22 ก.ค. 2023 เวลา 00:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

บทความ Blockdit ตอน ห้องสมุดแห่งจักรวาล

ใครๆ ก็รักไอน์สไตน์และอยากได้ไอน์สไตน์เป็นพวก ถ้านักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกคนนี้นับถือศาสนาของเรา ก็เท่ากับยืนยันว่าเรา มาถูกทาง แล้ว
6
ความเป็นอัจฉริยะทำให้ชาวโลกอยากรู้มุมมองของเขาในเรื่องศาสนา งานเขียนหลายชิ้นของไอน์สไตน์สอดคล้องกับหลักทางพุทธ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยสรุปว่าไอน์สไตน์เป็นชาวพุทธ และพุทธเป็นศาสนาที่ดีที่สุดในโลก โดยอ้างอิงประโยค ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาแห่งจักรวาล มันจะอยู่เหนือพระเจ้าและหลีกเลี่ยงลัทธิและเทววิทยา
2
แต่ความจริงคือไอน์สไตน์ไม่ได้พูดประโยคเหล่านี้ มันมาจากหนังสือเล่มอื่นที่อ้างชื่อไอน์สไตน์ แล้วอ้างต่อๆ กันมา
6
ใช่ ความจริงคือไอน์สไตน์ไม่ใช่ชาวพุทธ และก็ไม่ใช่คริสต์ ศาสนายิว และศาสนาอื่นๆ
4
แล้วไอน์สไตน์มีศาสนาไหม?
1
คำตอบขึ้นอยู่กับเราให้คำจำกัดความของ ศาสนา อย่างไร เพราะไอน์สไตน์บอกเสมอว่าเขาเป็นพวกไม่สังกัดค่ายศาสนาใด แต่กระนั้นบางครั้งเขาก็บอกว่าเขาเป็น คนเคร่งศาสนา (devoutly religious) ที่สุด!
1
ความเชื่อทางศาสนาของไอน์สไตน์เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง พอๆ กับคำคมจำนวนมากที่เขาไม่ได้พูด จะตอบได้ว่าเขามีหรือไม่มีศาสนา ต้องเข้าใจความคิดของเขาก่อน
3
หากไอน์สไตน์มีศาสนา ก็ดูเหมือนว่ามันเป็นส่วนผสมของวิทยาศาสตร์แห่งจักรวาลกับแนวคิดอื่นๆ มันเป็นวิธีคิดเฉพาะตัวซึ่งไม่ติดยี่ห้อศาสนาใด
7
ไอน์สไตน์เกิดในครอบครัวยิว ได้รับการปลูกฝังความเชื่อทางศาสนาชุดหนึ่งเหมือนยิวทั่วไป แต่พอวัยสิบสอง ก็หมดศรัทธา หลังจากอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์จำนวนมาก แล้วพบว่าเรื่องในไบเบิลไม่มีทางเป็นจริงได้ หลังจากนั้นเขาก็มีพัฒนาการความคิดเรื่องศาสนาและจิตวิญญาณของเขาเอง
5
เขาเห็นว่าศาสนายิวที่ครอบครัวเขาปฏิบัติก็คล้ายบางความเชื่อที่มีเรื่อง อำนาจเหนือธรรมชาติแบบเด็กๆ (childish superstitions)
4
เขาค่อยๆ เรียนรู้เรื่องการค้นหาโลกภายในมากกว่า มันเหมือนมีโลกภายในที่สงบ
3
แน่นอนมีคนถามเขาเสมอว่า "คุณเชื่อในพระเจ้าไหม?"
1
เช่นกัน คำตอบขึ้นอยู่กับคำจำกัดความของ พระเจ้า เขาไม่เชื่อ
1
พระเจ้าแบบอับราฮัมในไบเบิล (personal God) ผู้ที่กำหนดชะตาชีวิตและการกระทำของมนุษย์ ให้รางวัลคนดี ลงโทษคนไม่ดีหลังความตาย ที่เรียกว่า personal God* เขารู้สึกว่ามัน ไร้เดียงสา (naive) เกินไป
6
(* personal god คือเทพหรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มีคุณลักษณ์เป็น คน ในตำนานอับราฮัม พระเจ้าจะพูดจากับคนเหมือนคนด้วยกัน)
2
ปกติเราเรียกคนที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าว่า atheist
2
ทว่าแม้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า แต่ไอน์สไตน์ก็ไม่ใช่ atheist
5
เขาเป็น agnostic
4
เป็นอย่างไร?
1
agnostic ในภาษากรีก แปลว่าปราศจากความรู้ มีความหมายว่าเราไม่มีความรู้พอ เพราะความจริงเกี่ยวกับศาสนาและอภิปรัชญาโดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าหรือผู้สร้าง อำนาจเหนือธรรมชาติ วิญญาณ ฯลฯ เป็นเรื่องที่มนุษย์อาจยังไม่มีความสามารถที่จะรู้หรือเข้าใจ
10
พูดง่ายๆ คือ agnostic เป็นแนวคิดที่มีฐานแบบ atheism แต่ไม่ฟันธง ต้องขอดูหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อน
7
ไอน์สไตน์ไม่ได้ฟันธงว่าไม่มี พระเจ้า เขามีมุมมองอีกมุมหนึ่ง เรียกว่า พระเจ้าของสไปโนซา
3
ในปี 1929 ไอน์สไตน์เขียนจดหมายถึงแรบไบ Herbert S. Goldstein ที่เยอรมนีว่า "ผมเชื่อในพระเจ้าของสไปโนซา ผู้ที่เผยตัวในความกลมกลืนของสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ ไม่ใช่ในพระเจ้าที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดชะตาและการกระทำของมนุษยชาติ"
2
ใครคือสไปโนซา?
1
บารูค สไปโนซา (Baruch Spinoza) เป็นนักปรัชญาชาวดัตช์เชื้อสายยิว ตอนเด็กได้รับการอบรมสั่งสอนเรื่องศาสนายิวเหมือนชาวยิวทั่วไป แต่เขากลับมองพระเจ้าต่างออกไปจากคำสอนของไบเบิล จนกระทั่งถูกขับออกจากกลุ่มชาวยิว หนังสือหลายเล่มของสไปโนซาถูกศาสนจักรจัดเป็นหนังสือต้องห้าม
3
สไปโนซาปฏิเสธความคิดเรื่องกาย-จิตที่แยกจากกัน เขาเชื่อว่าทั้งสองอย่างคือสิ่งเดียวกัน มันไม่มีการแยกเป็นสอง มันมีหนึ่งเดียวมาตลอด สไปโนซาใช้คำว่า พระเจ้า อธิบายความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง พระเจ้าของสไปโนซา ไม่ใช่พระเจ้าในศาสนาคริสต์ และมีความเป็นนามธรรมมากกว่า ไม่ใช่พระเจ้าแบบบุคคล
9
สไปโนซาเชื่อว่าพระเจ้ากับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียวกัน และบางทีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติ ก็อาจยิ่งใหญ่กว่าจักรวาล นี่ก็คือแนวคิดของ Pantheism ซึ่งมองว่าธรรมชาติ จักรวาล และสิ่งที่เรียกว่า พระเจ้า เป็นสิ่งเดียวกัน (Pantheism มาจากคำกรีก pan แปลว่าทั้งหมด theos แปลว่า พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
8
บารูค สไปโนซา
Pantheism ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าที่เป็นตัวบุคคลซึ่งมีรูปร่างลักษณะแบบมนุษย์อย่างที่บางศาสนาเชื่อ สิ่งที่เรียกว่า พระเจ้า อาจเป็นบางสิ่งบางอย่างที่เรายังไม่รู้
6
Pantheism เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าความจริงและจักรวาลเป็นเรื่องเหมือนกันกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์และสิ่งสูงสุด จักรวาลกับตัวตนสูงสุดเป็นเรื่องเดียวกัน และถือกำเนิดมาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเวลา
6
ทุกสิ่งคือสิ่งเดียวกัน
1
หลายคนมองว่า Pantheism เป็นปรัชญามากกว่าศาสนา เพราะมันดูเหมือนเชื่อมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของจักรวาลไปโดยปริยาย
2
แนวคิด Pantheism นี้มีมานานหลายพันปีแล้ว มันเชื่อมโยงและปนอยู่กับแนวคิดตะวันออก เช่น ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ ฮินดู ฯลฯ
3
คนตั้งชื่อคำว่า Pantheism เป็นนักคณิตศาสตร์ โจเซฟ ราฟสัน ตั้งชื่อนี้ในปี 1697 และสไปโนซาทำให้มันกลายเป็นแนวคิดปรัชญาที่เป็นที่นิยม
3
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคนถามไอน์สไตน์ว่า เขาเป็น pantheist หรือไม่ ไอน์สไตน์ตอบว่า "คำถามของคุณยากที่สุดในโลก มันไม่ใช่คำถามที่สามารถตอบใช่หรือไม่ใช่ ผมไม่ใช่ atheist และผมก็ไม่คิดว่าผมสามารถเรียกตัวเองว่า pantheist เช่นกัน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกว้างเกินจิตที่มีข้อจำกัดของเรา ผมตอบเป็นเรื่องอุปมาได้ไหม?...
5
"จิตมนุษย์ไม่ว่าฝึกฝนมาดีแค่ไหน ไม่สามารถเข้าใจจักรวาลได้ เราอยู่ในตำแหน่งของเด็กน้อย เดินเข้าไปในห้องสมุดใหญ่มาก ผนังแต่ละด้านเป็นชั้นหนังสือชนถึงเพดาน ที่มีหนังสือภาษาต่างๆ เด็กน้อยรู้ว่ามีคนเขียนหนังสือเหล่านั้นขึ้นมา แต่ไม่รู้ว่าใครหรืออย่างไร ไม่เข้าใจภาษาที่เขียน เด็กน้อยสังเกตว่าการจัดเรียงหนังสือเป็นลำดับที่ลึกลับ ยากเข้าใจ แต่ทำได้เพียงสงสัยแบบรางๆ...
12
"นั่น - ที่ผมรู้สึก เป็นเจตคติของจิตมนุษย์ต่อพระเจ้า ไม่ว่าจะเป็นจิตที่ยิ่งใหญ่หรืออบรมมาดียิ่ง เราเห็นจักรวาลจัดเรียงอย่างวิเศษ เดินตามกฎต่างๆ แต่เราเข้าใจกฎต่างๆ เพียงรางๆ จิตที่มีข้อจำกัดของเราไม่สามารถจับต้องแรงลึกลับที่ผลักโยกกลุ่มดาวต่างๆ ผมรู้สึกทึ่งกับ Pantheism ของสไปโนซา ผมยกย่องคุณูปการของเขาต่อวิธีคิดสมัยใหม่ สไปโนซาเป็นนักปรัชญาสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ เพราะเขาเป็นนักปรัชญาคนแรกที่มองว่าวิญญาณและร่างกายคือสิ่งเดียวกัน ไม่ใช่สองสิ่งที่แยกกัน"
9
ในปี 1930 ไอน์สไตน์เขียนบทความตีพิมพ์ในนิตยสาร The New York Times เกี่ยวกับความเชื่อของเขา ชื่อหัวเรื่อง Religion and Science
1
ไอน์สไตน์เขียนว่ามนุษย์เรามีแรงกระตุ้นสามอย่างซึ่งกำเนิดและพัฒนาเป็นความเชื่อทางศาสนา นั่นคือความกลัว สังคมหรือศีลธรรม และสิ่งที่เรียกว่า cosmic religious feeling (ความรู้สึกแห่งศาสนาจักรวาล)
7
ความกลัวให้กำเนิดอำนาจเหนือธรรมชาติ ความต้องการความรักและการเกื้อกูลให้กำเนิดสังคมและศีลธรรมซึ่งจำเป็นต่อตัวตนสูงสุด เป็นที่มาของแนวคิดพระเจ้า
1
ส่วนอย่างที่สามคือ cosmic religious feeling ซึ่งไอน์สไตน์เห็นว่าลึกซึ้งที่สุด เกิดขึ้นมาจากความรู้สึกอัศจรรย์ ความถ่อมตน และความลึกลับ
3
เขาเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นคู่ปรับของความเชื่อทางศาสนาสองอย่างแรก แต่เป็นส่วนประกอบของอย่างที่สาม
2
จะเข้าในความอัศจรรย์ที่ลึกลับหนีไม่พ้นต้องไปตามวิถีทางวิทยาศาสตร์
2
ไอน์สไตน์เขียนใน The World As I See It ว่า มันมีสภาวะที่สามของประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ ที่ผมเรียกว่าความรู้สึกแห่งศาสนาจักรวาล (cosmic religious feeling) เป็นการยากที่จะอธิบายความรู้สึกนี้ต่อคนที่ปราศจากมันเลย
2
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันไม่มีความคิดเรื่องพระเจ้าที่เหมือนคนมาเกี่ยวข้อง ปัจเจกชนทั่วไปรู้สึกความว่างเปล่าของตัณหามนุษย์และจุดประสงค์ และจิตที่ยกสูง และการจัดระเบียบที่ยอดเยี่ยมซึ่งเผยตัวเองทั้งในธรรมชาติและในโลกแห่งความคิด เขามองการดำรงอยู่ของตัวตนเป็นคุกชนิดหนึ่ง และต้องการสัมผัสจักรวาลที่เป็นหนึ่งเดียว
4
ในปี 1936 เด็กหญิงคนหนึ่งเขียนไปถามไอน์สไตน์ว่า "พวกนักวิทยาศาสตร์สวดมนต์ไหม" เขาตอบว่า การวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นวางบนความคิดว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นถูกกำหนดด้วยกฎธรรมชาติ แล้วมันก็กำหนดการกระทำของมนุษย์ ด้วยเหตุผลนี้ นักวิจัยวิทยาศาสตร์จึงไม่เชื่อว่าเหตุการณ์ต่างๆ สามารถถูกกำหนดมาจากการสวดมนต์ ยกตัวอย่าง เช่น การอธิษฐานต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ
6
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่าความรู้ของเราในเรื่องกฎต่างๆ เหล่านี้ยังไม่สมบูรณ์ และไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ความจริงแล้วความเชื่อเรื่องการดำรงอยู่ของกฎธรรมชาติพื้นฐานทั้งหมดตั้งอยู่บนศรัทธา ศรัทธานี้ส่วนมากยังใช้ได้ในตอนนี้เพราะการวิจัยประสบผลสำเร็จ
1
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ทุกคนที่เกี่ยวข้องจริงจังในการค้นหาวิทยาศาสตร์ก็ถูกโน้มน้าวใจว่า จิตวิญญาณเป็นปรากฏในกฎของจักรวาล จิตวิญญาณที่อยู่เหนือมนุษย์ และเราที่มีอำนาจจำกัดต้องรู้สึกถ่อมตน ในทางนี้ การค้นหาวิทยาศาสตร์ก็นำไปสู่ความรู้สึกทางศาสนาที่พิเศษ ซึ่งแตกต่างไปจากความเลื่อมใสในศาสนาของคนที่ไร้เดียงสากว่า
5
ไอน์สไตน์บอกว่าเขาเป็นคนเคร่งศาสนา แต่ในอีกบริบทหนึ่ง เขาบอกว่า ความรู้สึกที่สวยงามที่สุดที่เราสามารถมีประสบการณ์ได้คือ the mystical (แปลตรงตัวว่าความลึกลับ แต่ไอน์สไตน์น่าจะหมายถึงความรู้สึกอัศจรรย์ ความสงัดทางจิต ความเคารพ ความยำเกรง ความทึ่ง ความตื่นตาที่เกิดจากการพบเห็นบางสิ่งที่น่าอัศจรรย์หรือศักดิ์สิทธิ์) มันคือพลังอำนาจของศิลปะและวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง
5
ใครก็ตามที่รู้สึกว่าความรู้สึกนี้แปลกหน้า ไม่สามารถรู้สึกอัศจรรย์ตื่นตะลึง ก็เหมือนคนที่ตายไปแล้ว การที่จะรู้ว่าสิ่งที่ผ่านทะลุมายังเราไม่ได้นี้ดำรงอยู่จริง ประจักษ์ชัดว่าเป็นภูมิปัญญาขั้นสูงสุด และงดงามที่สุด
3
ซึ่งปัญญาอันต่ำต้อยของเราขบคิดได้เพียงความรู้ขั้นต่ำ ความรู้สึกนี้ก็คือที่จุดศูนย์กลางของการมีศาสนาที่แท้จริง ในความรู้สึกนึกคิดนี้ และในความรู้สึกนึกคิดนี้เท่านั้น ผมก็จัดอยู่ในกลุ่มของคนที่เคร่งศาสนา
4
ศาสนาเป็นสิ่งประดิษฐ์อันซับซ้อนของมนุษย์ และบางครั้งมันก็ซับซ้อนจนเราหลงทาง บางทีทางหนึ่งที่จะหลุดพ้นจากการหลงทางคือถอยออกมามองมัน และหากเราต้องการมองด้วยสายตาของไอน์สไตน์ เราก็ต้องมองกว้างไกลในสเกลจักรวาล
12
ปราศจากความเข้าใจ ศรัทธาก็เป็นเพียงศรัทธา
9
ท้ายที่สุดแล้ว จะเป็นพุทธ คริสต์ หรือศาสนาอื่นใด ก็ไม่สำคัญเท่าว่าเราเข้าใจชีวิตแค่ไหน และตอบแทนโลกหรือไม่
8
โฆษณา