18 มิ.ย. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา

โกฐเขมา

ตำหรับยาไทย
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Atractylodes lancea (Thunb.) DC.
มีชื่อเรียกอื่นว่า โกฐหอม (ไทย), ชางตุ๊ก ซังตุ๊ก (จีนแต้จิ๋ว), ชางซู่ ชางจู๋ (จีนกลาง)
มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีนและแมนจูเรีย มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 ปี
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา จะใช้เหง้าแห้งค่อนข้างกลม ยาว หรือเป็นรูปทรงกระบอก ผิวเป็นปุ่มปม สีน้ำตาลอมเทา มีรอยย่นและรอยบิดตามขวาง เมื่อฝานหัวออกใหม่ๆจะมีสีขาวมอที่ด้านใน ผิวสีเหลือง เนื้อในมีแต้มสีแสดของชันน้ำมันอยู่ประปรายทั่วไป  มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสหวานอมขมเล็กน้อย และเผ็ดร้อน
สรรพคุณ
        ตามตำหรับยาไทยใช้เหง้าแล้วจะเป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม เป็นยาบำรุง ใช้แก้โรคเข้าข้อ เป็นยาเจริญอาหาร ยาขับปัสสาวะ
ตำหรับยาจีน
ชังจู๋ 苍术 คือ ลำต้นใต้ดินแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Atractylodes lancea (Thunb.) DC. หรือ A. chinensis (DC.) Koidz. วงศ์ Asteraceae (Compositae)
ลักษณะภายนอก
เหมาชังจู๋ (A. lancea) : รูปร่างไม่แน่นอนเป็นปุ่มปมเรียงเป็นสาย โค้งงอเล็กน้อย อาจแตกแขนง ผิวสีน้ำตาลอมเทา เนื้อแข็ง หน้าตัดมีจุดโพรงน้ำมันสีส้มหรือสีแดงอมน้ำตาลกระจายทั่ว และมีผลึกรูปเข็มละเอียดสีขาว  มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสหวานเล็กน้อย เผ็ด ขม
เป่ยชังจู๋ (A. chinensis) : ทรงกระบอกมีปุ่มปม ผิวสีน้ำตาลอมดำ เนื้อไม่แข็ง หน้าตัดมีจุดโพรงน้ำมันสีน้ำตาลอมเหลืองกระจายทั่ว  มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสเผ็ด ขม
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
ห้ามใช้กับผู้ป่วยกลุ่มอาการร้อนเนื่องจากอินพร่อง และผู้ป่วยเหงื่อออกมากเนื่องจากชี่พร่อง
โฆษณา