The Starry Night หรือ ราตรีประดับดาว เป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผลงานชิ้นโบแดงของวินเซนต์ แวนโก๊ะ ท้องฟ้าพลบค่ำที่หมุนวนชวนหลงใหล แต่รู้หรือไม่ว่ามีความลับมากมายที่ซ่อนอยู่ในนั้น
The Starry Night (1889) / รูปภาพจาก vogue.co.th
แวนโก๊ะวาดภาพ The Starry Night ในปี 1889 จากห้องในโรงพยาบาลจิตเวชที่ Saint-Remy ซึ่งกำลังฟื้นตัวจากอาการป่วยทางจิตและถูกตัดหู ถึงแม้เขากำลังพักฟื้นและต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการป่วยทางจิตมาเป็นเวลานาน แต่แวนโก๊ะก็สามารถสร้างผลงานชิ้นเอกนี้ได้
ในหนังสือ Cosmographics ในปี 2015 Michael Benson เชื่อว่าแรงบันดาลใจเบื้องหลังการหมุนวนที่โดดเด่นในท้องฟ้าของ Starry Night ของ Van Gogh คือภาพวาดในปี 1845 โดยนักดาราศาสตร์ William Parsons, Earl of Rosse จาก Whirlpool Galaxy
พระจันทร์และดวงดาวที่ Van Gogh เลือกใช้โทนสีเหลืองในภาพวาด
โทนสีเหลืองในภาพวาดสะท้อนให้เห็นถึงความหวังและความสุข ถึงแม้ว่าแวนโก๊ะจะต้องทนทุกข์ทรมาณกับอาการทางจิตและความเครียดที่สั่งสมมานานพร้องกับความรู้สึกดำดิ่ง แต่ก็ยังแสวงหาอยู่และยังคงไม่หมดความหวัง แนวคิดอีกอย่างหนึ่งของ Paul Wolf อายุรเวชวิทยา ตั้งสมมติฐานในปี 2001 ว่าความชื่นชอบสีเหลืองของศิลปินในภาพวาดอย่างเช่น The Starry Night เป็นผลมาจากการใช้ดิจิทาลิส (Digitalis) มากเกินไป ซึ่งเป็นวิธีรักษาโรคลมบ้าหมูในสมัยนั้น