22 มิ.ย. 2023 เวลา 03:29 • ความคิดเห็น
กรอบแนวคิด( Paradigm) ภาษาศัพท์ทางบริหารส่วนใหญ่ นักวิชาการ คนที่เรียกตนเองว่าเป็นนักวิชาการ หรือคนอื่นเรียกก็ตาม ใช้คำนี้เพื่อวางกรอบ ตีกรอบ วางหลัก
ทฤษฎี ในเรื่องต่างๆไว้ครอบคลุม เรื่องต่างๆที่เรียกบริบทContext ขึ้นอยู่กับบริบท
เรื่องใด สิ่งแวดล้อม การเมือง สังคม เทคโนโลยี ลูกค้า องค์กร หรืออะไรที่กำลังทำความเข้าใจ บริบทมีทั้ง บริบทภายในและภายนอก ควบคุมได้ไม่ได้
คนคิดนอกกรอบ ไม่คิดในกรอบ ก็อาจเป็นคนกลุ่มหนึ่ง บุคคลหนึ่งที่พยายาม
ออกนอกความคิดที่ถูกตีกรอบและเป็นที่ยอมรับมานาน เพื่อค้นหากรอบแนวคิดใหม่ๆก็เป็นได้ คิดในกรอบก็เทียบเคียงจากทฤษฎีความเชื่อความเข้าใจที่คิดไว้แล้วมาอธิบาย
คิดนอกกรอบต้องให้หลุดพ้นกรอบเดิมเพื่อพิสูจน์ให้เกิดความเข้าใจ ในเหตุและผลใหม่ซึ่งต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ประจักษ์ว่าเป็นจริง จึงจะDisruptหรือเบี่ยงเบนความเชื่อ
เดิมได้ อันนี้ต้องเจ๋ง ใช้เวลา ตั้งสมมติฐานใหม่ขึ้นจนยอมรับ
เช่นเดิมคนยอมรับเชื่อตามคำสอน คำบอกเล่า ตามสังคมนักคิดว่า"โลกแบน"
แต่ท้ายที่สุดมีคนคิดนอกกรอบเพื่อให้เกิดการอธิบายใหม่ที่เป็นประโยชน์
ต่อคนทั้งโลกได้ว่า "โลกกลม" ทำให้คนเดินเรือไม่คิดว่าแล่นเรือไปสุดขอบฟ้า
แล้วจะตกขอบโลก
คิดในกรอบก็Comfort Zone สอบผ่านที่อาจารย์ให้กรอบ ลองตอบนอกกรอบซิ "F"
1
คนในกรอบจึงคิดในกรอบแบบต่อยอด ไม่หักล้างเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าไม่แน่พอ
ที่จะคัดง้างParadigmเดิม ต่างกันกับการพัฒนาให้คนคิดนอกกรอบเพื่อได้สิ่งใหม่ๆที่ใครไม่กล้าทำ คนนอกกรอบนี่แหละEx - Paradigm Specialist ตลอดเวลา
ตัวอย่างที่คลาสสิคมากของบริษัทฯ apple ที่ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ค้ำฟ้า
ในขณะที่ประชุมผลประกอบการใหญ่ประจำปี มีแต่คนในองค์กรจะคิดแต่การพัฒนานวตกรรมใหม่ๆ แต่ประธานฯในที่ประชุม กลับตั้งหัวข้อการประชุมหลักเรื่อง
"ความล้มเหลวและล่มสลาย ของappleจะเกิดได้อย่างไร
ด้วยวิกฤติอะไร และจะรับมืออย่างไร?"หากวิกฤตินั้นมาถึง
คิดนอกกรอบความสำเร็จไง
โฆษณา