11 มิ.ย. 2023 เวลา 12:05 • นิยาย เรื่องสั้น

H.C. Andersen นักเขียน LGBTQ+ เจ้าของต้นฉบับ “นางเงือกน้อย”

เนื่องในโอกาสเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ ในเดือนมิถุนายนนี้ Bnomics Blockdit Originals จะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับนักเขียน LGBTQ+ ท่านหนึ่งที่ได้ให้กำเนิดนิทานและเทพนิยายหลายต่อหลายเรื่องที่ยังคงเป็นที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน
2
โดยนักเขียนที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นนักเขียนชาวแดนิช นามว่า แฮนส์ คริสเตียน อันดาร์เซน (Hans Christian Andersen)
ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของต้นฉบับนิทานเรื่องล่าสุดของดิสนีย์ที่เพิ่งถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดงและเพิ่งเข้าโรงฉายไปในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอย่าง “นางเงือกน้อย” (The Little Mermaid)
📌 เด็กชายผู้อาภัพแห่งโอเดนเซอ
แฮนส์ คริสเตียน อันดาร์เซน เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน คริสต์ศักราช 1805 ที่เมืองโอเดนเซอ ประเทศเดนมาร์ก พ่อของเขาเป็นช่างทำรองเท้านามแฮนส์ อันดาร์เซน และแม่ของเขาเป็นช่างซักรีดในปราสาทโอเดนเซอนาม แอนน์ มารีย์ อันดาร์ดาทเทอร์
ครอบครัวของเขาอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างหนาแน่น 12 ชีวิตในอพาร์ทเมนต์หลังเล็ก ๆ ในเมืองโอเดนเซอ แฮนส์เกิดมาในครอบครัวที่ไม่ได้ร่ำรวยมากนัก พ่อแม่ของเขาก็ไม่ได้อาศัยอยู่ด้วยกันตั้งแต่แรก มิหนำซ้ำยังเพิ่งจะแต่งงานได้ 2 เดือนก่อนแฮนส์จะเกิดเสียอีก นั่นทำให้เกิดข่าวลือในยุคหลังว่าแท้จริงแล้วช่างทำรองเท้านามแฮนส์
1
อันดาร์เซน อาจจะไม่ใช่พ่อแท้ ๆ ของแฮนส์ โดยพ่อของแฮนส์อาจจะเป็นขุนนาง หรือแม้กระทั่งมีข่าวลือว่าแฮนส์เป็นผู้สืบเชื้อสายของมกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์กเลยทีเดียว
ถึงแม้ว่าแฮนส์จะเกิดมาในครอบครัวที่มีสถานะทางการเงินที่ไม่สู้ดีนัก แต่อย่างไรก็ตามแฮนส์นั้นก็ยังพอได้รับโอกาสทางการศึกษาอยู่บ้าง
โดยในวัย 6 ขวบ แฮนส์ได้เข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลก่อนที่จะย้ายมาเรียนในโรงเรียนผู้ยากไร้ของชาวยิว
ในขณะเดียวกันแฮนส์ก็ได้รู้จักกับวรรณกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องราวของศิลปะการแสดงมาจากพ่อและคนในครอบครัว เช่น บทละครของลุดวิจ โฮลเบิร์ก (Ludvig Holberg) ซึ่งพ่อของเขามักจะอ่านให้ฟัง หรือนิทานอาหรับราตรีที่เขาได้ฟังมาจากคุณยายของเขา โดยวรรณกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เองที่จุดประกายให้แฮนส์หันมาสนใจในศาสตร์ของการละคร
เมื่อมีสุขก็ย่อมมีทุกข์ ในปี 1812 พ่อของแฮนส์ถูกคัดเลือกให้ไปเป็นทหารในช่วงสงครามเรือปืน (Gunboat war) อันเป็นสงครามตัวแทนของสงครามนโปเลียนในภูมิภาคนอร์ดิก ที่นำมาสู่เหตุการณ์การล้มละลายของรัฐเดนมาร์ก
ในปี 1813 ซึ่งเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจจากสงคราม ส่งผลให้ครอบครัวของแฮนส์ตกอยู่ในสถานะถังแตก เมื่อพ่อของแฮนส์กลับมาจากสงครามก็เกิดล้มป่วยและเสียชีวิตลงในปี 1816 การเสียชีวิตของพ่อทำให้แฮนส์ต้องออกมาทำงานหนักเพื่อจุนเจือครอบครัว
กระทั่งแม่ของเขาได้แต่งงานใหม่ ซึ่งในขณะเดียวกัน แฮนส์ในวัย 13 ปีก็เริ่มมีความคิดที่จะเดินทางไกลออกจากโอเดนเซอเพื่อไปทำตามความฝันในฉากใหม่ของชีวิต ณ กรุง “โคเปนเฮเกน”
📌 ละครแห่งชีวิตในกรุงโคเปนเฮเกน
ในปี 1819 แฮนส์ในวัย 14 ปีก็ได้เดินทางมาถึงกรุงโฮเปนเฮเกน พร้อมกับความมุ่งมั่นที่จะประกอบอาชีพในสายงานแสดง ทว่าเขาใช้เวลาทำตามความฝันอยู่ในโคเปนเฮเกนนานถึง 3 ปี แต่กลับไม่มีวี่แววว่าจะสามารถตั้งตัวได้เลย
1
ต่อมาแฮนส์ได้เข้าไปอยู่กับคณะโรงละครหลวงแห่งเดนมาร์ก แต่ด้วยความที่แฮนส์นั้นไม่ได้มีความสามารถทางการแสดงที่โดดเด่นนัก เขาจึงเลือกที่จะยุติงานในสายการแสดงเอาไว้แต่เพียงเท่านั้น ในขณะเดียวกันแฮนส์ก็ได้ริเริ่มที่จะเรียนรู้วิธีการเขียนกวีนิพนธ์ขึ้นมาบ้าง
ในปี 1822 แฮนส์ได้เขียนบทละครเรื่อง อาลฟ์ซอล (Alfsol) ขึ้นมาซึ่งเป็นการจุดประกายความสามารถด้านงานเขียนของแฮนส์ ผู้กำกับโรงละครหลวงแห่งเดนมาร์กในขณะนั้นอย่าง โจนาร์ คอลลิน (Jonas Collin) ได้เล็งเห็นถึงความสามารถในตัวของแฮนส์จึงได้เปิดประชุมกับผู้บริหารคนอื่น ๆ ในโรงละครเพื่อหาทุนการศึกษาให้แก่แฮนส์
1
โดยแฮนส์ได้รับทุนการศึกษาจากพระเจ้าเฟเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก แฮนส์ได้ศึกษาวิชาภาษาละตินจนแตกฉานและเป็นนักเรียนดีเด่นของสถาบัน พร้อมกันนั้นแฮนส์ก็ได้ทำหน้าที่เป็นติวเตอร์ด้วย และนั่นทำให้แฮนส์เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงชนชั้นสูงที่ลูก ๆ ของพวกเขาล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของแฮนส์
นับว่าเป็นจุดพลิกผันของชีวิตที่แฮนส์ได้ก้าวขึ้นมาจากสถานะของเด็กชายผู้ยากไร้จนได้มาเป็นที่รู้จักของคนในแวดวงชนชั้นสูง
1
📌นิราศ นิทาน นิยาย
หลังจากจบการศึกษา แฮนส์ก็ได้เริ่มเขียนหนังสือในลักษณะของบันทึกการเดินทางก่อนโดยได้ตีพิมพ์บันทึกการเดินทางเรื่อง “ทอดน่องเดินทางจากคลองโฮลเมินถึงฝั่งตะวันออกของเกาะอามา” (The walking tour from Holmen’s canal to the eastern point of amager) ในปี 1829
1
และได้เริ่มเขียนนิยายรวมถึงนิทานเรื่องแรก ๆ ในปี 1835 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์และได้ผลตอบรับที่ดี ซึ่งแฮนส์ได้แต่งนิทานเพิ่มในเวลาต่อมาอีกหลายเรื่อง ที่เป็นที่โด่งดังก็ได้แก่ ลูกเป็ดขี้เหร่ ชุดใหม่ของพระราชา รวมไปถึง “นางเงือกน้อย” ซึ่งแฮนส์ได้เขียนนิทานรวมมากถึง 168 เรื่องด้วยกัน
1
📌ชีวิตรักของแฮนส์ คริสเตียน อันดาร์เซน
แฮนส์เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ปี 1875 ด้วยโรคมะเร็งตับในวัย 70 ปี ตลอดชีวิตของแฮนส์ไม่เคยแต่งงานเลยแม้แต่ครั้งเดียว แฮนส์ให้คำนิยามแก่ตนเองว่าเป็นเหมือนดัง “ลูกเป็ดขี้เหร่” ซึ่งนั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาไม่กล้าที่จะแต่งงานกับใคร
แต่อย่างไรก็ตาม นักวิชาการชาวเดนมาร์กอย่าง โยฮัน เดอ ไมลิอุส (Johan de Mylius) กลับมองว่าเป็นการกดทับทางเพศจากปัจจัยแวดล้อม คือแม่ของแฮนส์ที่ได้แต่งงานใหม่กับชายแปลกหน้า ซึ่งเหตุการณ์นี้เองที่อาจจะส่งผลให้แฮนส์ไม่กล้าที่จะแต่งงาน
แต่ถึงแม้ว่าแฮนส์จะไม่เคยวิวาห์กับใคร ก็ใช่ว่าเขาจะไม่มีความรักเลย ในปี 1843 แฮนส์ได้พบรักกับนักร้องโอเปร่าเจ้าของฉายา “นกไนติงเกลแห่งสวีเดน”
อย่างเจนนี่ ลินด์ (ซึ่งท่านผู้อ่านอาจจะรู้จักนกไนติงเกลแห่งสวีเดนผู้นี้จากภาพยนตร์เรื่อง The Greatest Showman เมื่อปี 2017) แต่สุดท้ายก็ต้องแยกจากกันและพบว่าเธอได้แต่งงานไปแล้วและมีลูกสาวตัวน้อย 1 คน
เราอาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีการบันทึกใดเลยที่กล่าวว่าแฮนส์มีความสัมพันธ์กับผู้หญิงในระดับที่มากเกินกว่าความรักแบบโรแมนติกเลยแม้แต่น้อย
ทำให้มีแนวคิดอีกกระแสหนึ่งที่กล่าวว่าแท้จริงแล้วแฮนส์อาจจะจัดอยู่ในประเภทของกลุ่มความหลากหลายทางเพศที่เรียกว่า Asexuality (A ใน LGBTQIA+) หรือ กลุ่มคนที่มีไม่มีความดึงดูดทางเพศ
1
ซึ่งทำให้เขาไม่เคยมีความสัมพันธ์เกินเลยไปมากกว่ารักแบบโรแมนติก
อย่างไรก็ดี เราอาจจะมองได้ว่าการที่แฮนส์ไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศอาจจะเป็นเพราะศาสนาด้วยส่วนหนึ่ง
นอกเหนือไปจากผู้หญิงแล้ว แฮนส์ คริสเตียน อันดาร์เซนเองก็มีความสัมพันธ์ทางใจกับผู้ชายเช่นเดียวกัน โดยในปี 1857 แฮนส์ได้พบกับนักบัลเล่ต์คนหนึ่งในกรุงปารีส และได้มีความสัมพันธ์ทางใจกัน
2
โดยนักบัลเล่ต์ผู้นั้นมีนามว่า ฮารัลด์ ชาร์ฟ (Harald Scharff) ซึ่งปรากฏในไดอารี่ของแฮนส์ช่วงปี 1861-1862 ว่าพวกเขาทั้งจูบและโอบกอดกัน
โดยในปี 1861 แฮนส์ได้เขียนนิทานเรื่อง “ตุ๊กตาหิมะ” ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักของตุ๊กตาหิมะที่ตกหลุมรักเตาไฟ อันเป็นความรักที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อนำไปเทียบกับบริบททางสังคมสมัยนั้น
1
บ่อยครั้งที่นิทานของแฮนส์ได้ถูกนักอ่านสมัยหลังอาจจะมองว่านิทานเหล่านั้นเปรียบเสมือนกับแว่นสะท้อนเรื่องราวของตัวแฮนส์เอง เช่นในเรื่อง “นางเงือกน้อย” ที่ถูกแต่งขึ้นในปี 1836 เองก็ถูกตีความว่าเป็นเรื่องราวความรักของแฮนส์กับเอ็ดเวิร์ด คอลลิน
ซึ่งแฮนส์ได้เขียนจดหมายที่มีเนื้อหาหวานฉ่ำส่งไปหาอยู่หลายครั้ง เช่น
“ความรู้สึกของข้าที่มีต่อท่านนั้น เป็นเฉกเช่นเดียวกันกับความรู้สึกของอิสตรี”
(“My sentiment for you are those of a women”)
H.C. Andersen
อย่างไรก็ดีในตอนท้ายเอ็ดเวิร์ด คอลลินก็ได้ไปแต่งงานกับผู้หญิงอื่น เหมือนกับต้นฉบับนางเงือกน้อยที่เจ้าชายไปแต่งงานกับผู้หญิงอื่นและปล่อยให้นางเงือกน้อยต้องแตกสลายกลายเป็นฟองคลื่นไป ไม่ต่างกับใจของแฮนส์ที่แตกสลายไปเพราะคนที่เขารักนั้นไม่ได้รักเขาอย่างที่เขารัก
ชีวิตของแฮนส์ คริสเตียน อันดาร์เซน ได้พลิกผันจากจากเด็กผู้ยากไร้สู่นักเขียนชื่อดังได้ ชีวิตของเขานับว่าเป็นเรื่องราวมหัศจรรย์ เป็นดั่งเทพนิยายที่ยากจะเกิดขึ้นกับชีวิตคน ๆ หนึ่ง
ทั้งหมดนี้ก็ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากความมุ่งมั่นพยายาม และสภาพแวดล้อมรอบตัวรวมไปถึงกัลยาณมิตรที่ดีที่คอยส่งเสริมและผลักดันให้แฮนส์ได้ก้าวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของชีวิตที่ครอบครัวล้มละลายมาสู่จุดที่เป็นที่รู้จักในแวดวงวรรณกรรมจนถึงปัจจุบัน
นิทานของเขาได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจและถูกนำมาต่อยอดในหลากหลายรูปแบบดังเช่นภาพยนตร์จากค่ายดิสนีย์ดังที่เราได้ทราบกัน ซึ่งได้ทำรายได้ทั่วโลกไปมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้วในปัจจุบัน
References:
โฆษณา