Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Physioupskill
•
ติดตาม
24 มิ.ย. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา
## Episode49: Kinesiology of lumbar spine#5
Sagittal plane kinematics of the lumbar spine ##
.
ถ้าเราสังเกตุในท่ายืน โดยปกติแล้วlumbar spineจะมีlordotic curveอยู่ที่ประมาณ40-50องศา ซึ่งจากตำแหน่งneutral positionนี้ lumbar spineจะเคลื่อนไหวได้ในทั้ง3plane of movement โดยในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงkinematicของการเคลื่อนไหวในlumbar regionโดยเริ่มจากในsagittal planeกันก่อนนะครับ
การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของlumbar spine มีผลการทดลองที่หลากหลาย มีความแตกต่างกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้ว องศาการเคลื่อนไหวของlumbar flexionจะอยู่ที่40-50องศา และlumbar extensionจะอยู่ที่15-20องศา ดังนั้นองศาการเคลื่อนไหวทั้งหมดในsagittal planeจะอยู่ที่55-70องศาครับ. ความสามารถในการเคลื่อนไหวของlumbar spineนี้จะเกิดจากการวางตัวของarticular surfaceของlumbar facetซึ่งอยู่ใกล้กับแนวsagittal planeครับ
กิจกรรมหลายๆอย่างในชิวิตประจำวัน จะมีmovementของlumbar flexion/extension ร่วมด้วยเสมอ เช่นการก้มลงไปหยิบของ, การก้าวขึ้นลงจากรถ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะต้องอาศัยการเคลื่อนไหวร่วมกันระหว่างtrunk, lumbar, pelvis, hip jointร่วมด้วยครับ
ในขณะที่เกิดflexionของlumbar region ในกรณีที่trunkกับpelvis เคลื่อนไปบนfemur จะเกิดpassive tensionเป็นแรงตึงที่เกิดไล่จากhamstring ขึ้นมาถึงsacroiliac jointและต่อเนื่องขึ้นมาถึงlower และupper Lตามลำดับ เป็นการreverse lordotic curveของlower back
ในส่วนของarthrokinematicนั้น ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเกิดflexionที่ระดับL2กับL3 inferior articular facetของระดับL2 จะslideในทิศทางsuperiorและanterior ต่อsuperior articular facetของL3 ดังนั้นน้ำหนักของร่างกายจะถ่ายจากfacet jointไปยังvertebral bodyและdiscมากขึ้นครับ
สิ่งที่ตามมาจากการเกิดflexionคือ จะเกิดการยืดต่อposterior ligament และถ้าเกิดfull flexionก็จะเกิดการยืดต่อcapsuleของfacet joint รวมถึงลดcontact areaของfacet jointด้วยครับ
.
ในทางกลับกัน แม้ว่าfacet jointจะสบกันน้อยลง แต่contact pressure(แรงต่อพื้นผิว)อาจจะมากขึ้นก็ได้ เพราะพื้นที่ในการกระจายแรงลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการsustain positionนั้นไว้เป็นเวลานาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับloadที่กดลงมาตอนที่spineอยู่ในท่าflexionด้วยครับ
นอกจากนี้ องศาของการเกิดlumbar flexion ยังสัมพันธ์กับขนาดของintervertebral foramen และการdeformationของnucleus pulposusอีกด้วยครับ
เมื่อเปรียบเทียบneutral position ในท่าfull flexionจะเปิดช่องว่างของintervertebral foramenประมาณ19% ดังนั้นท่าlumbar flexionจึงถูกใช้เป็นท่าtreatmentหนึ่งที่ช่วยในการลดอาการปวดที่เกิดจากlumbar spinal nerve root compressionได้ครับ แต่ท่าlumbar flexionก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเท่านั้น โดยเฉพาะท่าsustain flexion เพราะจะไปเพิ่มpressure ดันdiscมาทางด้านหลังมากขึ้นและอาจจะเป็นท่าที่อาจทำให้เกิดherniated nucleus pulposus ได้ครับ
ในขณะที่เมื่อเกิดextensionจะเกิดreverse kinematicsของการเกิดflexion และมีการเพิ่มขึ้นของlumbar lordosisครับ
.
เมื่อlumbar extensionเกิดร่วมกับfull hip extension จะไปเพิ่มpassive tensionต่อflexor muscleและcapsular ligamentของhip joint รวมถึงทำให้เกิดlumbar lordosisเพิ่มขึ้นจากการเกิดanterior tiltของpelvis
ในส่วนของarthrokinematicsของการเกิดextensionนั้น ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเกิดextensionที่ระดับL2กับL3 inferior articular facetของL2 จะslideในทิศทางinferiorและposteriorไปบนsuperior articular facetของL3 ถ้าเกิดfull extensionของlumbarก็จะเกิดการเคลื่อนไหวลักษณะนี้ต่อเนื่องลงไปที่ระดับล่างลงไปครับ
การแอ่นของlumbar spineจะทำให้น้ำหนักไปตกด้านหลังผ่านfacet jointมากขึ้น และfacet jointก็จะcontactกันเพิ่มขึ้นด้วยครับ แต่ในกรณีที่เกิดfull hyperextension ปลายของinferior articular facetอันบน จะลงมาเลยจากผิวของsuperior articular facetของชิ้นล่าง และจะถูกจำกัดการเคลื่อนไหวจากการกดต่อlamina นอกจากนี้การเกิดhyperextensionของlumbar อาจจะไปกดทับต่อinterspinous ligament เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดlow back painได้อีกด้วย
เช่นเดียวกับเมื่อเกิดflexion การเกิดextensionของlumbar spineจะส่งผลต่อขนาดของintervertebral foramenและการdeformของnucleus pulposus
.
เมื่อเทียบกับneutral position ในท่าfull extensionจะลดเส้นผ่านศูนย์กลางของintervertebral foramen ลงประมาณ11% ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไข้ที่มีspinal nerve root impingement ที่เกิดจากstenosisของintervertebral foramen จะจำกัดactivityที่ต้องมีการextensionครับ
อย่างไรก็ตาม การเกิดextensionมีแนวโน้มที่จะดันnucleus pulposusไปในanterior direction และลดpressureที่เกิดภายในdisc ดังนั้นในคนไข้ที่มีherniated nucleus pulposus การextensionจะมีส่วนในการช่วยลดอาการปวดและร้าวลงขาซึ่งเกิดจากหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท(เราเรียกว่า"centralization") เป็นที่มาของexerciseที่เรารู้จักกันดีในชื่อ "McKenzie exercise"ครับ
ทั้งหมดนี้ก็คือkinematicsของการเกิดflexionและextensionในlumbar spine ซึ่งการเคลื่อนไหวในsagittal planeนี้เป็นplaneที่เกิดการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดในlumbar regionและยังส่งผลต่อขนาดของintervertebral foramenและยังมีผลต่อpressureที่เกิดในdiscอีกด้วย ลองทำความเข้าใจกันดูนะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่
https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่
https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
General Anatomy and Musculoskeletal System (THIEME Atlas of Anatomy) (THIEME Atlas of Anatomy, 1) (3rd ed.). Thieme. Elsevier.
Md, I. K. A. (2008). The Physiology of the Joints, volume III (6th ed.). Churchill Livingstone.
Foster, M. A. (2019). Therapeutic Kinesiology: Musculoskeletal Systems, Palpation, and Body Mechanics (1st ed.). Pearson.
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย