทย์เวรไม่ทำตามใจ ก็โดนใบฟ้อง ทั้งที่เพิ่งได้งีบพักผ่อนตอนตีสอง
เพิ่งนอนได้ครึ่งชม. เท่านั้น
ถ้าสธ.(เจ้าใหญ่ที่สุดที่มีแพทย์อยู่ในสังกัด) ไม่รีบปรับปรุง
เดี๋ยวก็จะมีลาออกตาม ๆ กันมาอีก แล้วใครได้ใครเสีย
เอกชนน่าจะเป็นผู้ได้ ผู้ผลิตก็จะเป็นผู้เสีย อีกแล้วครับท่าน
จงคิด และคิดให้ไว ค่ะ
บทความนี้ไม่มีข้อมูลสถิติเพราะไม่ใช่งานวิจัย เป็นความคิดในใจของครูแพทย์คนหนึ่ง(กับเพื่อน ๆ อีกหลายคน)เท่านั้นค่ะ
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่จะช่วยคิดและแสดงความคิดเห็นไว้นะคะ
ขอบคุณค่ะ
ป้าพา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา