Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Neurobalance ศูนย์ให้บริการฟื้นฟูสุขภาพ
•
ติดตาม
23 มิ.ย. 2023 เวลา 23:00 • สุขภาพ
📌ฉันเป็นแพนิค หรือเปล่านะ ? 😰😰
ความรู้สึกใจหายวูบเหมือนตกจากที่สูง และกลัวมากๆ เหมือนหัวใจจะหยุดเต้น ในจังหวะนั้น ความคิดของตัวเองก็บอกว่าตัวเองต้องตายแน่ๆ แน่นหน้าอก หายใจตื้น เรียกได้ว่ามันไม่โอเคเลยล่ะ 😥
“แพนิก” เป็น 1 ใน 5 ของโรคจิตเวชซึ่งอยู่ในกลุ่ม “โรควิตกกังวล” มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นแพนิกและเผชิญกับความรู้สึกที่ตัวเองไม่เข้าใจไม่ค่อยรู้จัก และสับสนกับอาการของแพนิกนี้ด้วย
“แพนิค” บางคนอาจเรียกว่า “อาการตื่นตระหนก อาการหัวใจอ่อน อาการหัวใจไหว หรืออาการประสาทลงหัวใจ” แต่จริงๆ แล้วอาการเหล่านี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจและไม่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่เป็นอาการเจ็บป่วยจริงๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีสื่อประสาทในสมอง 🧠
อาการแพนิกจะเกิดขึ้นบ่อยๆ และคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน แต่หลังจากอาการแพนิกหายไป“ความกังวล”ว่าจะเป็นแพนิก อีกก็จะตามมา หรือ “กลัว” ผลที่ตามมาจากอาการแพนิกรวมถึงต้องการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอาการได้อีกเช่น ไม่กล้าขับรถไปไหนคนเดียว หรือ ไม่กล้าอยู่บ้านคนเดียว
ใครที่สงสัยว่าตัวเองเป็นแพนิกควรต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ เพื่อค้นหาโรคทางด้านร่างกายที่อาจจะเป็นสาเหตุให้มีอาการคล้ายๆ แพนิก เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ การเจาะเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ และ
📍เช็คอาการเบื้องต้นได้ตามนี้
1.รู้สึกอ่อนแรง ตัวเบาหวิว วูบวาบจะเป็นลม เหงื่อออก ตัวสั่น รู้สึกเย็นหรือชาตามมือและเท้า
2.มีความรู้สึกกลัว วิตกกังวล กระวนกระวายใจ ตื่นตระหนกตกใจขึ้นมาทันทีทันใดโดยไม่มีสาเหตุ
3.วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อยากอาเจียน ปวดมวนท้อง รู้สึกอึดอัดจนขยับตัว แขน ขาได้ลำบาก
4.มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หายใจไม่ทั่วท้อง ร่วมกับอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง รู้สึกวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคหัวใจหรือหัวใจวาย รู้สึกกลัวสุดขีดว่าตัวเองกำลังจะตาย
5.มีระยะเวลาการเกิดอาการโดยประมาณตั้งแต่ 10-30 นาที และสามารถเกิดขึ้นซ้ำอีกเมื่อไรก็ได้
6.เกิดความรู้สึกกลัวและวิตกกังวลว่าจะมีอาการขึ้นอีก จึงพยายามหาสาเหตุจนทำให้กลัวและพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นสาเหตุ เช่น การขับรถ การขึ้นลิฟต์
7.เกิดความรู้สึกกลัวและวิตกกังวลมากขึ้น เมื่อไม่สามารถหาได้ว่าอาการเกิดจากอะไร ยิ่งรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง ตกอยู่ในภาวะหดหู่และซึมเศร้า
📍การดูแลและวิธีรับมือกับ”อาการแพนิก”
1.หากมีอาการดังที่กล่าวมาและเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหรือไม่แน่ใจว่าเป็นแพนิกหรือไม่ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
2.ควรตั้งสติ แม้ว่าความวิตกกังวล ความหวาดกลัวจะเกิดขึ้นได้อย่างไม่มีสาเหตุ เพราะบางครั้งมันก็เป็นเหตุไปกระตุ้นทำให้อาการกำเริบได้ พยายามตั้งสติ อย่าตกใจ อย่าคิดว่าจะป่วยหนักหรือทำให้เสียชีวิต เพราะจะทำให้เกิดความเครียดมากขึ้น ให้เริ่มจากการนั่งพัก จากนั้นให้หายใจเข้าออกช้า ๆ ลึก ๆ ยาวๆ เหมือนเรานั่งสมาธิอยู่ แล้วอาการจะดีขึ้น ภายใน 10 - 20 นาที หรือจะทานยาที่แพทย์ไห้ไว้สำหรับเวลามีอาการร่วมด้วยก็ได้
3.ออกกำลังกาย ช่วยทำให้หัวใจและปอดทำงานได้อย่างสมดุลยิ่งขึ้น
4.พักผ่อนให้เพียงพอเพราะการนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้อาการกำเริบได้ง่าย
5.หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล ถ้าหากเราหาสาเหตุได้ก็สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดนี้ได้ หรือการได้ปรึกษา หรือ ระบายปัญหาต่างๆ กับคนที่เราไว้ใจได้ หรือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีรับมือกับอาการแพนิกได้
6.ลดความกังวลด้วยการเปลี่ยนจุดโฟกัส เป็นวิธีที่จะช่วยลดความตื่นตระหนกและความวิตกกังวลได้ดี การลดความกดดันด้วยการเปลี่ยนจุดโฟกัส เบี่ยงเบนความสนใจของตนเองไปสู่เรื่องอื่นที่ดีต่อใจ มากกว่า
7.ฝึกการผ่อนคลายความเครียด อย่างสม่ำเสมอซึ่งมีหลายวิธี เช่น ฝึกนั่งสมาธิ เดินจงกลม การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลาย เล่นโยคะ รวมไปถึงการทำงานอดิเรกต่างๆ
อาการแพนิกถ้าได้รับการรักษาทางจิตใจแล้วร่างกายก็ดีขึ้นได้ แต่หากกลับไปอยู่ในสภาวะที่ทำให้เราติดลบอีกครั้งก็จะทำให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าอาการได้รับการรักษาหายขาดแล้วก็ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะดูแลตัวเองได้ดีแค่ไหนเท่านั้นเอง
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #Healthwellness #Family #OCD #Stress #Anxiety #Depression #Sleeping #Panic #นูโรบาลานซ์ #นิวโรบาลานซ์ #นูโรฟีดแบค #นิวโรฟีดแบค #ไบโอฟีดแบค #วิตกกังวล #แพนิค #ซึมเศร้า #อารมณ์รุนแรง #เครียด #การนอนหลับ
📍กลุ่มอาการที่สามารถพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่
>>ย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
https://bit.ly/3GfXGze
>> ภาวะซึมเศร้า (Depression)
https://bit.ly/3y237gO
>> วิตกกังวล (Anxiety)
https://bit.ly/3yq3d3u
>> เครียด (Stress)
https://bit.ly/3o8SqoI
>> นอนไม่หลับ (Insomnia)
https://bit.ly/3nkIY0L
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรี และตรวจประเมิน
การทำงานของสมองโดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่
ศูนย์ Neurobalance
ช่องทางการติดต่อ
☎ โทร : 02-245-4227 / 097-429-1546
Line : @neurobalance หรือ
https://line.me/R/ti/p/@neurobalance
เว็บไซต์ :
www.neurobalanceasia.com
📅 ทำการนัดหมายออนไลน์
https://www.neurobalanceasia.com/appointment-2/1
แพนิค
สมอง
ครอบครัว
2 บันทึก
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย