20 มิ.ย. 2023 เวลา 04:12 • การเมือง

ชื่อบทความ:

· ประยุทธ์กับการรับราชการทหาร และขึ้นแท่นสู่นายกรัฐมนตรี
ข้อความดึงดูด (ข้อความสั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ ที่ดึงดูดความสนใจให้ผู้อ่านอยากเข้ามาอ่านบทความ):
· จากผู้รับราชการทหารสู่ผู้รับบทบาททางการเมือง
เนื้อหาทั้งหมดของบทความ:
ประยุทธ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ณ ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู ป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน ประยุทธ์รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
การศึกษา
พ.ศ. 2514 – โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 พ.ศ. 2519 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 พ.ศ. 2519 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51
พ.ศ. 2524 – หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34 พ.ศ. 2528 – หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63 พ.ศ. 2550 – หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.) พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.) พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.) พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาคที่ 1 (มทภ. 1 ) พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.) พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการการทหารบก (ผบ.ทบ.) พ.ศ. 2557 – หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2562)
·
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เขาประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร อีก 2 วันต่อมาเขาก่อรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ต่อมาวันที่ 26 พฤษภาคม มีพิธีสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช.
หลังรัฐประหาร เขาแต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ และเป็นกรรมการโดยตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติให้พลเอก ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์เป็นนายทหารอาชีพคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีนับแต่พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549
เดือนกันยายน 2557 เขาลงนามแก้ไขข้อกำหนดคุมวินัยผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยผ่อนคลายระเบียบเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เขายังเสนอ "ค่านิยม 12 ประการ"
ส่งเสริมความคิดเรื่องความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน กตัญญู หาความรู้ รักษาประเพณีไทย มีวินัย
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เขาประกาศว่าเขามีอำนาจปิดสื่อในเดือนมีนาคม เขาขู่ประหารชีวิตนักหนังสือพิมพ์ที่ "ไม่รายงานความจริง"ความเห็นของเขาพลันถูกสหพันธ์นักหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศประณาม วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 เขายกเลิกกฎอัยการศึก] จากนั้นเขาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ในการดูแลความสงบเรียบร้อยแทน
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเป็นเอกฉันท์ 191 เสียงจากสมาชิกในที่ประชุม 194 คน ลงมติให้พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 และดำรงตำแหน่งได้ 5 ปี ล่าสุด วันที่ 6 มิ.ย. 62 จากผลโหวตของสมาชิกรัฐสภา
ปรากฏว่า พลเอก ประยุทธ์ ชนะ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ด้วยคะแนน 500 ต่อ 244 ทำให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ของประเทศ อีกครั้ง
โฆษณา