23 มิ.ย. 2023 เวลา 02:00 • สุขภาพ

NCDs โรคใกล้ตัว ที่เกิดจากพฤติกรรม จะวัยไหนก็เสี่ยง!

กลางวันทำงาน กลางคืนปาร์ตี้ ใช้ชีวิตหนักแบบนี้อาจเสี่ยงป่วยได้ ยิ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นสร้างตัวอายุน้อยร้อยหน้าที่แบบเรา ต้องหันมาดูแลตัวเองกันหน่อย เพราะการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบัน เสี่ยงให้เกิดโรคร้ายอย่าง NCDs ได้ง่าย ยิ่งอายุยังน้อยยิ่งเสี่ยงสะสมไว้นานถ้าไม่ปรับพฤติกรรม
เพราะการดำเนินชีวิตประจำวันที่คุ้นเคยล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งนั้น ทั้งการกินอาหารไม่มีประโยชน์ นอนไม่พอเพราะรอดูแต่ซีรีส์ หรือทำงานหนักจนไม่มีเวลาพัก ทำให้การเกิดการสะสมจนทำให้เสี่ยงเป็นโรค NCDs ได้ วันนี้เมืองไทยประกันชีวิต จะพาไปทำความรู้จักกับโรค NCDs กันว่ามีกลุ่มโรคอะไรบ้าง พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยง และมีวิธีป้องกันดูแลตัวเองยังไงบ้าง ตามมา!
📍 NCDs ภัยเงียบที่ต้องระวัง
อย่างที่บอกว่าอายุน้อยร้อยหน้าที่แบบเราก็ต้องระวัง เพราะโรค NCDs สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย และสะสมเป็นภัยเงียบในร่างกายได้ ซึ่งโรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือทำความเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ไม่ได้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคใด ๆ แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเคยชินของเราในชีวิตประจำวัน เช่น การกินอาหารไม่มีประโยชน์ เค็มจัด หวานจัด ทำงานหนักพักผ่อนไม่พอ เป็นต้น
โรค NCDs จะเป็นการเกิดโรคอย่างช้า ๆ โดยสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย ตัวอย่างของโรค NCDs มีดังนี้
  • โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็งต่าง ๆ
  • โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอ
  • โรคอ้วนลงพุง
📍 คนไทยป่วยเป็นโรค NCDs มากแค่ไหน
ปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วยโรคเหล่านี้ยังมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ปัจจัยเสี่ยงเริ่มต้นที่เห็นได้ชัดเจนคือน้ำหนักตัวของคนไทย ที่อยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มโรค NCDs ตามมา
สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ประมาณ 320,000 คนต่อปี เฉลี่ยชั่วโมงละ 37 คน อันดับหนึ่ง คือโรคหลอดเลือดสมองคิดเป็นร้อยละ 4.59 หรือประมาณ 28,000 คน รองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ค่อยออกกำลังกาย ซึ่งพฤติกรรมพวกนี้ทำให้แนวโน้มการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ส่วนมากเป็นวัยทำงาน ใครที่ทำงานหนักพักผ่อนน้อยต้องระวัง!
📍 ปรับเพื่อเปลี่ยน ไม่เสี่ยงโรค NCDs
อย่างที่ได้บอกไปว่า โรค NCDs สาเหตุหลักสำคัญคือพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เราทำกันจนเคยชิน เช่น กินอาหารหวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง ชอบปาร์ตี้ปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย นอนน้อย เครียดบ่อย เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีไลฟ์สไตล์แบบนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่น ๆ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงโรค NCDs
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้
  • เลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารไขมันสูง รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
  • ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
เห็นกันไปแล้วว่าโรค NCDs เป็นภัยเงียบที่ค่อย ๆ สะสมในร่างกายของเราจากพฤติกรรมเคยชิน ดังนั้นไม่ว่าจะใช้ชีวิตแบบไหนก็เสี่ยงป่วยได้หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง การมีประกันสุขภาพไว้ก่อนป่วยจึงช่วยลดภาระเรื่องค่ารักษายามเจ็บป่วยได้
📌 D Health Plus พวกเราซื้อแล้ว เพื่อน ๆ ซื้อกันรึยัง?
รายละเอียดเพิ่มเติม bit.ly/3WCB3MU
☑️ โทร. 02-015-5447 เวลา 09.00 - 17.00 น.
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศชาย อายุ 24 ปี เลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกความคุ้มครองสำหรับโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังแผน 5 ล้านบาท
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 23/05/66
🔖 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 05/10/64)
🔖 มหาวิทยาลัยมหิดล (ข้อมูล ณ วันที่ 12/01/61)
🔖 กรมสุขภาพจิต (ข้อมูล ณ วันที่ 01/11/64)
🔖 โรงพยาบาลบางปะกอก3 (ข้อมูล ณ วันที่ 14/06/65)
ติดตามสาระดี ๆ และข่าวสารน่ารู้จากเมืองไทยประกันชีวิต ได้ที่
- Facebook: @muangthailife
- Twitter: @MuangThaiLife
- IG: @muangthailife
- Blockdit: muangthailife
โฆษณา