The Mozart Effects เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสติปัญญาด้วยการฟังเพลงคลาสสิก การวิจัยดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากผลงานเมื่อปี 1993 ของ Frances Rauscher
มีการวิจัยเกี่ยวกับ The Mozart Effect : เพลงคลาสสิคทางเลือกใหม่ของการพัฒนาศักยภาพสมองให้เกิดการเพิ่มพูนความทรงจำและความเฉลียวฉลาด หลายปีที่ผ่านมา ได้มีการทดลองซึ่งได้แสดงให้ทราบว่าการฟังดนตรีคลาสสิคจะทำให้สามารถเพิ่มพูนความทรงจำ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันว่าThe Mozart Effect เพราะว่าเพลงที่คัดเลือกมาใช้มาใช้ในการเพิ่มพูนความจำนั้นเป็นเพลงของ Wolfgang Amadeus Mozart ประชาชนต่าง ก็สนใจที่จะฟังเพลงคลาสสิคเพราะว่ามันน่าจะเป็นวิถีทางที่ดีที่จะเพิ่มพูนความจำและเพิ่มความเฉลียวฉลาดทางปัญญา
ดนตรีคลาสสิกบางเพลงเมื่อฟังแล้วคลื่นเสียงของเพลงมีอิทธิพลกระตุ้นต่ออารมณ์และจิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นดนตรีคลาสสิกที่บรรเลงด้วยเครื่องเป่า เครื่องสาย บางบทเพลงทำให้จิตใจเกิดความรู้สึกสะเทือนใจอ่อนไหวเศร้าสร้อยไปกับเสียงเพลงเช่น Piano Sonata No 8 “Pathetique” ของ Beethoven หรือ Nocturne in E flat Major ของ Chopin
บางบทเพลงทำให้เกิดความรู้สึกอารมณ์สดชื่นแจ่มใสกระปรี้กระเปล่า Spring from The four season ของ vivaldi บางบทเพลงทำให้เกิดความรู้สึกอยากจะเต้นรำหมุนไปรอบ ๆ ตามจังหวะเสียงเพลง เช่น บทเพลง The Blue Danube Waltz ของ Strauss เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าดนตรีกลุ่มนี้จะเข้าพัฒนาสมองส่วนระบบลิมบิก ทำให้มีการพัฒนาสมองส่วนอารมณ์ให้มีความละเอียดอ่อนมากขึ้น ซี่งอาจารย์อริยะ ได้มีการจัดชุดดนตรีกลุ่มนี้ไว้เป็นชุด ๆ ที่เรียกว่าดนตรีพัฒนาอารมณ์
เช่น Bach ได้แก่เพลง Ave Maria และ Jesu ,Joy of Man’s Desiring , Mozart ได้แก่ Eine Kleine Nauchtmusik: Romance Adante และ March of the Priests from The Magic Flute เพลงหลังนี้เยี่ยมมากทำสมาธิได้เลย ส่วนคีตกวีอีกคนหนึ่ง ชื่อ Massnet บางคนอาจไม่รู้จักแต่เพลงของท่านสุดยอดมาก ได้แก่ Meditation from Thais