19 มิ.ย. 2023 เวลา 06:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

พบสารองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ของดาวเสาร์

ดวงจันทร์เอนเซลาดัสเป็นหนึ่งในดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ ความพิเศษของดวงจันทร์ที่ห่างไกลนี้คือผืนผิวซึ่งปกคลุมด้วยน้ำแข็งซึ่งเบื้องล่างคือมหาสมุทรขนาดยักษ์ที่ปกคลุมตลอดทั้งดาว
แฟรงค์ โพสต์เบิร์ก หัวหน้าทีมวิจัยได้ออกมาเปิดเผยว่าภายในมหาสมุทรใต้แผ่นน้ำแข็งของดวงจันทร์เอนเซลาดัสเต็มไปด้วยฟอสเฟตละลายอยู่เป็นจำนวนมาก ถือเป็นการค้นพบฟอสเฟตครั้งแรกในมหาสมุทรอื่นนอกจากโลก โดยฟอสเฟตนี้ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสารพันธุกรรมและการสร้างเยื้อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
โดยในธาตุที่สำคัญต่อการกำเนิดชีวิต ฟอสเฟตถือเป็นธาตุที่พบได้ยากในมหาสมุทรที่ดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์อื่นเนื่องจากฟอสเฟตทำปฎิกิริยากับธาตุอื่นเช่นแคลเซียมกลายเป็นแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งกักเก็บฟอสฟอรัสทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานถึงสาเหตุที่พบฟอสเฟตในเอนเซลาดัสว่าเกิดจากอันตกิริยานะหว่างคาร์บอนเนตกับหินใจกลางดาวเกิดเป็นทะเลโซดาที่กัดกร่อนและทำให้ฟอสเฟตสามารถละลายอยู่ภายในมหาสมุทรของดวงจันทร์ได้
อย่างไรก็ตามการค้นพบครั้งนี้ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันถึงการมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกแต่เป็นการพบสารประกอบสำคัญในการกำเนิดชีวิตที่นอกเหนือจากดาวโลก ซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษาต่อไปว่าเราสามารถพบธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตบนดาวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้หรือไม่ หากเราพบในดาวดวงอื่น ๆ นี้อาจเป็นคุณสมบัติทั่วไปที่พบได้และจำเป็นต้องมีองค์ประกอบอื่นนอกจากธาตุหลักทั้ง 6 (คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน กำมะถันและฟอสเฟต) ในการให้กำเนิดชีวิต
ลินดา สปีกเกอร์กล่าวว่า การค้นพบนี้นำพามาสู่การจุดประกายและกำหนดทิศทางในการตามหาชีวิตนอกโลกซึ่งการเดินทางในอนาคตจะเป็นตัวตอบคำถามนี้
ติดตาม The Principiaได้ในทุกช่องทางออนไลน์ หรือ
ติดต่อโฆษณาได้ที่ theprincipia2021@gmail.com หรือโทร 0647711333
โฆษณา