22 มิ.ย. 2023 เวลา 16:50 • การศึกษา

ศาสตร์แห่งการไปต่อ ตอนที่2

ความเชื่อ ความคิด ความรู้ ทั้งสามคำนี้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์คนไหนในโลกนี้บ้าง คำตอบก็คงหาไม่ยาก ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วน กำเนิดขึ้น ดำรงอยู่ รุ่งเรือง เสื่อมโทรม และ ดับไป วัฏจักรเหล่านี้วนเวียนอยู่รอบตัวของเราตลอดเวลา
ความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยีดิจิทัลในโลกเสมือนจริงกำลังจะเข้ามาแทนที่ชีวิตแบบเดิมๆอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีผลทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบายอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่วิถีแห่งมนุษย์และคุณค่าในแบบเดิมๆก็ลดน้อยลงตามไปด้วย สภาพสังคมกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา
สมัยก่อนตอนผมยังเด็ก การเขียนจดหมายลงบนกระดาษเพื่อส่งหาใครก็ตาม ต้องเขียนด้วยความตั้งใจและมีสติ ถ้าเขียนผิดจะต้องเขียนใหม่ เปลี่ยนกระดาษใหม่ เพราะการลบหรือใช้ยางลบจะทำให้จดหมายนั้นดูด้อยค่าลง สิ่งนี้คือ "บรรทัดฐาน"ของคนในยุคนั้นว่า เนื้อหาในจดหมายใดเมื่อมีการลบหรือแก้ไขแสดงถึงความไม่มั่นคงทางความคิดและอารมณ์ของผู้เขียนในขณะนั้น การเปลี่ยนแปลงนั้น อาจถูกตีความในอีกแง่นึงว่า ข้อความที่แท้จริง ก่อนที่จะลบ คืออะไร
ความเชื่อ และ บรรทัดฐาน แบบที่ว่านี้ในโลกยุคดิจิทัลไม่มีหลงเหลืออยู่แล้ว ถ้าคุณส่งข้อความนี้ผ่านมือถือ ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ดิจิทัลใดๆคุณจะเขียนข้อความผิดอย่างไรก็แก้ไขได้โดยไร้ร่องรอย
จะมีก็แต่งานเอกสารที่จะส่งผลต่อผู้ที่เขียนในภายหลังเช่น นิติกรรมทางกฎหมาย หรือสัญญาผูกมัดบางอย่าง ที่ต้องพึ่งพาหลักฐานเอกสารที่จับต้องได้ มีความเป็นต้นฉบับ จะมีความสำคัญในการพิจารณาในเรื่องนี้
การที่จะตั้งสติทำอะไรสักอย่าง ต้องใช้แรงขับเคลื่อนภายในบนความไม่ประมาทสู่การกระทำ ผลของการกระทำคือบทสะท้อน ความคิด ความเชื่อ และ ความรู้ ของเราที่มีต่อเรื่องนั้นๆ
สิ่งที่เรียกว่า "สากล" หรือ "บรรทัดฐาน" คือแนวทางและความเชื่อที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป อาจเปรียบได้กับแท่นหรือที่ยืน ที่ปลอดภัยในความรู้สึกที่ไม่แปลกแยกจากขนบธรรมเนียมที่เป็นมา
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมี ดี และ เสีย มีด้าน มืด และ สว่าง ในตัวเอง และนี่คือสัจจธรรม ในฐานะผู้ที่เฝ้ามองจะมองเห็นทั้งสองด้าน หรือเห็นแค่ด้านใดด้านหนึ่ง อยู่ที่การมอง ถ้าคนเรามองสิ่งใดด้านใดอย่างใกล้ชิด เราอาจจะเห็นรายละเอียดในด้านที่เรามองอย่างชัดเจน แต่ถ้ามองใกล้จนเกินไปหรือมองเพียงด้านที่ตนเองอยากจะมอง ก็อาจทำให้มองไม่เห็นอีกด้านหรือเห็นไม่ชัดเท่าที่ควร บางทีเราอาจจะต้องถอยออกมาสักนิดเพื่อมองเห็นทั้งหมดทุกด้านถึงจะเรียกว่า มองเห็น และ เข้าใจ มิใช่หรือ
"ความเห็นต่าง" อาจสร้างบรรทัดฐาน หรือแนวทางใหม่ให้แก่สังคมได้ ถ้าสิ่งนั้น "จำเป็นต่อการดำรงอยู่" ของสังคม ควรเป็นไปในทางสร้างสรรค์ มุมมองในเรื่องต่างๆในหลายยุคหลายสมัย มนุษย์มักใช้เสียงส่วนใหญ่ หรือการรับรองจากส่วนรวมเป็นแนวทางปฏิบัติด้วยความเชื่อมั่น
บุคคลสำคัญในโลกใบนี้ล้วนเคยเป็น คนส่วนน้อย หรือ เสียงส่วนน้อย ที่มีความเห็นต่างและเลือกที่จะทำหรือเชื่อในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งต้องอาศัยทั้ง ความเชื่อ ความคิด และ ความรู้ ส่งต่อและสร้างแรงบันดาลใจแก่ชนรุ่นหลัง
“ศาสตร์แห่งการไปต่อ” ในตอนนี้จะกล่าวถึงบุคคลสำคัญ ในประวัติศาสตร์ซึ่งบุคคลเหล่านี้นำมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงสร้างสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมและมีผลต่อความเชื่อและแนวทางใหม่ๆเกิดขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ความวิริยะอุตสาหะ และแรงบันดาลใจ ทุ่มเทเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและผู้อื่นโดยแท้ ผู้เป็นเลิศในด้านต่างๆล้วนต้องอาศัยองค์ความรู้ในหลายแง่มุมและหลายมิติ ผสมผสานจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนซึ่งส่งผลต่อเราทุกคนจนถึงวันนี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 4)
ภาพจาก: sci2020.mfu.ac.th
พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ"
เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระองค์ได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นแรงผลักดันให้มีการรับเอานวัตกรรมตะวันตกมาและริเริ่มพัฒนาประเทศไทยให้ทันสมัย ทั้งในด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรม
ในระหว่างที่พระองค์ทรงผนวชอยู่นั้นพระองค์ได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี พระองค์ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวชเพื่อรับการขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศ ระยะเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา)
พระองค์ทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2394 ซึ่งตรงกับวันจักรี และทรงรับการบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2394 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของปีนั้น
พระองค์ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ หมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อม เซอร์ แอร์รี่ ออร์ด เจ้าเมืองสิงคโปร์ คณะทูตานุทูต นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส แขกต่างประเทศอื่นที่ทรงเชิญมา และข้าราชบริพารไทย
ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ ขจรขจายปวงชนชาวไทยถวายพระราชสมัญญานามทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
พระองค์ให้ความสำคัญทางดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก และยังทรงให้ความสำคัญกับพระราชกรณียกิจอืกหลายๆด้านอื่นอีก เช่น
พระราชกรณียกิจด้านกฎหมาย
ออกกฎหมายสำคัญในการ ให้สิทธิแก่ผู้ที่เป็นทาสโดยที่ต้องเป็นความยินยอมของบุคคลผู้นั้นเองเท่านั้น
พระราชกรณียกิจด้านวรรณคดีพุทธศาสนา
มีบทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์ และโปรดให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
“พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กษัตริย์สยามที่ทรงรู้เท่าทันภัยคุกคามจากชาติตะวันตก”
พระองค์โปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทยเพื่อเชื่อมสัมพันธ์แก่ชาวตะวันตกโดยเฉพาะกับ อังกฤษ มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงยึดนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้
ทรงใส่พระทัยกวดขันคนไทยให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทรงสนับสนุนโรงเรียนของหมอสอนศาสนาที่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา อรรถคดี และวิทยาการของชาติตะวันตก ทรงพระกรุณาส่งข้าราชการระดับบริหารไปศึกษางานที่จำเป็น สำหรับราชการไทย ณ ต่างประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งโรงอักษรพิมพการขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ผลิตข่าวสารของทางราชการเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน ใช้ชื่อว่า ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งยังคงพิมพ์มาจนถึงปัจจุบัน
พระราชกรณียกิจด้านโหราศาสตร์
ทรงแต่งตำราทางโหราศาสตร์ที่เรียกว่า "เศษพระจอมเกล้า" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำราที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำ และทรงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่าทรงเป็น "พระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย"
เป็นที่ทราบกันดีว่าทุกครั้งที่มีการประสูติของพระราชโอรสหรือพระราชธิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ผูกดวงชะตาของพระราชโอรส หรือพระราชธิดาด้วยพระองค์เองทุกครั้งและทุกพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระนามพระเจ้าลูกเธอแต่ละพระองค์โดยทรงเขียนลายพระหัตถ์เป็น 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นอักษรภาษาไทยพระราชทานพระนาม
อีกฉบับหนึ่งเป็นอักษรอริยกะและภาษามคธ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นคาถาพระราชทานพร คาถาที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานพระเจ้าลูกเธอนั้น ประทานพรบางอย่างเหมือนกันทุกพระองค์ แต่มีบางอย่างแปลกๆ กัน และถ้าพิจารณาดูพรที่พระราชทานแปลกกันนั้น มักจะได้ดังที่พระราชทานพรให้
พระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ ทั้ง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา โหราศาสตร์ และ ไสยศาสตร์ ผสมผสานเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และพัฒนาประเทศจากหลายสิ่งที่ไม่เคยมี เป็นรากฐานต่อมาให้ประเทศชาติของเราสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
“Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand.”
― Albert Einstein
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เป็นวลีอันอมตะที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทิ้งเอาไว้ให้แก่โลก ความรู้ทำให้เราฉลาดขึ้น แต่มันจะเป็นสิ่งที่อยู่คงเดิมและมีขอบเขต หากแต่จินตนาการคือโลกทั้งใบของทุกสิ่งที่เราเคยรู้จักและเข้าใจ
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
ภาพจาก: en.wikipedia.org
ประโยคนี้เป็นวลีที่ตรึงใจและใช้ขับเคลื่อนทั้งนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ๆ และรวมถึง คนในแวดวงต่างๆให้ตระหนักถึง สิ่งที่เรียกว่า "จินตนาการ" หรือถ้าแปลตรงๆตามพจนานุกรม คำนี้หมายถึง การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ ซึ่งอาจหมายถึงสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น
นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมันที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้เป็นที่รู้จักกันในการพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพ และยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม เป็นสองเสาหลักของฟิสิกส์สมัยใหม่
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เริ่มศึกษาปรัชญาและดนตรีตอนอายุเพียง13ปี และเมื่ออายุได้ 16 ปี เขาได้อ่านผลงานหลักทั้งสามเล่มของอิมมานูเอล คานท์แล้ว คือ บทวิจารณ์เรื่องเหตุผลบริสุทธิ์(Critique of Pure Reason),บทวิจารณ์เรื่องเหตุผลเชิงปฏิบัติและบทวิจารณ์เรื่องคำพิพากษ
ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของ อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาชาวเยอรมัน นักคิดแนวตรัสรู้ สายกลาง หนึ่งในบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ คานท์เชื่อว่า "เหตุผล นั้น เป็นบ่อเกิดของศีลธรรม ส่วนสุนทรียภาพนั้นเกิดจากการตัดสินโดยไม่สนใจใคร
ปรัชญาและงานเขียนของ คานท์ มีอิทธพลต่อความคิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เป็นอย่างมาก เมื่อตอนเขาอายุ15ปี ไอน์สไตน์มีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนลูอิทโปลด์ เหตุคือ ไอน์สไตน์ไม่พอใจระบบการปกครองและวิธีการสอนของโรงเรียน เขาได้กล่าวว่า "จิตวิญญาณของการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์หายไปในการเรียนรู้แบบที่เอาแต่ท่องจำอย่างหมกมุ่น"
ไอน์สไตน์ ให้คำแนะนำกับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ว่าความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และปรัชญาทำให้เกิดความเป็นอิสระจากอคติในรุ่นของเขาซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่กำลังทุกข์ทรมาน ความเป็นอิสระนี้สร้างขึ้นจากความเข้าใจเชิงปรัชญา เป็นเครื่องหมายของความแตกต่างระหว่างช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญและผู้แสวงหาความจริงอย่างแท้จริง
สิ่งที่ไอน์สไตน์เชื่อคือ การปลูกฝังนิสัยทางความคิดเชิงปรัชญาทำให้เขาเป็นนักฟิสิกส์ที่ดีขึ้น ความสนใจในปรัชญาของ Einstein ดำเนินต่อไปหลังจากสำเร็จการศึกษา ในช่วงเวลาที่เขาเริ่มงานในสำนักงานสิทธิบัตรในกรุงเบิร์นในปี 1902 ไอน์สไตน์และเพื่อนใหม่บางคน ได้แก่ Maurice Solovine และ Conrad Habicht ได้จัดตั้งกลุ่มสนทนาอย่างไม่เป็นทางการประจำสัปดาห์ ว่า “Olympia Academy”
ในบทความปี 1936 เรื่อง "ฟิสิกส์และความเป็นจริง" เขาอธิบายว่าเหตุใดนักฟิสิกส์จึงไม่สามารถคล้อยตามนักปรัชญาแต่ต้องเป็นนักปรัชญาด้วยตัวเขาเอง:
กาลิเลโอ กาลิเอลี (Galileo Galilei)
ภาพจาก: en.wikipedia.or
เป็นนักดาราศาสตร์นักฟิสิกส์และวิศวกรชาว อิตาลี กาลิเลโอได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ กาลิเลโอศึกษาความเร็วและความเร็วแรงโน้มถ่วงและการตกอย่างอิสระหลักการสัมพัทธภาพ ความเฉื่อยการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์และยังทำงานในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประยุกต์ โดยอธิบายคุณสมบัติของลูกตุ้มและ " สมดุลอุทกสถิต " ในแง่ของดาราศาสตร์ กาลิเลโอ กาลิเลอียืนยันว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งขัดกับความเชื่อของคนในยุคนั้นและขัดต่อหลักศาสนาเป็นอย่างมาก
กาลิเลโอเป็นหนึ่งในนักคิดสมัยใหม่กลุ่มแรกที่กล่าวอย่างชัดเจนว่ากฎของธรรมชาติเป็นกฎทางคณิตศาสตร์ ในThe Assayerเขาเขียนว่า "ปรัชญาถูกเขียนไว้ในหนังสือเล่มใหญ่เล่มนี้ จักรวาล ... มันถูกเขียนด้วยภาษาของคณิตศาสตร์ และอักขระของมันเป็นรูปสามเหลี่ยม วงกลม และรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆ ....
การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของเขาเป็นการพัฒนาเพิ่มเติมของประเพณีที่ใช้โดย นักปรัชญาธรรมชาติ สายวิชาการ ซึ่งกาลิเลโอได้เรียนรู้เมื่อเขาศึกษาปรัชญา งานของเขาเป็นอีกก้าวหนึ่งที่นำไปสู่การแยกวิทยาศาสตร์ออกจากทั้งปรัชญาและศาสนาในที่สุด การพัฒนาที่สำคัญในความคิดของมนุษย์
เขามักจะเปลี่ยนมุมมองของเขาตามการสังเกต เพื่อทำการทดลอง กาลิเลโอต้องกำหนดมาตรฐานของความยาวและเวลา เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบการวัดที่ทำในวันต่างๆ และในห้องปฏิบัติการต่างๆ ในลักษณะที่ทำซ้ำได้ นี่เป็นรากฐานที่เชื่อถือได้ในการยืนยันกฎทางคณิตศาสตร์โดยใช้เหตุผลแบบอุปนัย
กาลิเลโอแสดงความชื่นชมสมัยใหม่สำหรับความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี และฟิสิกส์เชิงทดลอง เขาเข้าใจพาราโบลาทั้งในแง่ของภาคตัดกรวยและในแง่ของพิกัด (y) ที่แปรผันตามกำลังสองของabscissa (x) กาลิเลโอยังยืนยันอีกว่าพาราโบลาเป็นวิถีโคจร ในอุดมคติในทางทฤษฎี ของโพรเจกไทล์ที่เร่งความเร็วอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่มีแรงต้านของอากาศหรือสิ่งรบกวนอื่นๆ
เขายอมรับว่ามีข้อจำกัดในความถูกต้องของทฤษฎีนี้ โดยสังเกตจากเหตุผลทางทฤษฎีว่าวิถีโคจรของโพรเจกไทล์ที่มีขนาดเทียบเคียงได้กับโลกไม่น่าจะเป็นพาราโบลาแต่อย่างไรก็ตาม เขายังคงยืนยันว่าสำหรับระยะทางจนถึงระยะของปืนใหญ่ในสมัยของเขา สามารถคำนวณการเบี่ยงเบนของวิถีกระสุนจากพาราโบลาได้
กาลิเลโอ กาลิเลอี ยังเป็นบิดาแห่งดาราศาสตร์ มีการศึกษาอวกาศและดาวเคราะห์อย่างลึกซึ้ง และถือนักดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ที่ก้าวหน้าที่สุดในยุคนั้น และเมื่อพูดถึงโหราศาสตร์ เส้นทางโหราศาสตร์ของเขาต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายรวมถึงการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคริสตจักรคาทอลิกและสิ่งพิมพ์ของเขาถูกแบนแม้กระทั่งหลายปีหลังจากการตายของเขา
กาลิเลโอทำนายดวงชะตาสำหรับลูกศิษย์ ญาติ และผู้อุปถัมภ์ของเขา ย้อนกลับไปในตอนนั้น โหราศาสตร์เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการศึกษาดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ และไม่ได้รับการยอมรับอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
กาลิเลโอไม่เพียงแต่เชื่อในโหราศาสตร์เท่านั้น แต่ยังสอนและฝึกฝนโหราศาสตร์อย่างจริงจัง เช่นเดียวกับปโตเลมีและเคปเลอร์ ความเชื่อในโหราศาสตร์ของกาลิเลโอยังเป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากความเชื่อนี้ช่วยกำหนดชะตากรรมของมนุษยชาติและกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากสนใจในการศึกษาอวกาศ
โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler)
ภาพจาก: en.wikipedia.or
นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงในด้านความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบวงโคจรของดาวเคราะห์และกฎอื่นๆ และยังได้พิสูจน์ว่ากระแสน้ำเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ เคปเลอร์ยังเป็นบุคคลสำคัญในการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และนักโหราศาสตร์ อย่างจริงจัง
เคปเลอร์ ทำนายดวงชะตาให้กับคนร่ำรวยและมีชื่อเสียงในยุคนั้น นักวิชาการชาวเยอรมันซึ่งเขียนบทความเกี่ยวกับวิธีที่รูปแบบของดวงดาวมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อดาวเคราะห์ เช่น โลก เช่นเดียวกับชีวิตของบุคคล
มรดกในชั้นเรียนของเคปเลอร์มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกล้องโทรทรรศน์และกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเขา อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงผลพลอยได้จากความทะเยอทะยานตลอดชีวิตของชายผู้นี้ที่จะปรับปรุงศาสตร์แห่งโหราศาสตร์เพื่อให้สามารถยืนหยัดต่อการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในยุคแห่งเหตุผล
เคปเลอร์ศึกษาภายใต้การนำของไทโค บราเฮ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในนักดาราศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ เคปเลอร์จะสร้างตารางสมการ ( ตารางรูดอล์ฟฟีน)ที่ต่อยอดจากแบบจำลองของ Brahe ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนสามารถคำนวณตำแหน่งของดาวเคราะห์ได้ ไม่ว่าอนาคตจะไกลแค่ไหน โดยยึดตามแบบจำลองระบบสุริยะที่แม่นยำอย่างยิ่งและเป็นปูชนียบุคคลของแคลคูลัส
เคปเลอร์เขียนหนังสือมากมายเกี่ยวกับโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ เช่นเดียวกับดนตรี เรขาคณิต และเลขคณิต งานเขียนเกี่ยวกับโหราศาสตร์ของเขาไม่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ อาจเป็นเพราะ "ความเชื่อเหล่านี้ของเขามักถูกมองข้ามในหนังสือประวัติศาสตร์ว่าเหลือไว้เป็นเป็นเพียงร่องรอยของยุคกลาง
Kepler ทำนายดวงชะตา 800 ดวง สำหรับเพื่อนและผู้อุปถัมภ์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนักคณิตศาสตร์ประจำราชสำนักของจักรพรรดิรูดอล์ฟที่สอง แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เคปเลอร์ได้คำนวณดวงชะตาของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น จักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์ และศาสดาโมฮัมเหม็ด เพื่ออธิบายว่าทำไมชะตากรรมของพวกเขาจึงพัฒนาไปเช่นนั้น สิ่งนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งรูปแบบความบันเทิงที่สนุกสนานและให้ความรู้
เจพี มอร์แกน (J.P. Morgan)
ภาพจาก: biography.com
“Millionaires don’t use astrology, billionaires do,”
“เศรษฐีไม่ต้องการนักโหราศาสตร์ แต่มหาเศรษฐีต้องการ” ผู้ก่อตั้งธนาคาร JP Morgan เคยกล่าวไว้ว่าจะประสบความสำเร็จในตลาดได้นั้น คุณต้องการมากกว่าจังหวะที่ดี นักการเงินและวาณิชธนกิจชาวอเมริกันผู้นี้ที่ครองอำนาจทางการเงินของบริษัทในวอลล์สตรีทตลอดยุคทอง ในฐานะหัวหน้าบริษัทธนาคารที่ท้ายที่สุดกลายเป็นที่รู้จักในชื่อJP Morgan and Co.เขาเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังคลื่นของการรวมอุตสาหกรรม และถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลในโลกของการเงิน
2
เป็นผู้มีอำนาจในอุตสาหกรรมเหล็ก ควบคุมเส้นทางรถไฟและอุตสาหกรรมหลายแห่งของอเมริกาในยุคนั้น เจ.พี.มอร์แกนยังเป็นผู้นำในการจัดหาทองคำสำรองของกระทรวงการคลังสหรัฐในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเกิดขึ้นหลังจากความตื่นตระหนกในปี พ.ศ. 2436 และจัดระเบียบชุมชนการเงินเพื่อป้องกันการล่มสลายทางการเงินหลังจากความตื่นตระหนกของตลาดในปี พ.ศ. 2450
มอร์แกนได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ในสหรัฐอเมริกา. ผลจากความสำเร็จทางการเงินและธุรกิจ ครอบครัวของตัวละครในนวนิยายเรื่องนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกาประสบความเจริญรุ่งเรืองทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เมื่อชนชั้นกลางเติบโตขึ้น เศรษฐกิจก็เติบโตในอัตราที่เร็วกว่ามากในอเมริกา
มอร์แกนสนใจประวัติศาสตร์สมัยโบราณและให้ทุนสนับสนุนตำแหน่งศาสตราจารย์อัสซีเรียวิทยาที่มหาวิทยาลัยเยลในปี พ.ศ. 2453 คอลเลคชันของเขาที่ห้องสมุดมอร์แกนในนิวยอร์ก รวมถึงอักษรคูนิฟอร์มและความสนใจในวัฒนธรรมที่มีประเพณีทางโหราศาสตร์ที่แข็งแกร่ง มอร์แกนสนับสนุนการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองคาร์เกห์ ประเทศอียิปต์ ในปี 1912
เจพี มอร์แกนได้ให้โอกาสนักโหราศาสตร์ชื่อดัง เอวานเจลีน อดัมส์ (Evangeline Adams) ในการทำแผนภูมิดวงชะตาและการอ่านให้สมบูรณ์ ต่อมาเขาได้ให้ เอวานเจลีน มาเป็นโหรในบริษัทของเขา และตั้งแต่นั้นมา เขาก็ใช้ประโยชน์จากศาสตร์นี้ในทุกด้านที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
ชาร์ลส์ ริชเชต์ (Charles Richet)
ภาพจาก: en.wikipedia.org
ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสัมผัสที่หก เป็นนักสรีรวิทยาชาวฝรั่งเศสที่College de France และเป็นผู้บุกเบิกด้านภูมิคุ้มกันวิทยา ในปี 1913 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ เขาอธิบายปัญหาของไข้ละอองฟางโรคหอบหืดและอาการแพ้อื่นๆ ต่อสารแปลกปลอม และอธิบายบางกรณีเกี่ยวกับความเป็นพิษและการเสียชีวิตกะทันหันอย่างที่ไม่เคยมีความเข้าใจในเรื่องนี้มาก่อน
เขายังเป็นที่รู้จักการวิจัยเกี่ยวกับสรีรวิทยาของการหายใจและการย่อยอาหารเช่นเดียวกับโรคลมบ้าหมู การควบคุมความร้อนของร่างกาย และวิชาอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งจิตศาสตร์ นอกจากนี้เขายังมีชื่อเสียงในฐานะนักแบคทีเรียวิทยา นักพยาธิวิทยา นักสถิติทางการแพทย์ กวี นักประพันธ์ และนักเขียนบทละคร
ซึ่งในปี 1913 นักสรีรวิทยา Charles Richet ได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานของเขาเกี่ยวกับแอนาฟิแล็กซิส แต่ถึงตอนนั้นเขาก็รู้สึกทึ่งกับแนวคิดเรื่องปรากฏการณ์ทางจิต Richet อุทิศเวลาหลายปีในการศึกษาปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ ปรากฏการณ์อาถรรพณ์ทำให้เกิดคำว่า "ectoplasm"
การพบกลไกทางกายภาพที่จะตรวจสอบการมีอยู่ของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ ทางวิทยาศาสตร์ เขาเขียนว่า: "มันแสดงให้เห็นว่าเกี่ยวกับอภิปรัชญาอัตนัย คำอธิบายที่ง่ายและมีเหตุผลที่สุดคือสมมติว่ามีกลุ่มของความรู้ความเข้าใจที่เหนือธรรมชาติ ... ทำให้สติปัญญาของมนุษย์เคลื่อนไหวโดยการสั่นสะเทือนบางอย่างที่ไม่เคลื่อนไหว ประสาทสัมผัสปกติ
ชาร์ลส์ ริชเชต์ มีความสงสัยว่ามนุษย์สามารถแสดงพลังของร่างกายเพื่อกระตุ้นเหตุการณ์ทางกายภาพได้ มนุษย์สามารถประสบกับลางสังหรณ์ที่แท้จริงได้ และมนุษย์สามารถสร้าง ectoplasm ได้ เขาได้เสนอทฤษฎีสัมผัสที่หกของเขาในหนังสือเช่น ตำราเกี่ยวกับอภิปรัชญา สัมผัสที่หก อนาคตและลางสังหรณ์
การกล่าวถึงในความสำเร็จของบุคคลเหล่านี้ ล้วนมี ความเชื่อ ความคิด และความรู้
เป็นแนวทางในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีให้เกิดขึ้น เมื่อมองภาระหน้าที่ และอุดมการณ์ที่ต่างกัน กับผู้อื่นหรือคนในยุคนั้น อาจหมายถึงความแปลกแยก แต่ไม่ว่าคำตอบในทุกเรื่องจะเป็นอย่างไร สุดท้ายเราทุกคนจะรู้ได้ว่า สามสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีเป็นสมบัติของตนเองและควรเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน คุณคงไม่อยากปลูกข้าวแข่งกับชาวนา ในขณะที่คนที่มีชีวิตที่สุขสบายอาจลืมมองสาระของคำว่า ขาดแคลนของผู้อื่น คนที่เป็นเลิศในวิชาการต่างๆอาจประสบกับปัญหากับความไม่เข้าใจความรู้สึกของคนใกล้ชิดก็เป็นได้
ความแตกต่างกันของคนเราจะเป็นไปในทางไหน เวลาใด สถานที่เป็นอย่างไร
สิ่งนี้เกิดขึ้นทุกวันและจะเกิดขึ้นตลอดไป ไม่มีใครรู้จักทุกสิ่งบนโลกใบนี้ ทานอาหารจานเดียวกัน ยังบรรยายรสที่รับรู้ต่างกัน จะบอกว่าคนที่ชอบทานจืดนิสัยดีกว่าคนที่ชอบทานเผ็ด ข้อความนี้ควรเชื่อหรือเปล่า จะบอกว่าคนยากจนมีน้ำใจมากกว่าคนที่ร่ำรวยก็อาจมองโลกแคบไปหน่อย หรือจะบอกว่าคนที่อยู่กับกิจกรรมทางศาสนาอยู่ตลอดเป็นคนดี อาจจะดูเร็วเกินไปที่จะสรุปแบบนั้น
การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อผู้อื่น จากแรงบันดาลใจ จากศาสนา จากหนังสือ หรือจากบุคคลต่างๆ แม้กระทั่ง มาจากคนที่คิดต่าง กรอปบางๆของ"ความต่าง"ควรวางอยู่บนความดีงามและการมีศีลธรรม ไม่ทำร้ายกันและกัน มุ่งหมายให้เกิดสันติ ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นในโลกทุกยุคทุกสมัย
บทความโดย เลิศ แก้วเจริญผล
ภาพปก freepik.com
#ความเชื่อ #ความคิด #ความรู้ #ศาสตร์แห่งการไปต่อ #บุคคลสำคัญ #ชาร์ลส์ ริชเชต์ #เจพี มอร์แกน
#โยฮันเนส เคปเลอร์ #กาลิเลโอ กาลิเอลี #อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ #จินตนาการ
ที่มา:
หนังสือความทรงจำพระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โฆษณา