20 มิ.ย. 2023 เวลา 04:01 • การศึกษา

บรรดาศักดิ์ขุนนางไทยในสมัยก่อน

ดูละครซีรี่ย์ย้อนยุคที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยมาหลายเรื่อง ซึ่งมักจะกล่าวถึงบรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยสมัยก่อน เลยเกิดความสงสัยจึงไปศึกษาค้นคว้ามา และเอามาเล่าขานแบ่งปันกันต่อครับ
บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยสมัยก่อน แบ่งออกได้เป็น 8 ระดับ
1. เจ้าพระยา เทียบข้าราชการระดับ 11 
2. พระยา เทียบข้าราชการระดับ 9 หรือ 10 
3. พระ หรือ จมื่น เทียบข้าราชการระดับ 7 หรือ 8 
4. หลวง เทียบข้าราชการระดับ 5 หรือ 6
5. ขุน เทียบข้าราชการระดับ 3 หรือ 4 
6. หมื่น เทียบข้าราชการระดับ 2
7. พัน เทียบข้าราชการระดับ 2
8. นาย หรือ หมู่ เทียบข้าราชการระดับ 1
บรรดาศักดิ์ จมื่น หรือ พระนาย นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ หัวหน้ามหาดเล็ก ในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1000 ไร่ เทียบได้เท่ากับ บรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นนั้นได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักจะมีอายุยังน้อย อยู่ในระหว่าง 20-30 ปี มักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด พระเจ้าแผ่นดิน และเป็นช่องทางเข้ารับราชการต่อไปในอนาคต
ส่วนคำว่า 'ออก' ที่เติมหน้า บรรดาศักดิ์สมัยโบราณนั้น เช่น ออกญา ออกขุน ออกหลวง นั้น มักเป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า
บรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยา” มีแค่ 2 คน ทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่สูงที่สุดในสมัยอยุธยา(มีบรรดาศักดิ์”สมเด็จเจ้าพระยา” ในสมัยรัตนโกสินทร์ที่สูงกว่านี้อีก)
1. “สมุหนายก” มีฐานะเป็น”เจ้าพระยาสมุหนายก” อัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ และ กับกำดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
2. “สมุหพระกลาโหม” มีฐานะเป็น”เจ้าพระยาสมุหพระกลาโหม” อัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ และกับกำดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
บรรดาศักดิ์ ของขุนนางไทย จะต้องเทียบกันด้วยระบบศักดินา
บรรดาศักดิ์ของ ขุนนางไทย มีความแตกต่างกับตะวันตก เนื่องจากระบบที่แตกต่างกัน ขุนนางตะวันตกเป็นขุนนางสืบตระกูล และไม่ใช่ข้าราชการ แม้ว่าขุนนางบางคนรับราชการ แต่ขุนนางไทยเป็นข้าราชการ และตำแหน่งขุนนางผูกพันกับระบบราชการ
โฆษณา