16 มิ.ย. 2023 เวลา 06:00

ทำไม? ดื่มกาแฟแล้วปวดอึ

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ใครหลายคนชื่นชอบและเป็นที่นิยมในหมู่คนวัยทำงาน
ไม่ว่าจะเป็นในตอนเช้าตรู่ที่ต้องเร่งรีบออกไปทำงาน
เพียงจิบแรกก็ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แต่......เอ๊ะพอดื่มไปสักพักทำไมรู้สึกท้องไส้เริ่มปั่นป่วน วันนี้เราจะมาไขความลับว่าทำไมดื่มกาแฟปุ๊ปต้องปวดอึปั๊ป
จริงๆแล้วการศึกษาเรื่องนี้ยังมีอยู่น้อย งานวิจัยก็ไม่ค่อยออกมาชี้ชัดว่าทำไม แต่มันมีข้อสันนิษฐานอิงหลักวิทยาศาสตร์อยู่ ดร.ไคลน์ เสตลเลอร์ ผู้อำนวยการแล็บวิจัยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของโรงพยาบาลเจเนอรัลแมสซาชูเซตส์กล่าวว่า
ในการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกาแฟส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารอย่างไรทางการแพทย์ยังไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวมาศึกษาอย่างจริงจัง
ดร.ไคลน์ เสตลเลอร์
มันต้องมีอะไรมากกว่าคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟ อาจเป็นสารประกอบอื่นๆ ที่เร่งปฏิกริยาต่อระบบทางเดินอาหารของเราซึ่งสารประกอบตัวนั้นคืออะไร ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
ดร.ไคลน์จึงตั้งข้อสันนิษฐานที่อิงจากหลักวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ประกอบการตอบคำถามเหล่านี้ได้
1. กาแฟอาจเป็นตัวที่ทำให้ลำไส้เกิดการบีบตัว
กาแฟอาจเป็นตัวกระตุ้นระบบลำไส้ให้เกิดการบีบตัวภายหลังจากการดื่มกาแฟเข้าไปเพียง 1 นาที มีการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างผู้ทดลอง 12 คนในปี 1998 โดยมีการสอดสายตรวจจับการทำงานของลำไส้ลงไปในลำไส้ของผู้รับการทดลอง และในอีก 10 ชั่วโมงวัดถัดมาผู้เข้าร่วมการทดลองได้ดื่มกาแฟร้อนทั้งแบบมีคาเฟอีนและชนิดไม่มีคาเฟอีน รวมถึงทานอาหารปกติ แต่ไม่ได้ทานตามลำดับคือใครอยากทานอะไรก่อนหลังเลือกทานได้เลยตามอัธยาศัย
พบว่ากาแฟทั้งชนิดมีคาเฟอีนปกติและชนิดไม่มีคาเฟอีนรวมถึงอาหารต่างกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ แต่กาแฟที่มีคาเฟอีนกระตุ้นการทำงานของลำไส้มากกว่าน้ำเปล่าถึง 60 เปอร์เซ็นต์และมากกว่ากาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน 23 เปอร์เซ็นต์
อีกการศึกษาหนึ่งก็พบว่า หลังจากผู้ทดลองดื่มกาแฟดำที่ไม่ผสมน้ำตาลเข้าไปภายใน 4 นาทีจะเริ่มมีอาการอยากถ่ายหนักและมีผลต่อเนื่องนาน 30 นาที
การศึกษาเหล่านี้หมายความว่ากาแฟไม่ได้เข้าไปกระตุ้นลำไส้โดยตรงแต่เข้าไปกระตุ้นผ่านกระเพราะอาหาร นั่นคือเมื่อดื่มกาแฟเข้าไปเยื่อบุกระเพาะอาหารจะกระตุ้นให้ระบบประสาทและฮอโมนที่เกี่ยวกับการทำงานของลำไส้เริ่มทำงาน และเมื่อลำไส้ทำงานก็จะส่งอุนจิไปยังลำไส้ตรง และบู้ม!เกิดเป็นโกโก้ครั้นช์
และสารประกอบที่ชื่อ เมลานอยดิน(Melanoidins)ที่ได้จากการคั่วกาแฟมีไฟเบอร์ที่ช่วยในการดูดซึมและป้องกันท้องผูกด้วย
2.กาแฟอาจส่งผลต่อฮอร์โมนและกรดในกระเพราะ
กาแฟช่วยให้หลั่งฮอร์โมนแก๊สทริน(gastrin) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้กระเพราอาหารหลั่งน้ำย่อยอาหารออกมา ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารและกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้
การศึกษาในปี 1986 พบว่าไม่ว่าจะดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนหรือไม่มีก็ตาม ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนแก็สทรินที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
และในการศึกษาในปี 2009 พบว่าหลังจากให้ผู้ทดลองอดอาหารมาทั้งคืนและในวันถัดไปได้แบ่งเป็นสามกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ทานอาหารปกติ
กลุ่มที่ 2 ทานอาหารและดื่มกาแฟ
กลุ่มที่ 3 ดื่มแต่กาแฟ
พบว่าการดื่มกาแฟพร้อมมื้ออาหารช่วยทำให้กระเพราะอาหารย่อยและส่งไปที่ลำไส้เล็กเร็วขึ้น ดร.ไคลน์กล่าวว่า
ต้องมีสารประกอบของกาแฟบางอย่างไปกระตุ้นตัวรับสัญญาณโอปอย(Opiod receptor)ในทางเดินอาหารที่ส่งผลต่อระบบลำไส้แน่ๆ
ดร.ไคลน์
3. จู๊ดๆ เพราะผลิตภัณฑ์จากนมวัวต่างหาก ไม่ใช่กาแฟ
คุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณเป็นคนที่แพ้น้ำตาลแลคโตสที่มากับนมวัวแต่คุณก็ยังสั่งกาแฟพร้อมกับนมและท๊อปด้วยวิปครีม ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้รู้สึกมวลท้องอยากเข้าห้องน้ำ วิธีที่จะรู้ได้คือคุณต้องหยุดดื่มกาแฟใส่นมให้เปลี่ยนเป็นกาแฟดำและเฝ้าสังเกตอาการสักวันสองวันว่าเป็นอย่างไร
ในขณะที่หลายงานวิจัยชี้ว่าการดื่มกาแฟช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น
แต่การดื่มกาแฟเพื่อบังคับให้ร่างกายขับถ่ายของเสียนั้นดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ถ้าคุณมีอาการท้องผูกต่อเนื่องแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ
โฆษณา