15 มิ.ย. 2023 เวลา 07:00 • ธุรกิจ
เห็นคำถามแล้วย้อนกลับไปนึกถึง ครอบครัวหนึ่งในหมู่บ้าน
วิศวกรหนุ่มวัย35 ทำงานโรงงานอุตสาหกรรม ระดับมหาชน กับแฟนสาววัย29 ปี " คนนึงรับราชการระดับ 4 ดูแลลูก 1ชายวัย 6 ขวบ ( 3 ชีวิต)
ภรรยาก็อุตสาหะพยายามไปเรียนทำขนม ทำBakery จนเป็นที่ยอมรับกัน
และจนมีออเดอร์ถาโถมมาจำนวนมากถึงมากแบบทำแทบจะไม่ทัน
ออเดอร์ส่งให้ทันลูกค้า ต้องส่งๆๆๆทำๆๆๆส่งๆๆๆทำอยู่ได้เกือบ2 ปี
ทุกวัน ทั้งงานหลัก งานธุรกิจ งานบ้านครอบครัว
จะบอกว่าโลภก็ไม่ใช่แต่คิดว่า เป็น" โอกาส"สร้างธุรกิจของตัวเอง
1
สร้างความมั่งคั่งให้ครอบครัว แต่ลืมมองพลัง กำลัง ของตนที่จะ
ผลักดัน ผลผลิตคุณภาพตามความต้องการลูกค้า และขาดพลังในการปั่น
ศักยภาพ Capacity
หลังๆสังเกตว่า Bekery รสชาด อร่อยที่ว่า ก็ค่อยๆหายไป เกิดอะไรขึ้นกับความรุ่งเรือง ความนิยมของลูกค้า ก็ไม่ได้ล้มเหลวเพราะไม่อร่อย
ไม่มีลูกค้าราคาแพง ไร้คุณภาพฯลฯ ไม่มีข้อบกพร่องเลยครับ
ลูกค้ายังถามถึงตลอด
แต่ด้วยความโหมงานประจำ งานค้าขาย ภาระลูก ครอบครัว "ความเสถียร"
ของนักธุรกิจ ของผู้ผลิตเอง กลายเป็นอุปสรรคอย่างสิ้นเชิง
วิศวกรหนุ่มป่วยเป็นโรคประจำตัว กระทบต่องานหลัก ต้องกลับมาพักรักษาตัว
นานโขแล้วกลับไปสู่งานหลักอีกครั้งแบบไม่เท่ากับ 100
ภรรยาราชการ เริ่มมีภาวะเครียด ปัญหางาน ปัญหาลูก ปัญหาคนงาน ปัญหาออเดอร์ลูกค้า ทุนหมุนเวียน และอื่นๆหลายเรื่องเป็นเหตุให้ต้องยกเลิก หยุดเพราะรับความต้องการลูกค้าไม่ไหว ไม่ทัน ช่วงหลังๆเห็นว่าเกณฑ์พ่อแม่พี่น้องญาติมาทำด้วยแล้ว
น้องวิศวกรฯเล่าให้ฟังถึง ความรู้สึกที่อยากมาก อยากดีดตัวออกมาทำเป็นของตนเองเต็มตัว กับความลังเล ความกังวลในเรื่อง
"ความเสถียร ความคงทน
ปัญหาการแข่งขันกับความต้องการ ปัญหากำลังการผลิต ทุนหมุนเวียนและ
ความไม่แน่นอนของตลาดในอนาคต" ความอยาก กับความกังวล ก็เลยแยกกัน
ไม่ขาดเสียที เลยทำคู่ขนานแบบโลภเอาไว้ทั้งสอง แต่ทำไม่เต็ม100ทั้งสองงาน
เขาบอกว่า ดีนะสุขภาพมาเตือนก่อน มันมาช่วยแยกให้ขาด ไม่งั้นละอาจพังพาบทั้ง
หมดโดยเฉพาะ สมรรถนะร่างกายที่หาเรื่องอยากทำจนพลาดไม่มีเวลาพักผ่อน
ก็เป็นตัวอย่างแนวคิดที่ดีครับ
คนจะทำจริงๆก็อาจมีหลายแบบ ลองดูคู่ขนาน หรือลงเต็มหน้าตัก หรือร่วมหุ้นร่วมทุน หรือทำในครอบครัว ที่สำคัญคือความเสถียรคงทนที่จะฝ่าฟันในทุกๆเรื่อง
ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น แม้ว่าธุรกิจนั้นจะ มีประธาน เจ้าของ นาย คนงาน เงินทุน
ของเราคนเดียวก็ตาม ต้องไม่สะดุดขาตัวเอง ล้มได้แต่ต้องไปต่อได้ ทำใหม่ได้
แต่ถ้าเป็นสุขภาพ ล้มแล้วอาจไม่เท่าเดิม เพราะ ป่วยคือทำงาน บริหารงาน
แบกหาม สู้งานเปลี่ยนเป็นเงินไม่ได้ มีโอกาสล้มลงล้มเหลวได้มาก
ลูกจ้างในวงจรธุรกิจมีเสมอ แต่ลูกจ้างคนนึงอาจเป็นผู้ประกอบการหรือ
นักธุรกิจอยู่ในตัวด้วยเสมอ ท่านนึงพูดถูกครับทุกวันนี้เราขายจิตวิญญานหรือไม่ขายจิตวิญญาน ขายสมองขายความสามารถ ขายศักยภาพอยู่แล้ว พวกเราคือ เซลล์แมว
1
ขายตัวเองขายอาชีพแลกเงินให้บริษัทฯ ให้ธุรกิจอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจชาติประเทศภาครัฐ ธุรกิจรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน เราคืกลูกจ้าง แม่กระทั่งเป็นลูกจ้างตัวเอง
ธุรกิจกำหนดตลาดติดตลาดที่มั่นคงสุดคือ ขายแบรนด์เช่น Nike Coke Pepsi>>>
World Big Brand เจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่มีโรงงานผลิต ไม่มีพนักงาน ไม่มีอะไรเป็นของตนเอง เพราะมีคนรับจ้างรับทำรับผลิตทั้งหมด ทำแต่วางกลยุทธ์ Marketing
Trading /Audit Control คุณภาพ
ฝันว่าสักวันจะมีคนไทย ทำแบรนด์ระดับโลกกับเขาบ้าง
ไม่แน่นะ "ลิซ่า"นุ่งผ้าซิ่นผ้าถุงลายไทย ก็น่าจะเป็นแบรนด์ระดับโลกได้ขึ้นอยู่ว่า
"ใครนุ่งใครใส่"ดังจริงๆก็ผลิตให้ทัน รักษาคุณภาพ ให้มั่นคงสมคุณค่ากันด้วยล่ะ
ธุรกิจที่ใช้สมองขายความคิด ขายนวตกรรม Know Howต้นน้ำ ในยุคโลกาอภิวัฒน์ ย่อมมีศักยภาพมากกว่า ธุรกิจที่ต้องแบกรับ ภาระ Big Cost คน วัตถุดิบ ทุนเงิน เครื่องจักร ซึ่งเปลืองตัวกว่ายุ่งยากซับซ้อนกว่าเยอะ
เคส รองเท้าแตะ ระดับโลกรึตลาดนัดเนี่ย
โฆษณา