18 มิ.ย. 2023 เวลา 07:02 • ประวัติศาสตร์

ความพ่ายแพ้ของเยอรมัน ปฐมบทสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ตอน 2/2

ความเดิมตอนที่แล้ว พูดถึงความพยายามของอังกฤษในการปิดล้อมทางน้ำเยอรมนี เพื่อไม่ให้ลำเลียงอาหารและเชื้อเพลิงเข้าไปได้
ด้านรัสเซียในเวลานั้นก็เปราะบางมาก เจอกับความไม่แน่นอน ทั้งความผันผวนทางการเมืองสูง เจอปัญหาปากท้องประชาชน ทำให้เยอรมนีเอาชนะแนวรบกับรัสเซียได้
ปี 1917 พระเจ้าซาร์ที่ 2 ตกจากบัลลังก์ รัสเซียมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสหภาพโซเวียตผ่านการปฏิวัติ Bolshevil
ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1917 พวกเขาจึงยุติการส่งกำลังบำรุงไปที่แนวรบฝั่งตะวันออกของเยอรมนี และยังละทิ้งสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปเลย
ทำให้ Triple Entente เลยเหลือแค่ 2 ชาติพันธมิตร คืออังกฤษและฝรั่งเศส
ส่วนเยอรมนีก็ยังเดินหน้ารบในสมรภูมิทางตะวันตกอย่างแข็งแกร่ง
แม้อีกสองพันธมิตรคือออสเตรีย-ฮังการีและออตโตมานจะอ่อนกำลังและพร้อมจะพ่ายแพ้ได้ทุกเมื่อ
ขณะที่ฝั่งเยอรมนี มองว่าจะเผด็จศึกได้สมบูรณ์แบบ ต้องมีการเติมกองหนุนไปเสริมแนวหน้า อีก กว่า 1,250,000 นาย
แต่พอดูทะเบียนกำลังทหาร กลับพบว่ามีกำลังของชายหนุ่มที่มีความพร้อมในการเติมเข้าในสนามรบ เต็มที่มีแค่ 250,000 นาย
ระหว่างนั้น สงครามมาเจอหนึ่งในจุดพลิกผันสำคัญ คือ สหรัฐฯ หลังจากวางตัวเป็นกลางมาตลอด
แม้จะเสียกำลังพลไปเยอะ ตอนเรือลูซิทาเนีย เดินทางจากนิวยอร์กไปไอร์แลนด์ ได้อัปปางลงจากการยิงตอร์ปิโดของเรือดำน้ำเยอรมนี ในปี 1915
แต่พอพบว่า เยอรมนีส่งโทรเลขถึงเม็กซิโก เพื่อบุกตอนใต้ของสหรัฐฯ ทั้งที่สหรัฐไม่ได้มีข้อขัดแย้งใดกับเยอรมนี
ทำให้ Woodrow Wilson ประธานาธิบดีสหรัฐฯขณะนั้น เปลี่ยนใจมาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1917
ทำให้ฝ่าย Triple Entente สามารถเติมทหารใหม่เข้าไปในแนวหน้าได้วันละ 10,000 คน
โดยสหรัฐฯ ส่งทหารเข้าไปร่วมรบรวมประมาณ 4 ล้านนาย
ด้านเยอรมนี เจอวิกฤติอาหาร และกำลังสำรองมีไม่พอ เติมเข้าไปในแนวหน้า
เลยต้องแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มสภาพคล่องอย่างเดียว แต่ก็ตามมาด้วยเงินเฟ้อ
ประชากรประสบปัญหารับสารอาหารน้อยกว่าที่เป็น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์และไข่
สุดท้ายสองนายพลคนสำคัญของเยอรมนี รู้ดีว่าหากสงครามยืดเยื้อต่อไป เยอรมนีสาหัสแน่นอน ทางที่ดีที่สุด คือ เจรจายอมแพ้เพื่อให้มีการหยุดยิง
พ.ย.1918 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยื่นคำขาด 14 ข้อ ให้ Central Power ซึ่งตอนนั้นเหลือแค่เยอรมนี
หนึ่งในคำขาดนั้นคือ ให้ Kaiser Wilhelm II สละราชสมบัติ
และให้เจ้าชาย Maximilian of Baden เป็นนายกรัฐมนตรีเฉพาะกิจ​
โดยผู้ที่ลงนามยอมแพ้ คือ รัฐบาลพลเรือนสายสังคมนิยมของเยอรมนี
ทั้งที่ในสนามรบ ก็ยังไม่ได้มีฝ่ายไหนกำชัย
ทำให้บรรดาทหารแนวหน้ายังเชื่อลึกๆ ว่า สู้ต่อไป อาจจะชนะ
แต่พอรัฐบาลเบอร์ลินลงนามยอมแพ้ พวกทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 เลยรู้สึกเหมือนเจอหักหลัง
 
ยิ่งกว่านั้น พอมาเจอการเจรจาสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ในปี 1919 ลงเอยด้วยข้อตกลงที่แสนจะไม่เป็นธรรมต่อเยอรมนี
ทำให้ Matthias Erzberger ซึ่งเป็นผู้นำการเจรจาสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ถูกลอบสังหารในปี 1921
 
คนเยอรมนีก็ไม่พอใจระบอบการปกครองใหม่ของเยอรมนีที่เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย เลยโหยหาผู้นำที่แข็งแกร่ง จนเป็นชนวนไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
จึงเรียกได้ว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นปฐมบทของสงครามครั้งต่อมานั่นเอง
ที่มา : 8 Minute History EP.163
โฆษณา