19 ส.ค. 2023 เวลา 00:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

บทความ Blockdit ตอน สามเรื่องส่วนตัวของไอน์สไตน์

เรื่องที่ 1 รูปคนสามคนในห้องทำงานของไอน์สไตน์
2
ในอพาร์ตเมนต์ของไอน์สไตน์ที่กรุงเบอร์ลินในยุค 1920 และในห้องทำงานของเขาที่พรินซตัน แขวนภาพคนสามคน คือ ไอแซค นิวตัน ไมเคิล ฟาราเดย์ และ เจมส์ คลาร์ก แม็กซเวลล์
3
ทั้งสามล้วนเป็นนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลก และเป็นคนอังกฤษ
1
รูปคนแรกคือ เซอร์ ไอแซค นิวตัน (1642-1726) เป็นนักฟิสิกส์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่อง เมื่อใช้คณิตศาสตร์เดิมอธิบายความคิดของเขาไม่ได้ เขาก็ประดิษฐ์คณิตศาสตร์ใหม่คือแคลคูลัสขึ้นมาใช้
4
หลักการของนิวตันยังใช้การได้อยู่ในปัจจุบัน การส่งจรวดออกนอกโลกก็ยังคงใช้หลักที่เขาคิดในศตวรรษที่ 18
1
รูปคนที่สองคือ ไมเคิล ฟาราเดย์ (1791-1867) ผู้เสนอความคิดเรื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และ Laws of Electrolysis เปิดประตูสู่ทฤษฎีใหม่ๆ ให้โลกฟิสิกส์ในเวลาต่อมา
3
ไมเคิล ฟาราเดย์ เป็นตัวอย่างของคนที่ไต่เต้าขึ้นมาจากชั้นล่างสุด ฟาราเดย์เกิดในครอบครัวยากจน เรียนไม่จบชั้นประถม แต่เขาทำงานเป็นลูกมือในร้านทำปกหนังสือ จึงถือโอกาสอ่านหนังสือทั้งหมดที่มาเข้าปก เขาเรียนเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง และค้นคว้าทดลองเรื่องกระแสไฟฟ้า
3
Max Planck, H. A. Lorentz และ Ernst Mach
ฟาราเดย์คิดค้นงานยากๆ ทั้งที่ไม่เคยเรียนคณิตศาสตร์ จัดเป็นนักฟิสิกส์ที่เรียนเองที่เก่งที่สุด
7
รูปคนที่สามคือ เจมส์ คลาร์ก แม็กซเวลล์ (1831-1879) เขาสานต่องานของฟาราเดย์ รวมกับแนวคิดอื่นๆ กลายเป็นแนวคิดของเขา งานของแม็กซเวลล์ในด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งผลต่อวงการฟิสิกส์อย่างลึกซึ้ง ทำให้ไอน์สไตน์พัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพ และทำให้เข้าใจเรื่องแรงโน้มถ่วงดีขึ้น
3
หลังจากนั้นไอน์สไตน์ก็ต่อยอดงานของแมกซเวลล์ไปอีกขั้นหนึ่ง
1
ไอน์สไตน์รู้สึกว่าตนเป็นหนี้บุญคุณแมกซเวลล์มากกว่าคนอื่นๆ
1
งานของคนเหล่านี้เป็นรากฐานของงานของเขา ปราศจากคนเหล่านี้ ไอน์สไตน์ไม่มีทางคิดค้นทฤษฎีสำคัญของเขา
1
ที่น่าสนใจคือ ไอแซค นิวตัน ไมเคิล ฟาราเดย์ และ เจมส์ คลาร์ก แม็กซเวลล์ เป็นคนอังกฤษ (แม็กซเวลล์เป็นชาวสกอต)
1
ในการเล็กเชอร์เรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพในปี 1925 ที่เบอร์ลิน ไอน์สไตน์แนะนำผู้ฟังสาวคนหนึ่งชื่อ Esther Salaman ให้ไปเรียนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ บ้านของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน ในศตวรรษที่ 17 และ เจมส์ คลาร์ก แมกซเวลล์ ในศตวรรษที่ 19
เขาบอกว่า อังกฤษผลิตนักฟิสิกส์ชั้นยอดเสมอ
แต่ที่น่าขันขื่นคือ ขณะที่ไอน์สไตน์ชื่นชมนักวิทยาศาสตร์จากเคมบริดจ์ ในช่วง 1905-1920 ไม่มีใครในเคมบริดจ์สนใจงานของไอน์สไตน์เลย ทุกคนยิงทิ้งทฤษฎีของเขา
3
แต่ในเวลาต่อมา แนวคิดของไอน์สไตน์ก็เป็นวิชาที่นักศึกษาเคมบริดจ์เรียน
1
ครั้งหนึ่ง ไมเคิล ฟาราเดย์ สาธิตกลไกการทำงานของกระแสไฟฟ้ากับแม่เหล็กให้นายกรัฐมนตรีอังกฤษดู นายกฯเอ่ยถามว่า "แล้วมันใช้ประโยชน์อะไรได้?"
ไม่ใช่คำถามที่แปลก เพราะคนทั่วไปมองไม่เห็นจริงๆ ในต้นศตวรรษที่ 19 โลกรู้จักกระแสไฟฟ้าแล้ว แต่ไม่มีใครมองออกว่ามันมีประโยชน์อะไร
3
วันนั้นฟาราเดย์ถามกลับไปว่า "แล้วทารกแรกเกิดใช้ประโยชน์อะไรได้?"
12
ศาสตร์หลายอย่างมาก่อนกาล และมองเผินๆ ไม่มีประโยชน์อะไร
3
รูปถ่ายของนักวิทยาศาสตร์สามคนในห้องทำงานของไอน์สไตน์บอกเราว่า ศาสตร์ต่อยอดศาสตร์ ความรู้ใหม่มาจากฐานความรู้เก่า
6
ไม่มีศาสตร์ใดที่ไร้ประโยชน์จริงๆ
5
เรื่องที่ 2 ไอน์สไตน์แลบลิ้น
ไอน์สไตน์เกิดวันที่ 14 มีนาคม ในวันคล้ายวันเกิด 72 ปีเมื่อปี 1951 เพื่อนๆ จัดงานให้เขาที่ The Princeton Club มิดทาวน์ แมนฮัตตัน นิวยอร์ก
2
The Princeton Club ก่อตั้งโดยสมาคมศิษย์เก่าพรินซตัน ตั้งแต่ปี 1866 เนื่องจากไอน์สไตน์ทำงานที่สถาบัน Institute for Advanced Study มหาวิทยาลัยพรินซตัน พวกเขาจึงจัดงานวันเกิดที่นั่น
งานเลี้ยงผ่านไปด้วยความเรียบร้อย แต่ไอน์สไตน์มีแขกที่ไม่ได้รับเชิญจำนวนหนึ่ง คือบรรดานักข่าวและช่างภาพ รุมล้อมจะถ่ายรูปและสัมภาษณ์เขา
2
หลังงานเลี้ยงเลิก ไอน์สไตน์ก็ติดรถของอดีตผู้อำนวยการสถาบัน Dr. Frank Aydelotte และภรรยากลับ เขานั่งกลางระหว่างคนทั้งสอง แสงแฟลชสว่างวาบตลอดเวลา ไอน์สไตน์รู้สึกหงุดหงิด บอกบรรดาช่างภาพว่า พอเถอะๆ
4
ใครคนหนึ่งขอให้เขา ช่วยยิ้มหน่อย
เขาไม่ได้ยิ้ม แต่แลบลิ้นออกมาแทน
5
ช่างภาพชื่อ Arthur Sasse จากสำนักข่าว UPI (United Press International ) มือไว เป็นคนเดียวที่กดภาพนั้นไว้ทัน
2
บรรณาธิการและเจ้าหน้าที่ในสำนักข่าว UPI ครุ่นคิดหนัก ปรึกษากันว่าสมควรเผยแพร่ภาพนี้ออกสื่อหรือไม่ เนื่องจากไอน์สไตน์เป็นบุคคลสำคัญระดับโลก การเสนอภาพเล่นๆ แบบนี้ออกสื่ออาจไม่เหมาะสม
ในที่สุดบรรณาธิการก็ตัดสินใจตีพิมพ์ เหตุผลหนึ่งอาจเพราะไอน์สไตน์เป็นคนสนุก มีอารมณ์ขัน ไม่เคร่งครัด ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์
2
ตลอดหลายสิบปีในสหรัฐฯ นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลผู้นี้ไม่ถือตัว ไม่หวีผม สวมเสื้อผ้าแบบไม่แยแสสายตาใคร บางครั้งสวมรองเท้าแตะสีชมพูให้สัมภาษณ์
เล่ากันว่าเขาเคยบอกว่าเขามีไอเดียหนึ่งที่ดีพอๆ กับทฤษฎีสัมพัทธภาพ นั่นคือระหว่างที่ต้มน้ำแกง ก็หย่อนไข่หนึ่งใบลงไปด้วย ก็สามารถต้มไข่โดยไม่ต้องใช้หม้ออีกใบหนึ่ง
3
ภาพไอน์สไตน์แลบลิ้นเผยแพร่ไปทั่วโลก
1
ใครๆ ก็ชอบภาพนี้ และเรียกรอยยิ้มให้ทุกคนที่เห็นภาพ
1
ภาพนี้ทำให้ไอน์สไตน์เป็นดาราทันที
4
ไอน์สไตน์ชอบภาพถ่ายนี้มาก จนขอให้ทางสำนักข่าวช่วยอัดรูปมาให้จำนวนหนึ่ง โดยครอปภาพเฉพาะใบหน้าเขา เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของครอบครัว Aydelotte
1
เขาเซ็นชื่อใส่ภาพ ส่งให้เพื่อนๆ และคนสนิทแบบขำๆ ต่อมาก็ยังทำบัตรอวยพรด้วย
1
เล่ากันว่าเขาส่งภาพหนึ่งไปให้กิ๊กของเขา โจฮันนา แฟนโตวา เขียนว่า "ภาพนี้สะท้อนมุมมองทางการเมืองของผม"
ทว่าในความจริงภาพนี้ทำให้สะท้อนอีกด้านหนึ่งของไอน์สไตน์ว่าเป็นคนสนุก มีอารมณ์ขัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีมาดเคร่งขรึมใดๆ
ใครบอกว่าคนที่ทำงานเคร่งเครียดจะต้องเคร่งเครียด?
2
ทำไมเราจะต้องรักษาภาพลักษณ์เคร่งขรึมของเราจนกระดิกตัวไม่ได้?
ถึงวันนี้ เมื่อเอ่ยชื่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หลายคนไม่ได้นึกถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพ หรือสมการ E = mc2 แต่นึกถึงภาพเขาแลบลิ้น
3
เรื่องที่ 3 ไอน์สไตน์กับมายา
เมื่อไอน์สไตน์ยังเป็นหนุ่มในวัยยี่สิบกว่า เขาก็เริ่มสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแล้ว แต่ไม่มีนักศึกษามาฟังเขาสอนเลยสักคน ยกเว้นหญิงสาวคนหนึ่งไปฟังเขาเล็กเชอร์
5
หญิงสาวคนนี้ไม่ใช่นักศึกษาวิชาของเขา แต่ไปฟังเขาเล็กเชอร์ เพื่อให้เห็นว่ามีคนสนใจวิชานี้
เธอชื่อมายา นามสกุลไอน์สไตน์
เป็นน้องสาวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
1
มายาเป็นเด็กฉลาด เรียนหนังสือเก่ง จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเบิร์นในปี 1909 เธอสนใจด้านภาษา วรรณกรรม รู้ภาษาดีมาก ตั้งแต่ละติน ฝรั่งเศส ไปจนถึงสเปน
7
มายายังเป็นนักใช้ชีวิต เธอเดินทางไปมาระหว่างหลายประเทศในยุโรป
2
หลังแต่งงาน มายากับสามีย้ายไปอยู่ที่อิตาลี ในปี 1924 ไอน์สไตน์ช่วยเหลือจ่ายหนี้สินค่าบ้านที่ค้างอยู่ให้หมด
2
หลังจากพวกยิวถูกกีดกันและต่อต้านในอิตาลี ในปีเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง มายาก็ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่สหรัฐฯ แต่สามีเธอไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสหรัฐฯด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ มายาไปอยู่กับพี่ชายคือไอน์สไตน์ที่ถนนเมอร์เซอร์ ส่วนสามีเธออยู่ที่กรุงเจนีวา
3
ไอน์สไตน์สนิทกับน้องสาวคนนี้มาก ทั้งสองมีอารมณ์ขันเหมือนกัน ชอบพูดตลก
1
มายาเล่าว่าเมื่ออายุเจ็ดขวบ ไอน์สไตน์ขว้างลูกโบว์ลิงใส่ศีรษะเธอ เธอเขียนว่า "นี่แสดงว่าคนที่จะเป็นน้องสาวของนักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกได้ ต้องหัวแข็งมาก"
3
ทั้งสองเป็นมากกว่าพี่น้อง แต่เหมือนเพื่อนสนิท
3
มายากับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
เมื่ออายุมากแล้ว มายาเป็นสโตรค ต้องนอนติดเตียงไปจนวันตาย เธอพูดไม่ได้ แต่ยังเข้าใจและรู้เรื่องสิ่งที่เป็นไปในโลกภายนอก
1
ทุกวันไอน์สไตน์ในวัยชราไปเยี่ยมน้องสาว บ่อยครั้งเดินฝ่าลมหนาวจากแคมปัสพรินซตันไปหาเธอที่ห้อง เขามักพูดว่า "มายา เรามาคุยกันนะ"
3
เขาอ่านหนังสือให้มายาฟัง ทั้งสองเป็นนักอ่าน ชอบงานวรรณกรรมของดอสโตเยฟสกี ชอบงานนักสืบ Ellery Queen
เขาอ่านให้เธอฟัง แต่น้องสาวไม่สามารถพูดตอบได้
มายาจากโลกไปในปี 1951 ไอน์สไตน์รู้สึกเศร้าใจอย่างยิ่ง
1
คนเราไม่ว่าจะอยู่บนยอดเขาสูง หรือสถานะใด ท้ายที่สุดก็ต้องการชีวิตธรรมดาที่เรียบง่าย เพราะความเรียบง่ายเป็นข้อแม้แรกของความสุข
19
ความสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นเครื่องชี้ว่าเรามีความสุขหรือไม่
5
การใช้ชีวิตก็คล้ายวิชาฟิสิกส์ คนจำนวนมากพยายามทำชีวิตให้ซับซ้อนอย่างวิชาสัมพัทธภาพ แต่ละทิ้งวิชาสัมพันธภาพระหว่างคน
7
โฆษณา