Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
17 มิ.ย. 2023 เวลา 02:07 • ท่องเที่ยว
รู้จัก 3 วัดไทยย่าน ‘เมืองเก่าอยุธยา’ ตามรอยลิซ่า BLACKPINK
ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็เกิดกระแสไวรัลไปทำเอาย่านนั้นแตกไปเป็นแถบ ๆ
ล่าสุดลิซ่า BLACKPINK ได้นุ่งผ้าลายไทยถ่ายรูปที่วัดทำเอาแฟน ๆ ต้องแห่ตามไปหาซื้อผ้าถุงเช็คอินวัดในอยุธยากันเพียบ
3 วัดที่ลิซ่าไปเยี่ยมชมถือเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ ตำนาน เรื่องเล่าอยู่คู่กับเราชาวไทยมาอย่างยาวนาน จึงหยิบประวัติศาสตร์เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าในวันนี้
📌 วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุถูกสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว หรือขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อ พ.ศ. 1927
จุดเด่นที่เรียกได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คของวัดคือ ‘เศียรพระพุทธรูปหินทราย’ ลักษณะเป็นเศียรพระพุทธรูปฝังอยู่ตรงลำต้นไม้และมีรากไม้ปกคลุม ถือเป็นความงดงามและน่าประหลาดใจไปในคราเดียว
ปรางค์วัดมหาธาตุถือเป็นปรางค์ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงแรก ๆ ของอยุธยา จากหลักฐานพบว่าในอดีตเป็นปรางค์ที่มีขนาดใหญ่และมีการก่อสร้างอย่างวิจิตรสวยงาม โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้สร้างพระปรางค์เสริมให้สูงขึ้นต่อมามีการผุพังจึงเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2499 มีการขุดพระปรางค์และพบของโบราณหลายชิ้น เช่น ผอบศิลา และภายในมีสถูปซ้อน 7 ชั้น ได้แก่ ชิน เงิน นาค ไม้ดํา ไม้จันทน์แดง แก้วโกเมน และทองคํา โดยชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอันมีค่ามากมาย ในปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุได้ถูกนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
📌 วัดหน้าพระเมรุ
วัดหน้าพระเมรุแต่เดิมชื่อ ‘วัดพระเมรุราชิการม’ ถือเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าเผ่าทำลาย ทำให้คงสภาพสถาปัตยกรรมดั้งเดิมอย่างสมบูรณ์มากที่สุด และเหตุผลของการก่อสร้างวัดนี้ขึ้น คือ เพื่อเป็นสถานที่สำหรับเป็นเมรุถวายพระเพลิงศพของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้น
วัดนี้ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยที่พระเจ้าบุเรงนองเข้ามาทำศึกกับอยุธยาและได้มีการทำสัญญาสงบศึก เมื่อปี พ.ศ. 2106 มีการสร้างที่ประทับไว้ ณ หน้าวัดพระเมรุ พระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช
1
มีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมากสูงประมาณ 6 เมตรหน้าตักกว้างประมาณ 4.40 เมตร
เมื่อเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 โปรดให้มีการซ่อมแซมวัดนี้โดยรักษาแบบที่ดีงามดังเดิมไว้และได้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียว หรือ พระคันธารราฐนั่งห้อยขาสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ในวิหารสรรเพชญ์ (เรียกอีกชื่อว่า วิหารน้อย) นับเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีในประเทศไทย
📌 วัดแม่นางปลื้ม
วัดแม่นางปลื้ม เป็นอีกหนึ่งวัดในอยุธยาที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่ถูกทำลายเพราะเคยเป็นที่ตั้งของทหารพม่าวางปืนใหญ่ยิงเข้าไปในกำแพงพระนคร โดยสถาปัตยกรรมที่สวยงามและเป็นแลนด์มาร์คของที่นี่คือ ‘พระประทานหลวงพ่อขาว’ ที่เป็นองค์สีขาวบริสุทธิ์สวยงาม
ตำนานของวัดแม่นางปลื้ม เริ่มขึ้นในสมัยพระนเรศวรมหาราชว่ากันว่า แม่ปลื้มเป็นชาวบ้านไม่มีลูกหลาน ครั้นนั้นสมเด็จพระนเรศวรพายเรือมาจึงแวะริมน้ำเพื่อหลบฝน แม่นางปลื้มเห็นจึงเชื้อเชิญตอบรับด้วยความมีน้ำใจ
และด้วยบุคลิกของพระนเรศวรที่เสียงดัง แม่ปลื้มจึงได้ตักเตือนว่า ‘ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเสียงดังนักเลย เวลานี้ค่ำมากแล้วเดี๋ยวพระเจ้าแผ่นดินท่านทรงได้ยินจะโกรธเอา’ พระองค์ตรัสกลับว่า อยากดื่มน้ำจันทน์ให้ร่างกายอบอุ่นเพราะหนาวจากฝน แม่ปลื้มจึงกล่าวตักเตือนอีกว่าวันนี้เป็นวันพระ หากดื่มต้องไม่บอกใคร ถ้าพระเจ้าแผ่นดินรู้จะโดนลงโทษเอา พระนเรศวรรับปาก แม่ปลื้มจึงหยิบน้ำจันทน์ให้ดื่ม(เสวย)
1
หลังจากเสด็จกลับวัง พระองค์ได้จัดขบวนมารับแม่ปลื้มไปเลี้ยงในวังเพราะความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เป็นคนใจดีมีเมตตา พอแม่ปลื้มเสียชีวิต พระองค์จัดงานศพให้อย่างสมเกียรติและสร้างวัดให้แม่ปลื้มเพื่อรำลึกถึงนาง นามว่า “วัดแม่นางปลื้ม”
ผู้เรียบเรียง : ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Sources:
●
https://thai.tourismthailand.org/Attraction/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8-3
●
https://ww2.ayutthaya.go.th/travel/detail/9
วัด
ท่องเที่ยวไทย
ลิซ่า
6 บันทึก
21
7
6
21
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย