2 ก.ค. 2023 เวลา 02:00 • บ้าน & สวน

บ้านทาวน์โฮมและตึกแถว รีโนเวตใหม่อย่างไรให้อยู่สบาย กับแนวคิดน่าสนใจ ดังนี้

หลาย ๆ คนอาจไม่ชอบใจนักกับปัญหาบ้านแคบ มีช่องระบายลม และแสงน้อย ทำให้อุดอู้ ร้อน อยู่แล้วไม่สบาย จึงขอนำเสนอแนวคิดการรีโนเวตบ้านตึกแถวและทาวน์โฮมช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ทันสมัยให้แก่ผู้อยู่อาศัย สร้างทั้งสภาวะน่าสบาย และคุณภาพชีวิตที่ดี
1
เช่น การสร้างบรรยากาศให้เหมือนอยู่ในบ้านเดี่ยว วิธีการเพิ่มปริมาณแสงธรรมชาติ และการหมุนเวียนอากาศ เพิ่มพื้นที่แนวตั้ง สร้างสรรค์เปลือกอาคารให้แตกต่างทันสมัย ฯลฯ ถึงแม้เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องอยู่ในบ้านขนาดจำกัด แต่ใช่ว่าจะถูกจำกัดความสุข ลองมาดูแนวทางการออกแบบเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดด้านพื้นที่ เสกบรรยากาศบ้านใหม่ให้ดีกว่าเก่ากันเถอะ
1
เปลี่ยนเปลือกอาคารให้ร่วมสมัย
เนื่องจากตัวบ้านทาวน์เฮ้าส์มักจะเป็นอาคารที่มีหน้าตาและผังอาคารเหมือนกันหมด นอกเหนือไปจากการปรังปรุงพื้นที่ภายในแล้ว การปรับเปลี่ยนเปลือกอาคารใหม่ก็ช่วยสะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้าน ทั้งยังมีประโยชน์ด้านการเปิดรับลมและกรองแสงธรรมชาติ ทั้งนี้ควรเลือกใช้วัสดุให้มีความกลมกลืนไปกับบริบทท้องถิ่น ตอบโจทย์การใช้งานก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
บริเวณระเบียงอาคารเดิมได้รับการออกแบบเปลือกอาคารใหม่มีลักษณะเป็นบานเฟี้ยมที่สามารถเปิด-ปิด ได้ ไม่ว่าจะเปิดมุมมองสู่ภายนอก หรือเปิดเพื่อกรองแสงและเพิ่มความปลอดภัย
ออกแบบ : Jeff Weng จาก 2BOOKS design (www.2booksdesign.com.tw)
ภาพ : Millspace & Workparpress
ผนังคอนกรีตหน้าบ้าน ซ่อนทางเข้าไว้เบื้องหลัง ไอเดียจากบ้านทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น สุดเท่ ที่ขอแตกต่างจากเพื่อนบ้าน ด้วยการออกแยยผนังคอนกรีตด้านหน้าบ้าน สูง 3.80 เมตร ตั้งตระหง่านด้วยจงใจแอบซ่อนทางเข้าไว้ด้านหลัง กระตุ้นและดึงดูดความสนใจให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมา
ออกแบบ : Raymond Boedi จาก byrayboedi
ภาพ : Raymond Boedi
บ้านสีขาวกับเปลือกอาคารเรียบง่าย เน้นความปลอดโปร่งเรียบง่ายทว่าอบอุ่น ด้วยการใช้สีขาว และไม้ เสริมด้วยแผงอะลูมิเนียมกล่องเพื่อช่วยเรื่องการกรองแสง และบดบังสายตาจากด้านนอก กลายมาเป็นเปลือกอาคารที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของบ้านไปโดยปริยาย
ออกแบบ : Design In Motion
ภาพ : ศุภกร
1
เพิ่มปริมาณแสงธรรมชาติ และการหมุนเวียนอากาศ
ทาวน์เฮ้าส์ยุคเก่ามักมีการวางผังอาคารให้มีพื้นที่ใช้สอยมากที่สุด จึงทำให้มีบรรยากาศที่อึดอัดและทึบตัน ขาดช่องเปิดขนาดใหญ่ การพยายามนำแสงธรรมชาติเข้ามาภายในอาคารจึงเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากนี้การหมุนเวียนอากาศเพื่อเปลี่ยนอากาศในห้องออกไป เพื่อให้อากาศจากภายนอกเข้ามาแทนที่ ยังช่วยสร้างสภาวะน่าสบายให้กับผู้อยู่อาศัย เห็นได้จากการออกแบบให้มีโถงกลางบ้านใต้หลังคาสกายไลท์ หรือการปรับช่องเปิดด้านหน้า และหลังอาคารให้เกิดการพัดผ่านของกระแสลม
2
พื้นที่รับประทานอาหารและครัว ได้รับแสงธรรมชาติตลอดวันจากสกายไลต์ด้านบน
ไอเดียนี้มาจากบ้านตึกแถวขนาด 3 ชั้น ที่ผู้ออกแบบเน้นเพิ่มแสงธรรมชาติให้ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในบ้านมากที่สุด ด้วยการเจาะพื้นชั้น 3 ทะลุลงไปสู่โถงทางเข้าบ้านชั้น 1 ทำให้แสงจากช่องหลังคาสกายไลต์ส่องสว่างลงมาถึงทุกส่วนของบ้าน
ออกแบบ : Kuan-huan Liu / Chun-ta Tsao จาก KC design studio
ภาพ : SAM
ตัวบ้านชั้น 2 แบ่งออกเป็นสองฝั่ง ทำให้เกิดคอร์ตกลางใต้หลังคาสกายไลต์กลางบ้าน โดยพื้นที่ใช้สอยบนชั้น 2 แบ่งออกเป็นสองฝั่ง แต่ละด้านมีระเบียงที่เชื่อมต่อกับสเปซเปิดโล่งตรงกลาง ด้านบนติดตั้งหลังคาสกายไลต์ ช่วยให้บ้านโปร่งโล่งตลอดวัน
ออกแบบ : CTA | Creative Architect (http://ctacta.com.vn/)
ภาพ : Hiroyuki Oki
แบ่งส่วนใช้งานเป็นสองฝั่ง ซึ่งการแยกตัวอาคารออกจากกันนี้ทำให้เกิดคอร์ตกลางใต้หลังคาสกายไลท์กลางบ้าน เป็นช่องว่างที่ช่วยหมุนเวียนอากาศและใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาทั่วถึงทุกพื้นที่
ออกแบบ : CTA | Creative Architect (http://ctacta.com.vn/)
ภาพ : Hiroyuki Oki
สร้างบรรยากาศบ้านเดี่ยว
บ้านหน้าแคบที่ใช้โครงสร้างร่วมกับบ้านข้างเคียงมักทำให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความรู้สึกอึดอัดไม่เป็นส่วนตัว การออกแบบผังพื้นที่ใช้สอยใหม่ให้มีทางเดินด้านข้างก็เป็นการถอยร่นพื้นที่ใช้สอย เพื่อให้เกิดพื้นที่กันชนระหว่างพื้นที่ภายนอกและพื้นที่ส่วนตัว สร้างความรู้สึกโปร่งโล่งเหมือนบ้านเดี่ยวได้มากขึ้น
เพิ่มทางเดินข้างบ้านในบ้านทาวน์เฮ้าส์ ให้ความรู้สึกคล้ายบ้านเดี่ยว
1
บ้านนี้ได้นำเสนออีกหนึ่งความเป็นไปได้ในการทลายข้อจำกัดเดิมของบ้านทาวน์เฮ้าส์ การจัดสรรพื้นที่ภายในใหม่และสร้างพื้นที่รอบบ้านที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอกของอาคารช่วยสร้างความแตกต่างและประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ตอบรับกับวิถีชีวิตยุคใหม่อย่างลงตัวมากขึ้น
ออกแบบ : คุณสิระกิจ เจริญกิจพิสุทธิ์ และคุณสินีนาฏ สัพทานนท์ จาก OAAS
ภาพ : คุณณัฐกิต จีรพัฒน์ไมตรี
เพิ่มพื้นที่แนวตั้ง
ด้วยพื้นที่จำกัด บ้างครั้งบ้านก็ไม่ตอบโจทย์ครอบครัวขยาย การเพิ่มพื้นที่แนวตั้งจึงเป็นอีกหนึ่งความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม ไม้ว่าจะเป็นการต่อเติมชั้นลอยภายในอาคาร หรือการต่อเติมโครงสร้างอาคารเพื่อเพิ่มชั้น ซึ่งต้องมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารตามกฎหมาย
ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเสาและคานเดิม แล้วเพิ่มความสูงเล็กน้อยเพื่อนำแสงและลมเข้าบ้าน
บ้านหลังนี้มีพื้นที่ใต้หลังคามากถึง 2 เมตร จึงสามารถเสริมโครงสร้างเพื่อเพิ่มความสูงหลังคาได้อีกเล็กน้อย ให้สามารถแทรกพื้นที่ใช้สอยแบบชั้นลอยขึ้นไปได้อีก ทำให้พื้นที่ตรงนี้กลางเป็นโถงดับเบิลสเปซบนชั้น 2 ซึ่งเกิดจากการขโมยพื้นที่ใต้หลังคาเดิม ทั้งนี้สถาปนิกจพเป็นต้องปรึกษาวิศวกรเพื่อความแน่ใจก่อนออกแบบด้วย
ออกแบบ : Design In Motion
ภาพ : ศุภกร
เจาะพื้นเพื่อเชื่อมต่อสเปซแต่ละชั้น เห็นชัดตรงพื้นที่นั่งเล่นด้านหน้าบ้าน โดยทำการทุบพื้นชั้น 2 ออก เพื่อสร้างโถงแบบดับเบิลสเปซเพื่อช่วยเพิ่มสเปซความโปร่งโล่งให้แก่ส่วนต้อนรับ นอกจากนี้ยังเจาะพื้นชั้น 2 เพิ่มเติมตรงโถงบันได เหมือนเป็นการสร้างปล่องอากาศกลางบ้านให้มีที่ว่างมากขึ้น
ออกแบบ : MAKE It POP Co.,Ltd.
ภาพ : FANGBakii (Apinine Thassanopas)
1
ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในบ้าน
บ้านตึกแถวและทาวน์เฮ้าส์มักพยายามสร้างพื้นที่ใช้สอยในแต่ละชั้นให้มากที่สุด จึงเกิดการแบ่งแยกพื้นที่แต่ละชั้นอย่างเด็ดขาด แต่หากมีการตัดทอนโครงสร้างพื้น-เพดานภายในใหม่ให้เกิดช่องว่างภายในอาคาร ก็จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อของสเปซทางแนวตั้ง สมาชิกภายในบ้านสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังมีพื้นที่ส่วนตัวอยู่
เชื่อมการมองเห็นกับส่วนอื่นของบ้าน ผ่านช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมระหว่างห้อง
บ้านที่นำเสนอแนวคิดของการออกแบบ “ช่อง” ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัย ทั้งในแง่กายภาพที่ช่วยให้อากาศหมุนเวียนดี เปิดรับแสงธรรมชาติ สร้างขอบเขตให้ฟังก์ชันการใช้งานให้ดูเป็นสัดส่วน หรือในแง่การสร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวผ่านการเชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกันทั้งในแกนตั้งและแกนนอน และเป็นตัวกลางที่เชื่อมช่องว่างระหว่างเจเนอเรชั่นให้ผู้อยู่อาศัยได้อย่างสมบูรณ์
ออกแบบ : Studionomad
ภาพ : Supee Juntranggur
มีเฟรมหน้าต่างไม้ทรงสี่เหลี่ยมอยู่ที่ชั้น 2 ทำหน้าที่เชื่อมต่อมุมมองระหว่างชั้นบนและชั้นล่าง ทำให้สมาชิกในบ้านสามารถมองเห็นกันและกันได้ นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์เป็นช่องแสง ช่วยให้บ้านไม่มืดทึบได้อย่างดี
ออกแบบ : Studionomad
ภาพ : Supee Juntranggur
สร้างสภาพแวดล้อมภายในใหม่ด้วยพื้นที่สีเขียว
สำหรับบ้านตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ที่มีพื้นที่ด้านหน้าและก้านหลังอาคารไม่มากนัก ประกอบกับบริบทโดยรอบไม่มีทัศนียภาพที่ดี บ้านหลายหลังจึงออกแบบพื้นที่ปิดล้อมเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว และสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นภายใน แทนการเปิดสู่ภายนอก อาทิ การออกแบบที่สอดแทรกพื้นที่สีเขียวไว้ภายในอาคาร หรือดาดฟ้า
ออกแบบให้มีชานกึ่งกลางแจ้งด้านหน้าบ้าน ใช้วิธีเจาะพื้นให้เป็นช่องเปิดรับแสงธรรมชาติจากชั้น 3 ทะลุลงไปสู่โถงทางเข้าชั้น 1 และ 2 ปูพื้นไม้เป็นที่นั่งเล่น และสวนเล็ก ๆ ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้าน
ออกแบบ : Kuan-huan Liu / Chun-ta Tsao จาก KC design studio
ภาพ : SAM
เมื่อเปิดประตูเข้าสู่ตัวบ้านจะพบกับพื้นที่กึ่งกลางแจ้งที่ผู้ออกแบบเรียกว่า “ศาลา” พื้นที่ส่วนนี้เปรียบเสมือนส่วนหน้าบ้าน หากแต่อยู่ในพื้นที่ส่วนตัว สามารถเปิดเชื่อมโยงกับมุมนั่งเล่นและส่วนรับประทานอาหาร เพื่อสร้างบรรยากาศคล้ายการนั่งในสวนให้กับบ้านทาวน์เฮ้าส์
ออกแบบ : คุณสิระกิจ เจริญกิจพิสุทธิ์ และคุณสินีนาฏ สัพทานนท์ จาก OAAS
ภาพ : คุณณัฐกิต จีรพัฒน์ไมตรี
ออกแบบพื้นที่สวนเล็ก ๆ เป็นช่องว่างเชื่อมต่อจากชั้น 1 ถึงชั้น 2
เพิ่มพื้นที่สวนเล็ก ๆ ในบ้าน ด้วยการคว้านพื้นที่ออกเล็กน้อยให้ความรู้สึกว่าบ้านโปร่งขึ้น โดยสวนเล็ก ๆ นี้มีลักษณะเป็นช่องว่างข้างกำแพงเชื่อมต่อความสูงจากชั้น 1 ถึงชั้น 2 ด้านบนติดแผงไฟแอลอีดีเพื่อให้ความสว่างแก่ต้นไม้ และเป้นเสมือนช่องแสงให้ความสว่างแก่บ้าน
ออกแบบ : MAKE It POP Co.,Ltd.
ภาพ : FANGBakii (Apinine Thassanopas)
มุมรับประทานอาหารมองเห็นคอร์ตสวนสีเขียวหลังบ้าน
มุมมองจากห้องรับแขกชั้น 1 โปร่งทะลุผ่านมุมรับประทานอาหารไปยังคอร์ตสวนด้านหลัง มองเห็นวิวสวนสีเขียวรับกับสายตาตั้งแต่เดินเข้ามาในบ้าน
1
ออกแบบ : Studionomad
ภาพ : Supee Juntranggur
หากสนใจความรู้และแรงบันดาลใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรีโนเวตตึกแถวและทาวน์โฮม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ Shophouse & Townhome - บ้านตึกแถวและทาวน์โฮม ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
คลังสาระความรู้เรื่องบ้านและพรรณไม้ยังมีอีกมากมาย อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ www.baanlaesuan.com
โฆษณา