Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทัศนมาตร รีพอร์ต
•
ติดตาม
12 มิ.ย. 2023 เวลา 07:36 • สุขภาพ
วรดา ออพโตเมทรี , Vorada Optometry ให้บริการทางทัศนมาตรคลินิก
แก้ปัญหา Convergence Insufficiency ตาเขออกซ่อนเร้นจากการเหลือบตาเข้าไม่เพียงพอ
ปัญหา Convergence Insufficiency คือ ภาวะที่ตามีความสามารถในการเหลือบตาเข้าไม่เพียงพอ เนื่องจากคนที่มีปัญหา Convergence Insufficiency ตำแหน่งพักของตาจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ตาตรงเหมือนคนปกติ มองจากภายนอกอาจเห็นว่าตายังตรงอยู่ แต่จริงๆแล้วตาของคนไข้จะมีการเขออกไปทางด้านหู ปริมาณมุมเหล่นี้เราจะเรียกว่า Phoria หรือ Demand
ทำให้ร่างกายต้องสร้างแรงแรงหนึ่งขึ้นมาเพื่อช่วยดึงตา ( Reserve ) แรงในการดึงตาเข้าเราจะเรียกว่า Positive Fusional Vergence หรือแรงชดเชยในการดึงตาเข้าเพื่อให้ตายังคงตรงอยู่และยังสามารถรวมภาพให้เห็นเป็นภาพๆเดียวได้อยู่โดยไม่เห็นเป็นภาพซ้อน
หากแรงดึงของตาในการเหลือบตาเข้า หรือ Reserve ยังคงมีกำลังมากเพียงพอที่จะทำให้ตาทั้งสองข้างกลับมาตรงและยังรวมภาพเป็นภาพๆเดียวได้ ซึ่งแรงดึงของการเหลือตาเข้า หรือ Reserve จะต้องเป็น 2 เท่าของ Demand หรือปริมาณมุมเหล่ของคนไข้ถึงจะเรียกว่าเพียงพอ
แต่หากแรงดึงชดเชยนั้นมีปริมาณไม่เพียงพอ ก็จะทำให้มีอาการไม่สบายตาต่างๆ หรืออาการภาพซ้อนตามมาได้
Convergence Insufficiency เป็นภาวะที่ตาเป็น Exophoria หรือตาเขออกเมื่อมองในระยะใกล้มากกว่าในการมองที่ระยะไกล ซึ่งในระยะไกลอาจมีภาวะตาเขออกเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลยได้เช่นกัน
ปัญหา Convergence Insufficiency นี้สามารถพบได้ประมาณ 3 - 5 เปอร์เซนต์ของประชากร
• อาการที่พบได้ในคนที่มีปัญหา Convergence Insuficiency คือ
1. มีอาการปวดตา ล้าตา ปวดศีรษะ เวลาใช้สายตาในระยะใกล้นานๆ หรือมองระยะใกล้ได้แป๊บเดียว
2. ตาล้า ง่วงนอนบ่อย
3. เห็นภาพเบลอ
4. เห็นภาพซ้อน
5. โฟกัสอะไรนานๆไม่ค่อยได้ จดจ่อได้ไม่นาน
6. รู้สึกตึงๆบริเวณรอบดวงตา
ในบางคนอาจจะไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจเกิดจากการ Suppression หรือการตัดสัญญาณการมองเห็นของสมองได้
•อาการที่พบได้จากการตรวจ
1. Near Point of Convergence หรือ NPC ลดลง
2. ปริมาณมุมเหล่ Exophoria ที่วัดได้ที่ระยะใกล้มากกว่าที่ระยะไกล
3. Low Ac/A ratio ( 3 : 1 หรือน้อยกว่า )
4. ปริมาณ Positive Fusional Vergence ( PFV ) หรือแรงดึงในการเหลือบตาเข้าน้อยที่ระยะใกล้ ดูได้จากการทำ Reserve Base Out
5. Negative Relative Accommodation ( NRA ) ต่ำ
NRA เป็นการใส่เลนส์ + เพื่อกระตุ้นการ Relax Accommodation เมื่อเราใส่เลนส์ + เข้าไป แต่เรายังให้คนไข้ Focus ภาพที่ตำแหน่งเดิมอยู่นั่นคือ 40 cm. ทุกครั้งที่ตามีการ Relax Accommodation ตาจะเกิดการ Divergence คู่กันด้วยเสมอ
เมื่อเราใส่เลนส์ + ไปเรื่อยๆ กระตุ้นการ Relax Accommodation ตา Divergence ไปเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งจะเกิดภาพเบลอ และแยก ร่างกายของเราจึงสร้างแรง Positive Fusional Vergence เข้ามาช่วยโดยอัตโนมัติเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพภาพเดียวและยังชัดอยู่ได้ แต่เมื่อ Positive Fusional Vergence หมด ก็จะทำให้เราเห็นเป็นภาพแยกได้ ( การทำ NRA จึงเป็นการดู PFV แบบอ้อมได้ ว่ามีปริมาณมากหรือน้อย )
ดังเคสตัวอย่างที่นำมาให้ดูวันนี้
คนไข้ชาย อายุ 38 ปี
จากการซักประวัติพบว่า ตอนนี้มองไกลๆยังชัดอยู่ รู้สึกว่าตาข้างขวาเหมือนต้องใช้ระยะเวลาในการ Focus นาน มีอาการมองใกล้ไม่ชัดบ้างเวลาใช้สายตานานๆ
ใส่แว่นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 25 ปี ใส่ตลออดเวลา
เห็น Floater หรือหยากไย่ บ้างบางครั้งเวลาออกแดด แต่นานๆเป็นที ไม่ได้เป็นบ่อยๆ
ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน พักบ้างแป๊บนึงแล้วกลับมาใช้ต่อ
ใช้โทรศัพท์มือถือวันละประมาณ 6 ชั่วโมง ใช้แบบต่อเนืองประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง
ค่าสายตาแว่นเดิม
OD : -1.25-0.75*86
OS : -0.75-0.50*100
VA ตาเปล่า ( ความสามารถในการมองเห็นด้วยตาเปล่าของคนปกติอยู่ที่ 20/20 )
OD ( ตาขวา ) : 20/135-1
OS ( ตาซ้าย ) : 20/100-2
OU ( สองตา ) : 20/100-2
Covert test ( เพื่อตรวจหาปัญหาตาเขตาเหล่ซ่อนเร้น ) : Exophoria @ near มีปัญาตาเขออกซ่อนเร้นที่ระยะใกล้
• ขั้นตอนการตรวจหาค่าสายตา
Retino scope ( หาค่าสายตาโดยดู reflec ที่สะท้อนออกมาจากดวงตาคนไข้)
OD : -1.50 VA 20/20-2
OS : -1.00 VA 20/20
Monocular subjective
OD : -0.75-1.00*85 VA 20/20
OS : -2.50-1.50*165 VA 20/20
Best Visual Acuity
OD : -0.75-1.00*85 VA 20/20
OS : -0.75-0.50*100 VA 20/20
Confirm hand-held Refraction บน Trial frame
OD : -0.75-1.25*80 VA 20/20
OS : -0.75-1.00*95 VA 20/20
จะเห็นว่ามีค่าองศาสายตาเอียงที่เปลี่ยนไป เพราะเวลาเราหาองศาใน Phoropter จะอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งฉากกับแสงที่เข้ามา แต่เมื่อมาconfirm บน trial frame จะมีปัจจัยอื่นๆ เช่นมุมเทของหน้าแว่น มาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ค่าองศาที่วัดได้มีการเปลี่ยนแปลงไป
• ขั้นตอนการตรวจกล้ามเนื้อตา : หาปริมาณ , ทิศทางของตาเหล่ซ่อนเร้น ( Phoria ) และแรงชดเชยในการเหลือบตาเข้าและออก ( Vergence )
Phoria & Vergence @ Distant 6 m
Phoria Horizontal : 3 BI
Vergence : BI x / 15 / 9
BO 8 / 12 / -2
Phoria Vertical : 0
Phoria & Vergence @ near 40 cm.
Phoria Horizontal : 10.5 BI
Vergence BI 10 / 26 / 24
BO 10 / 12 / -2
Phoria Vertical : 0
Gradient : 13 BI
AC/A ratio ( ความสัมพันธ์ระหว่าง Accomconvergence กับ Accommodation ): 2.5 : 1
• ขั้นตอนการตรวจการเพ่งของเลนส์ตา
NRA ( ความสามารถในการคลายการเพ่งของเลนส์ตา ) : +2.00
PRA ( ความสามารถในการเพ่งของเลนส์ตา ) : -3.75
BCC ( ค่า Addition ที่คนไข้ต้องการช่วยในการเพ่งให้เห็นชัดที่ระยะ 40 cm. ) : -0.25
วิเคราะห์ปัญหา
• ในระยะไกลคนไข้มีปัญหาสายตาสั้นและเอียงแบบ Compound Myopic Astigmatism ทั้งสองข้าง
ตาขวา : สายตาสั้น 0.75 สายตาเอียง 1.25 Diopter ที่องศา 80
ตาซ้าย : สายตาสั้น 0.75 สายตาเอียง 1.00 Diopter ที่องศา 95
• ในระยะใกล้
จากผลการตรวจประเมินค่าต่างๆพบว่าคนไข้มีปัญหา Convergence Insufficiency
เนื่องจากปัญหา Convergence Insufficiency เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ Binocular Vision หรือการทำงานร่วมกันของทั้งสองตาจึงไม่สามารถบอกได้ว่า แต่ละตามีมุมเหล่เท่าไหร่แต่สามารถบอกออกมาเป็นผลรวมได้ว่ามุมเหล่ที่ตาทั้งสองข้างมีอยู่คือเท่าไหร่
จากเคสคนไข้พบว่า ที่ระยะไกล มี Phoria อยู่ที่ 3 Prism Base In ( Exodeviation ) มี Positive Fusional Vergence ที่เพียงพอ และที่ระยะใกล้ มี Phoria อยู่ที่ 10.5 Prism Base In ( Exodeviation ) มี Positive Fusional Vergence ไม่เพียงพอ
Ac/A ratio ต่ำ
BCC เป็น lead of Accommodation
NRA เมื่อเทียบกับอายุและค่า Bcc ค่อนข้างต่ำ
เนื่องจากคนไข้มีปัญหา Divergence Insufficiency จึงพิจารณาจ่ายเป็นแว่นปริซึมเพื่อแก้ไขปัญหา
คำนวณการจ่าย Prism จากสูตร
Exophria = 2/3(Demand) - 1/3(Reserve)
ดังนั้นค่าสายตาที่จ่ายแว่นคือ
OD : -0.75-1.25*80 Prism 1.5 BaseIn
OS : -0.75-1.00*95 Prism 1.5 BaseIn
การใส่ปริซึมไปในเลนส์จะทำให้เลนส์มีความหนาด้านใดด้านหนึ่ง การใส่ปริซึม Base In จึงทำให้มีความหนาในด้าน Nasal ของกรอบแว่นมากกว่าในด้าน temperal ( ยิ่งปริมาณปริซึมมาก เลนส์จะยิ่งหนามาก )
ทั้งนี้การใส่ปริซึมเข้าไปในเลนส์จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของภาพ เป็นการเลื่อนตำแหน่งภาพให้มาตรงกับตำแหน่งที่ตาของคนไข้กำลังมองอยู่ ทำให้ตาไม่ต้องใช้แรงในการรวมภาพมากเท่าเดิม จึงช่วยให้คนไข้รวมภาพได้ง่ายและสบายตามากขึ้น
ซึ่งการใส่เลนส์ปริซึม จะมี Abberation เกิดขึ้นและในคนไข้ที่ใส่ Prism Base In จะปรับตัวได้ยากกว่า Prism Base Out
แก้ไขปัญหาโดย
เลนส์ Hoya Single Vision Hilux Classic index 1.60 VP
กรอบแว่นตาคนไข้นำมาเอง
ในวันที่คนไข้มารับแว่น ใส่ครั้งแรกภาพที่เห็นยังคงไม่ค่อยปกติ มีภาพลอยๆอยู่บ้าง จึงอธิบายให้คนไข้ได้เข้าใจว่ามันคือผลข้างเคียงของการใส่เลนส์ปริซึม และให้คนไข้พยายามใส่บ่อยๆเพื่อปรับตัว
และในปัจจุบันคนไข้บอกว่าสามารถใส่แว่นได้ปกติแล้ว
Content by : Worada Saraburin , O.D.
อ่านความรู้อื่นๆได้ที่ :
https://voradaoptometry.com/
ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น.
นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ 065-9499550
ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนส์และประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ
ร้านอยู่ติดกับโรงเรียนชุมชนวัดหัวสำโรง สามารถจอดรถได้ที่ลานจอดรถวัดหัวสำโรงได้เลยนะคะ
แว่นตา
สุขภาพ
ดูแลสุขภาพดวงตา
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย