20 มิ.ย. 2023 เวลา 06:00 • ข่าวรอบโลก

ลาแล้วงานออฟฟิศ คนรุ่นใหม่จีน แห่ทำงานไม่ใช้สมอง ได้เงินน้อย แต่มีความสุข

ส่องปรากฏการณ์คนรุ่นใหม่จีน หางานยาก หรือได้งานแต่ไม่ถูกใจ จนตัดสินใจลาขาดงานนั่งโต๊ะ และหันไปทำงานบริการแทน ถึงรายได้จะไม่สูง แต่มีความสุขที่ได้ทำมากกว่า
2
การทำงานของเหล่ามนุษย์งานรุ่นใหม่ในจีนกำลังเป็นที่พูดถึงในโลกโซเชียลของจีนอย่างมาก สำหรับ#我的体力活初体验 (หว่อเตอะถี่ลี่หัวชูถี่ย่าน) ที่แปลว่า “ประสบการณ์ทำงานครั้งแรกของฉัน” โดยมีผู้เข้าชมคลิปในแฮชแท็กนี้ผ่าน Xiaohongshu (เปรียบเป็น Instagram ของจีน) แล้วกว่า 30 ล้านครั้ง ซึ่งงานเหล่านี้ถูกเรียกว่าเป็น “งานที่ไม่ใช้สมอง”
6
งานจำพวกนี้ล้วนเป็นงานใด ๆ ก็ตามที่ไม่ต้องนั่งอุดอู้ทำงานอยู่ในออฟฟิศ โดยส่วนมากมักจะเป็นงานบริการ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานเสิร์ฟ บาริสต้า ตลอดจนเป็นพนักงานทำความสะอาด
1
อู๋ เสี่ยวกัง ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน กล่าวเสริมว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะเมื่อคุณจบปริญญาแล้ว คุณจะต้องหางานที่ตรงสายกับที่เรียนมา”
2
แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ในปีนี้จะมีอัตราการว่างงานสูงเป็นประวัติการณ์ อย่างน้อย 25% ของ “เด็กจบใหม่” ในระดับปริญญาตรีจะไม่มีงานทำ จนต้องหันไปพึ่ง “การทำงานต่ำระดับ" (Underemployment) ซึ่งเป็นงานที่ไม่ได้โชว์ทักษะและศักยภาพที่พวกเขามี
3
“ตอนนี้เศรษฐกิจของจีนกำลังฟื้นตัว คนรุ่นใหม่จำนวนมากหางานประจำทำไม่ได้ พวกเขาบางคนเลือกเลยเลือกทำงานที่ไม่ใช้ทักษะแบบนี้ไปก่อน เพื่อพยายามหาเลี้ยงตัวเอง” เหมี่ยวกล่าว
1
📌 ไม่อยากเป็นหุ่นยนต์
1
เจีย เหมี่ยว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า “ตอนนี้ ในโลกออนไลน์คนรุ่นใหม่จีนกำลังแชร์ประสบการณ์การหันหลังให้การเป็นพนักงานออฟฟิศ เพราะพวกเขาไม่พอใจในงาน”
ในปัจจุบัน มีคนจำนวนมากที่เรียนจบปริญญาแล้วกลายเป็น "เสี่ยวไป่หลิง" หรือ "พนักงานออฟฟิศตัวเล็ก" โดยคำว่า “ตัวเล็ก” นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงอายุงานของพนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบทบาทหน้าที่ในการทำงานอีกด้วย ทำให้พวกเขาไม่ได้พัฒนาฝีมือและทักษะเท่าที่ควร
2
“เมื่อสังคมของเราเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมานั่งออฟฟิศแทน พวกเขามองว่างานเหล่านี้ไม่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือมีอิสระ เพราะอยู่ต้องทำงานเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา”
2
ด้วยกิจวัตรเหล่านี้ทำให้คนหนุ่มสาวไม่ได้รู้สึกว่าทำงานจริง ๆ แต่พวกเขากำลังถูกแปลงสภาพให้เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกตั้งระบบให้ทำอะไรเดิม ๆ จนเกิดความกลัว และไร้ความหมายในชีวิต
3
“เศรษฐกิจของเราเติบโตและซับซ้อนมากขึ้น ทำให้คนหนุ่มสาวจำนวนมากอาจรู้สึกผิดหวังเกี่ยวกับงานของพวกเขา เพราะมองว่าบริษัทต่าง ๆ ไม่จ้างพวกเขาทำงาน แต่มาเพื่อให้ควบคุมคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน” เหมี่ยวกล่าวเสริม
1
ด้วยการแข่งขันที่สูงและวัฒนธรรม 996 ที่เป็นการทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า จนถึง 3 ทุ่ม และทำงาน 6 วัน ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องใช้พลังงานและแรงจูงใจเป็นอย่างมากในการทำงาน จนหลายคนรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง แม้ว่าได้ทำอาชีพที่สังคมยกย่องและให้เกียรติก็ตาม
2
📌 ค่านิยมการทำงานที่เปลี่ยนไป
ถึงงานออฟฟิศจะทำให้คนหนุ่มสาวรู้สึกไม่เป็นตัวเอง แต่คนรุ่นใหม่ก็ยังหวังจะได้เข้ามหาวิทยาลัยและได้ทำงานในองค์กรชื่อดังที่มีหน้ามีตา เพราะเชื่อว่าจะทำให้พวกเขา “เปลี่ยน” ไปเป็นชนชั้นสูง และได้รับการชื่นชม ให้คุ้มกับความพยายามอย่างหนักและการอดตาหลับขับตานอนเพื่ออ่านหนังสือสอบ
4
ขณะเดียวกัน แม้พวกเขาจะได้งานในฝันแล้ว แต่หลายครั้งกลับ “หมดไฟ” ไปดื้อ ๆ เห็นได้จากเทรนด์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น “Quiet Quitting” และ “Bare Minimum Mondays” ที่เป็นการทำงานเฉพาะที่จำเป็น ไม่หักโหมมากจนเกินไป
2
อีกทั้งในประเทศจีนมีปรากฏการณ์ "ถ่างผิง" ที่คนรุ่นใหม่ปฏิเสธวัฒนธรรมการทำงานหนักเกินไป ปล่อยให้ชีวิตทิ้งไปวัน ๆ
1
เหมี่ยวชี้ให้เห็นว่า ค่านิยมการทำงานที่เปลี่ยนไป เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของจีน
“สำหรับคนรุ่นเก่าแล้ว พวกเขาทำงานภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนเต็มที่ พร้อมความเชื่อว่าการทำงานเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเหลือประเทศ จนกลายเป็นแนวคิดทำงานด้วยความรักชาติ แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป จีนมีรากฐานทางเศรษฐกิจในระดับหนึ่งแล้ว และคนหนุ่มสาวมีความเป็นปัจเจกชนมากขึ้น พวกเขาไม่คิดว่าการช่วยเหลือประเทศจะเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิต”
ด้วยแนวคิดนี้ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคน ตระหนักได้ว่าพวกเขาไม่อยากทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศในองค์กรใหญ่ พวกเขาไม่ได้หวังว่าหน้าที่การงานจะทำให้มีหน้ามีตาในสังคม แต่พวกเขาแสวงหาความสุขในการทำงานมากกว่า
6
📌 อิสระและความยืดหยุ่น นิยามใหม่ในการทำงาน
1
สิ่งที่ทำให้คนรุ่นใหม่หนีจากงานประจำมาทำงานบริการ (Light Labor) กันมากขึ้น เพราะพวกเขามี “อิสระและความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น” แต่ต้องแลกมากับความมั่นคงของงานและรายได้ที่ลดลง จนหลายคนจำเป็นต้องให้พ่อแม่ช่วยสนับสนุนทางการเงินอยู่บ้าง
อีกทั้งการทำงานบริการมักจะมาพร้อมกับคำครหาว่า “เรียนจบตั้งสูง แต่ทำไมมาทำงานที่คนจบมัธยม หรือประถมก็ทำได้ ?” และมักถูกมองว่าเป็นการที่ไม่มีเกียรติ ทั้งที่งานเหล่านี้ก็มีเกียรติ มีคุณค่า เป็นหนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นกัน แถมสร้างความสุขให้แก่ลูกค้าอีกด้วย
3
เมื่อคนรุ่นใหม่คำนึงถึงความสุขในการทำงานเป็นหลัก พวกเขาจึงไม่จำเป็นจะต้องทนอยู่กับงานที่ทำแล้วไม่มีความสุข แม้ว่ารายได้จะน้อยลง แต่ถ้ามีความสุขเพิ่มขึ้น พวกเขาก็พร้อมที่จะแลก
8
อ้างอิง: https://tinyurl.com/yc38s2u9
โฆษณา