10 มิ.ย. 2023 เวลา 03:31 • ความคิดเห็น

งานค้างจำได้ดี งานที่เสร็จดันลืมไปแล้ว

🔸 อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ คือความเป็นจริงที่น่าขันและชวนหัวร้อนสำหรับหลายคน แต่รู้หรือไม่ว่าหากพูดเรื่องความจำเกี่ยวกับงานแล้วจะพบว่าเรามักลืมงงานที่เสร็จไปแล้วอย่างรวดเร็ว
🔸 ปี ค.ศ. 1920 บลูม่า ไซการ์นิค (Bluma Zeigarnik) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความจำของมนุษย์จากการที่เธอการสังเกตว่าพนักงานเสิร์ฟในร้านกาแฟมีสามารถจำออร์เดอร์ที่ค้างชำระได้อย่างแม่นยำ แต่กลับลืมออร์เดอร์ที่จ่ายเงินแล้วซะอย่างงั้น
1
เธอจึงทำการศึกษาทางจิตวิทยาหลายครั้ง เช่น ให้อาสาสมัครทำกิจกรรมเล่นเกมไขปริศนาโดยบางคนถูกปล่อยให้เล่นจนเสร็จแต่บางคนถูกขัดจังหวะก่อนที่จะเล่นเสร็จ และเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งก็ทำการทดสอบการจำเกี่ยวกับกิจกรรมของอาสาสมัคร ซึ่งพบว่าคนที่ถูกขัดจังหวะมีความจำเกี่ยวกับกิจกรรมได้ดีกว่า
🔸 การค้นพบว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะจำได้ดีในงานที่คั่งค้างและหลงลืมในงานที่เสร็จไปแล้วนำไปสู่การศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับความทรงจำอีกมากมาย รวมถึงสามารถนำผลการศึกษานี้มาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการโฆษณาที่ดึงดูดความสนใจด้วยด้วยการกั๊กข้อมูล ปล่อยให้คนดูงงว่าเค้าโฆษณาสิ้นค้าอะไรกัน และในแวดวงการศึกษาที่สามารถเพิ่มความจำให้นักเรียนได้โดยการหยุดพักคั่นการสอน
.
🔸 ปรากฎการณ์นี้จึงได้ถูกตั้งชื่อว่า Zeigarnik Effect เพื่อเป็นเกียรติให้กับเธอ
Reference :
Zeigarnik, B. (1927). Das Behalten erledigter und unerledigter Handlungen [The retention of completed and uncompleted actions]. Psychologische Forschung, 9(1), 1-85.
Lewin, K. (1927). The Zeigarnik effect and tasks in contemporary life. Journal of Applied Psychology, 11(4), 341-349.
โฆษณา