Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TODAY Bizview
•
ติดตาม
9 มิ.ย. 2023 เวลา 10:54 • ธุรกิจ
ถ้าขนส่งสาธารณะพร้อม รถส่วนตัวก็ไม่จำเป็น ส่องกฎหมายควบคุมรถยนต์ใน ‘สิงคโปร์’
ทำไมสิงคโปร์รถไม่ค่อยติด การจราจรคล่องตัว แถมยังเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนต่ำมากในอาเซียน
1
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจำนวนรถยนต์ในสิงคโปร์มีจำนวนไม่มากนัก และยังมีกฎหมายควบคุมที่เข้มงวดด้วย TODAY Bizview พาไปเจาะลึกดูนโยบาย รัฐบาลสิงคโปร์ ทำอย่างไรถึงสามารถควบคุมจำนวนรถยนต์บนท้องถนนได้
รัฐบาลสิงคโปร์ออกกฎหมายควบคุมจำนวนรถยนต์อย่างจริงจัง ผ่านการเพิ่มกฎระเบียบและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการครอบครองรถยนต์มานานแล้วหลายปี เป้าหมายคือทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ของสิงคโปร์ลดลง
ดังนั้นไม่ใช่ว่าใครที่อยู่สิงคโปร์ คิดอยากจะซื้อรถยนต์แล้วจะซื้อได้ง่ายๆ โดยเฉพาะราคาขายรถยนต์ในสิงคโปร์แพงมาก แพงกว่าที่ไทยและประเทศอื่นๆ หลายเท่า เช่น รถยนต์ญี่ปุ่นบางรุ่น ขายในไทย 7-8 แสนบาท ขายที่สิงคโปร์ ราคาพุ่งไปถึง 2 ล้านกว่าบาท บางรุ่นแพงกว่า 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับราคาในสหรัฐฯ
1
เนื่องจากมีการบวกค่า Open Market Value หรือ OMV ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ของรถยนต์ที่นำเข้ามาในสิงคโปร์ จึงทำให้ราคาขายในสิงคโปร์แพงขึ้นมากติดอันดับต้นๆ ของโลก
ส่วนคนที่จะสามารถครอบครองรถยนต์ในสิงคโปร์ได้ ต้องทำเรื่องขอใบอนุญาตพิเศษจากรัฐบาล ที่เรียกว่า Certificate of Entitlement หรือ COE ซึ่งเป็นระบบใบอนุญาตเป็นเจ้าของรถ กว่าจะได้ใบ COE ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะคุณจะต้องผ่านการประมูล
1
ราคาของใบอนุญาต COE จะผันผวนขึ้นลงไปตามแต่ละช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยจะเริ่มตั้งแต่ 50,000-75,000 เหรียญสิงคโปร์ ไปจนถึง 100,000 กว่าเหรียญสิงคโปร์ ตีเป็นเงินไทยก็ตั้งแต่ล้านปลายๆ ไปจนถึง 2 ล้านกว่าบาท ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์
และเมื่อได้ใบ COE มาแล้ว จะครอบครองได้สูงสุด 10 ปี จากนั้นจะถูกยกเลิก ส่วนรถยนต์จะมีอายุการใช้งานที่ 10 ปีเช่นกัน และถูกส่งต่อไปขายต่างประเทศหรือทำลายทิ้ง เพราะที่สิงคโปร์จะไม่ใช้รถเก่า ลดปัญหาสภาพแวดล้อมและเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
2
ส่วนค่าใช้อื่นๆ ก็มีอีกหลายอย่าง เช่น ภาษีถนนหรือ Road tax ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมใบขับขี่ ค่าประกันภัยและค่าบำรุงรักษารถอีกหลายรายการ
2
นอกจากนี้ คนที่ขับรถในสิงคโปร์ยังต้องจ่ายค่าที่จอดรถที่แพงมากด้วย เนื่องจากที่จอดรถมีอยู่อย่างจำกัด บวกกับค่าน้ำมันที่สิงคโปร์ก็แพงติดอันดับต้นๆ ในอาเซียน อย่างช่วงพีคๆ ปีที่แล้ว ราคาน้ำมันเบนซินที่สิงคโปร์พุ่งไปที่เกือบๆ 98 บาท/ลิตร ส่วนดีเซล 80 บาท/ลิตร
2
รวมๆ แล้วการซื้อรถคันนึงจะต้องใช้เงินเยอะมากและยุ่งยากด้วย ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะใช้ระบบขนส่งสาธารณะดีกว่า ซึ่งก็ตรงตามความตั้งใจของรัฐบาล ที่ต้องการทำให้การซื้อรถยนต์มันยาก และผลักดันให้ประชาชนหันไปใช้ขนส่งสาธารณะแทน
2
อย่างที่รู้ ประเทศสิงคโปร์ขึ้นชื่อว่าระบบขนส่งสาธารณะดีติดท็อปๆ ของโลก เป็นโมเดลการพัฒนาให้หลายประเทศ ไม่แปลกใจ…เพราะรัฐบาลเค้าทุ่มงบประมาณไปกับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเยอะมาก และทำให้ครบทุกโครงข่าย ครอบคลุมทั่วประเทศ
1
ข้อได้เปรียบตรงที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็ก การบริหารจัดการก็ง่าย ดังนั้นก็ทำให้ดีไปเลย
1
ยกตัวอย่าง รถไฟฟ้าในสิงคโปร์ที่มีโครงข่ายเส้นทางครอบคลุมทั่วประเทศ ใต้ เหนือ ออก ตก ซึ่งระบบตั๋วสามารถใช้บัตร EZ-Link ใบเดียว เชื่อมต่อการเดินทางไปได้หมดทุกสาย ขึ้นรถบัสประจำทางก็ได้ วิ่งทั่วเมืองเหมือนกัน ใช้บัตรเครดิตก็สะดวก ไม่ต้องเสียเวลามาแลกตั๋ว
1
แม้ครองชีพในสิงคโปร์จะแพง แต่สิ่งที่สวนทางคือราคาค่าโดยสารถูกมาก อย่างราคาค่ารถไฟฟ้า MRT ในสิงคโปร์ เริ่มต้นเพียง 20 กว่าบาท ไปจนถึง 50 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง พอๆ กับประเทศไทยเลย ทั้งๆ ที่ค่าครองชีพบ้านเราถูกกว่าเยอะ
1
ย้อนกลับมาที่ปัญหาสุดเบสิกของประเทศไทย ภาพรถยนต์หนาแน่นบนท้องถนนถนน การจราจรที่ติดขัดนับชั่วโมง ไหนจะเรื่องอุบัติเหตุและปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย สะท้อนว่าคนไทยยังใช้รถยนต์ส่วนตัวกันเป็นจำนวนมาก ไม่มีกฎหมายควบคุมเข้มงวด ขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ครอบคลุมมากพอ ราคาค่าโดยสารก็ยังสูง
1
ทั้งรถไฟฟ้าเอย รถเมลล์เอย ก็ยังกระจุกอยู่แต่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากเป็นอย่างนี้ต่อไป ความหวังที่คนทั้งประเทศจะได้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน คงจะเป็นฝันที่อยู่ไกลๆ
2
จากเคสของสิงคโปร์ ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า การจะผลักดันให้คนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะได้ โครงสร้างพื้นฐานของเมืองมันต้องพร้อมก่อน …ถ้ายังไม่พร้อม มันก็เปลี่ยนได้ยาก
1
#TODAYBizview
#MakeTomorrowTODAY
ข่าว
ธุรกิจ
ข่าวรอบโลก
36 บันทึก
48
7
41
36
48
7
41
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย