17 มิ.ย. 2023 เวลา 17:33 • ความคิดเห็น
เอาเป็นว่า
ผมมองว่า “ความอดทน” หรือ “ขันติ” เปรียบเหมือน
muscle memory
คือ มันเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อพัฒนา “กล้ามเนื้อแห่งความอดทน” ให้ “เติบใหญ่” และแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ
1
ตัวอย่างที่ผมเคยเห็นมาจากชีวิตของผู้คนจริงๆ เห็นจะได้แก่
1) “Warren Buffett”
อาจารย์ปู่ Buffett ท่านอดทนรอคอยเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปี
จนมูลค่าหุ้นของกิจการที่ท่านลงทุนไปจะมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างมหาศาล
จนปัจจุบันผมเข้าใจว่ากิจการ
“Berkshire hathaway” ของท่าน เพียงหนึ่งหุ้นมีมูลค่าสูงกว่า 4 แสนเหรียญ USD เลยทีเดียว!
2) “Steve Jobs”
1
เขาเป็น co-founder ของ Apple ซึ่งเป็นกิจการที่ก่อตั้งในโรงจอดรถที่บ้านหลังหนึ่งในแถบ Palo Alto
จนเขาถูกไล่ออกจาก Apple โดยผู้บริหารที่เขาไปเชิญมาทำงานด้วยตัวเอง
มันเป็นความรู้สึกที่ยากจะบรรยาย แต่ SJ ยังคงรักในงานของเขา และในที่สุด Apple ก็เชิญเขากลับไปกอบกู้ชะตาของบริษัทที่เขาร่วมสร้างมาตั้งแต่ต้น
จน Apple กลายเป็นหนึ่งในกิจการที่มีมูลค่าสูงสุดตลอดกาล
จนแม้แต่อาจารย์ปู่ Buffett เองยังอดที่จะไม่ถือหุ้นของ Apple ไม่ได้!
3) “Navy SEALs”
ผู้เข้าร่วมคัดเลือกเพื่อเข้าประจำการเป็นทหารหน่วยสงครามพิเศษหน่วยนี้
ช่วงฝึกคัดเลือก จะมีระยะที่เรียกว่า สัปดาห์นรก หรือ
“Hell week”
คือจะมีการฝึกหนักต่อเนื่อง ประมาณ ห้าคืนหกวัน
1
ผู้เข้ารับการฝึกมีเวลานอนรวมไม่น่าจะเกิน สองชั่วโมงครับ จากจำนวนผู้เข้ารับการฝึกทั้งหมด มีประมาณ 10% ที่ผ่านการคัดเลือก
กว่าที่จะได้รับคัดเลือกเข้าประจำหน่วยนี้ ผู้เข้ารับการฝึกต้องผ่านการทดสอบทั้งร่างกายและจิตใจอย่างถึงที่สุด
ครูฝึกซึ่งเป็น SEALs รุ่นพี่ จะทำทุกวิถีทางเพื่อคัดคนออกให้ได้มากที่สุด โดยที่ถ้ามีคนต้องการลาออกจากการฝึก ก็เพียงแค่ไปสั่นกระดิ่งที่แขวนรอไว้แล้ว หลังจากสั่นกระดิ่งก็จะสิ้นสุดสภาพทันที
1
ทำไมครูฝึกถึงต้องคัดคนออก? คำตอบคือ ภารกิจของทหารหน่วยนี้คือการรบในพื้นที่ข้าศึก หรือ
“การรบนอกแบบ”
(Unconventional Warfare)
เข่น สอดแนม (intelligence gathering) และ ช่วยเหลือตัวประกัน (hostage rescue)
ถ้าระหว่างปฏิบัติหน้าที่ มีใครถอดใจ เช่น บอกว่า แดดร้อนกลัวผิวเสีย, กลัวงู, ไม่ชอบที่มืดๆ, กลัวเสียงปืนเสียงระเบิด ฯลฯ คนประเภทนี้จะไม่มีวันได้หลุดเข้าไปประจำหน่วยได้เลยครับ เพราะถ้าหากหลุดเข้าไปได้จะเป็นอันตรายต่อเพื่อนร่วมทีมและภารกิจ
1
แน่นอนครับว่าผู้ที่ผ่านการฝึก จะต้องชนะใจตัวเองอย่างไม่ต้องสงสัย และเมื่อจบหลักสูตรแล้ว พวกเขาเหล่านั้นจะต้องไป “แข่ง” กับ “ผู้อื่น” ในสนามรบ ที่ผลของการแข่งขันมีแค่
“Winning or Losing”
แต่เป็น
“Living or Dying”
หากปราศจาก “ความอดทนอดกลั้น” แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกคัดเลือกจะไม่สามารถเข้าร่วมหน่วยสงครามพิเศษนี้ได้ เพราะงานที่พวกเขาต้องทำจริงๆในสนามรบนั้น มันยิ่งกว่าคำว่า “อันตราย”
1
• ในทางพระพุทธศาสนา
”ขันติธรรมนำมาซึ่งประโยชน์สุข”
โดย
พระอัครเดช ญาณเตโช
ขันติธรรม คือ ความอดทน ท่านจำแนกไว้ 3 ประการ คือ
ประการที่ 1
อดทนต่อความยากลำบาก หมายความว่า อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดจากความเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะทุกชีวิตที่เกิดมาแล้ว ย่อมไม่พ้นจากความแก่ ความเจ็บ
และความตายไปได้ จำต้องประสบพบกับบุคคลทุกประเภท ไม่ว่าจะยากจน หรือ ร่ำรวยก็ตาม ล้วนแล้วแต่ได้พบด้วยกันทั้งนั้น
3
ประการที่ 2
อดทนต่อความตรากตรำ หมายความว่า อดทนต่อความทุกข์ยากจากการทำงาน เพราะคนทุกคนจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งบุคคลจะได้สิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ก็จะต้องขยันประกอบอาชีพการงาน
แต่ถ้าบุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ประกอบการงาน ก็จะมีความเป็น
อยู่อย่างลำบาก หากมีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้านแล้ว ก็จะหาทรัพย์ได้ ดั่งพุทธพจน์ที่ว่า “บุคคลผู้มีหน้าที่ หมั่นขยันทำสมควร ย่อมหาทรัพย์ได้”
1
ประการที่ 3
อดทนต่อความเจ็บใจ หมายความว่า อดทนต่อความโกรธที่มากระทบกระทั่ง เพราะบุคคลทุกคน จะอยู่คนเดียวลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่คณะ
เป็นครอบครัว ตลอดถึงเป็นประเทศชาติ บุคคลผู้อยู่ร่วมกันเช่นนี้ บางครั้งอาจมีความกระทบกระทั่งกัน ทะเลาะวิวาทบาดหมางกันบ้าง เพราะต่างก็มีกิเลสอยู่ด้วยกันทั้งนั้น
1
ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดความอดทนแล้ว ความทะเลาะวิวาทบาดหมาง ก็จะแตกแยกแผ่ขยายกว้างออกไป จนทำให้เสียหน้าที่การงานได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ประโยชน์สุขก็จะ
ไม่เกิดขึ้น
1
ที่มา:
โฆษณา