23 มิ.ย. 2023 เวลา 10:13 • ท่องเที่ยว

หุบเขาเสือกระโจน แชงกรี-ล่า

หุบเขาเสือกระโจน ( จีน :虎跳峡; พินอิน : Hǔ tiào xiá )
เราเดินทางต่อผ่านท้องทุ่งสลับกับภูเขาสูงมาตลอดทาง
บางจุดบางช่วงมีวิวทิวทัศน์สวยงามบาดตา จนน่าจอดรถไปเก็บภาพสวยๆไว้ในเมมโมรี่ของกล้อง ... แต่เราไม่อาจจะทำดังใจต้องการได้ทั้งหมด เพราะหากทำเช่นนั้นคงใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนกว่าจะทำทุกอย่างได้ครบตามโปรแกรมที่วางไว้ ... บางภาพที่ผ่านตาจึงถูกเก็บไว้ในมุมหนึ่งของหัวใจเท่านั้น
ช่วงหนึ่งของการเดินทาง ในขณะที่รถแล่นและเรามองขึ้นไปภูเขา .. เราเห็นกองหินที่เหมือนภูเขาเล็กๆ มีธงมนตราสะบัดไกว ไป มา ตามแรงลม
ตาม La จะมีเนินเขาคล้ายสถูปที่มีคนไปสร้างเอาไว้ ดูแล้วเหมือนภูเขา .. เพียงแต่เป็นภูเขาที่มนุษย์สร้างขึ้น และบนนั้นเต็มไปด้วยธงมนต์หลากสีที่ผู้คนนำมาพัน ผูก และติด ทับถมกันเป็นหมื่น เป็นพันผืน นานหลายสิบหรือหลายร้อยปี
ธงมนต์เหล่านี้ถูกนำมาผูกไม่เพียงแต่เพื่อสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังเชื่อว่ายามสายลมต้องธงมนต์จะนำพามนตราและเสียงอ้อนวอนสู่เบื้องบน … เป็นดาวนำทางของผู้คนไปยังแผ่นดินสุขาวดี
ธงมนต์นี้มีหลากหลายสี โดยแต่ละสีแทนธาตุต่างๆเรียงตามลำดับจากจุกสูงสุดไปยังจุดต่ำสุด
สีน้ำเงิน เป็นตัวแทนของท้องฟ้าอันกว้างใหญ่
สีขาว เป็นตัวแทนแห่อากาศธาตุ
สีแดง เปรียบเสมือนความร้อนรงแห่งเปลวไฟ
สีเขียว ดั้งความชุ่มฉ่ำของสายน้ำ
สีเหลือง คือความอุดมแห่งผืนแผ่นดิน
จุดสูงสุด คือ คัมบาลา
ศาสนาแทรกอยู่ในทุกบรรยากาศ และสถานที่ ... เป็นหนึ่งเดียวกับวิถีชีวิตของผู้คนที่เลื่อมใส ศรัทธาศาสนาพุทธแบบทิเบต ที่ดำเนินมาต่อเนื่องเนิ่นนานจนดูเหมือนกาลเวลาจะหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว
เราจึงเห็นสัญลักษณ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องตั้งอยู่แทบทุกหน ทุกแห่ง ... ริมถนน ตามทางแยก บ่อน้ำ ในหมู่บ้าน และสาธารณะสถานของชุมชน
รถของเราข้ามสะพาน ข้ามแม่น้ำ .. มองเห็นด้านหนึ่งเป็นแชงกรีล่า ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนของเมืองลี่เจียง
ด้านหนึ่งของถนนเป็นหุบเขาไม่ลึกมากนัก เป็นทางผ่านของแม่น้ำที่เชี่ยวกราก ...
.. ภาพของหาดหิน กึ่งๆทราย ณ บางช่วงของทางเข้าสู่ด้านใน ซึ่งได้รับการจัดการอย่างมีระบบ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และเพื่อความเป็นระเยียบในการเข้าชม
สะพานลอยฟ้า 2 สะพานคู่กัน เห็นได้ในรายทางสู่หุบเขาด้านใน
พี่ๆ ดูตรงช่วงกลางๆของภูเขาเหนือถนนด้านล่าง .. จะเห็นรอยเป็นเส้นเล็กๆ นั่นแหละเส้นทางม้า-ชาโบราณ .. ” ไกด์น้ำตาลชี้ให้เราดู
ประเทศจีน เป็นหนึ่งประเทศในโลกที่สั่งสมอารยธรรมความเจริญมานับพันปี หนึ่งในอารยธรรมที่จีนสั่งสมไว้ก็คือ “อารยธรรมแห่งการเดินทาง”
.. ในดินแดนอันกว้างใหญ่ของจีน .. ทางทิศตะวันตกมี “เส้นทางสายแพรไหม (The Silk Road)” ที่ลากจากใจกลางอาณาจักรจีนข้ามทะเลทรายไปเอเซียกลาง
หุบเขาเสือกระโจน ... เป็นหุบเขาที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของเมืองลี่เจียงและแชงกลีล่า ซึ่งสามารถชมได้ทั้ง 2 ด้าน เพียงแต่หากมองทางด้านแชงกลีล่าจะดูยิ่งใหญ่มาก เป็นจุดผ่านของธารน้ำแข็ง ซึ่งอยู่ระหว่าง เทือกเขามังกรหยกและเมืองจงเตี้ยน เข้าไปจนถึงดินแดนอาหรับและยุโรปตะวันออก
 
.. ส่วนในท้องทะเล .. ก็มีการเดินทางโดยกองทัพเรือของ “ซัมปอกง” หรือ “แม่ทัพเรือเจิ้งเหอ” ที่เดินเรือไปทั่วทั้งทะเลจีนใต้ ไปถึงมหาสมุทรอินเดีย และชาวจีนบางคนยังว่ากันว่า นายพลเรือผู้นี้ได้เดินเรือไปจนถึงอเมริกา!!
.. ส่วนในดินแดนภาคใต้ ที่มีความเกี่ยวพันกับดินแดนอุถษาคเณย์ .. ก็มีเส้นทางการค้าจากใจกลางอาณาจักรจีนอีกสายหนึ่ง คือ “เส้นทางม้า-ชา” นี่เองค่ะ
ตามตำนานของหุบเขาเสือกระโจน เล่าขานกันมาว่า .. ในสมัยโบราณมีเสือตัวหนึ่งสามารถกระโจนผ่านสายน้ำจากฝั่งลี่เจียง ไปยังฝั่งแชงกลีล่าได้ ปัจจุบันยังคงมีอนุสาวรีย์เสืออยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย
ความอลังการของหุบเขาเสือกระโจน .. อาจจะเห็นภาพแบบ ว๊าวๆๆๆๆ ได้จากความสูง 3790 เมตร และความกว้างราว 16 กิโลเมตร โดยแบ่งเป็นช่วงบน ช่วงกลาง และช่วงล่าง
รถบัสที่เราโดยสารมาจอดเอาไว้ที่บริเวณลานจอด ซึ่งในวันที่เราไปเยือนรถหนาแน่นมาก .. เราต้องเดินต่ออีกราว 100-200 เมตรเพื่อเข้าไปด้านใน
ในรายทางสู่ทางเข้า เรามองเห็นภาพของทางเดินเท้าที่อยู่ระหว่างหน้าผาและหุบเหวโดยมีภูเขาหิมะเป็นฉากหลัง
.. ความสวยเมื่อแรกเห็น แม้จะเป็นเสี้ยวเล็กๆ ก็ทำให้ฉันไม่ประหลาดใจเลยว่าทำไมหุบเขาแห่งนี้ถึงถูกจัดให้อยู่ในอันดับสามของสุดยอดประสบการณ์ในประเทศจีน เป็นรองแค่พระราชวังต้องห้าม และกำแพงเมืองจีนเท่านั้น
การเดินลงไปชมที่ด้านล่างของหุบเขาบริเวณช่องแคบที่แคบที่สุด และ มีรูปปั้นเสือ บริเวณด้านล่าง .. เราสามารถเลือกได้ว่าจะเดินขึ้นลงทางบันไดกว่าหนึ่งพันขึ้น หรือเดิน-ขึ้นลงบันได 80+100 ขั้น ที่เหลือเป็นการใช้บริการบันไดเลื่อนที่มีค่าใช้จ่าย .. แน่นอนค่ะ ฉันเลือกใช้บริการบันไดเลื่อนค่ะ
หุบเขาและโตรกผาที่สูงชัน อันตรายมากในการปีนขึ้นลง โดยเฉพาะในช่วงอายุ 70+ ..
ความสูง คืบคลานมาพร้อมกับความเจ็บป่วยได้ง่ายๆ .. การขาดแคลนออกซิเจนจะทำให้คุณลำบากสุดๆ หากไม่เตรียมร่างกายมาให้พร้อมกับการสู้กับสภาพอากาศที่โหดร้ายในบริเวณภูเขาสูง หรือต้องผจญกับโรคแพ้ความสูง อันจะทำให้วันพักผ่อนกลายเป็นฝันร้ายสุดๆ
เราเดินลงมาตามบันได 80+100 ขั้น สู่ลานกว้างชั้นแรก .. ที่นี่มีแท่นที่มีคำอธิบายต่างๆ และสัญลักษณ์การได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกของโลก รวมถึงสามารถที่จะชะโงกมองลงไปชมหุบเขาและแม่น้ำด้านล่างได้ด้วย
"หุบเขาเสือกระโจน" ประเทศจีน ... สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับขึ้นทะเบียนมรดกโลก จาก UNESCO ตั้งอยู่ระหว่างเมืองจงเตี้ยน กับ เมืองลี่เจียง เป็นหุบเขา ที่ สวยงามในแม่น้ำ Jinsha ซึ่งเป็นสาขาหลักของแม่น้ำแยงซี ตอนบน เป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำสามสายขนานกันของพื้นที่คุ้มครองมรดกโลก ยูนนาน (ด้านแชงกลีล่า)
.. ช่องหุบเขาที่แม่น้ำจินซาไหลผ่าน เกิดการซัดเซาะของแม่น้ำ ทำให้เกิดเป็นช่องแคบ และมีความสูง 3,000 กว่าเมตร โดยช่องหุบเขานี้มีความยาวถึง 15 กิโลเมตร และ ช่วงที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 30 เมตรเท่านั้น
ช่องเขาเสือกระโจน จึงเป็นหนึ่งในหุบเขาลึกแม่น้ำที่ลึกที่สุดและงดงามที่สุดในโลก ชาวช่องเขาส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองนาซีซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ เพียงไม่กี่แห่ง การยังชีพหลักของพวกเขามาจาก การผลิต ธัญพืชและการท่องเที่ยวแบบเดินป่าในปัจจุบัน
จาก Platform ตรงนี้ เราลงบันไดเลื่อนเพื่อไปยัง Platform ช่วงต่อไป .. มองเห็นมีขั้นบันไดเล็กๆแคบๆอยู่ด้านข้าง แต่ห้ามนุกสนุกออกไปปีน หรือเดินเล่นที่บันไดนะคะ เขามีไว้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
บริเวณนี้มีพร๊อพที่บ่งชี้ตำแหน่งว่า เรามาถึงหุบเขาเสือกระโจนแล้ว .. มีบริการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกด้วย
.. เราเดินทางลงไปตามบันไดเลื่อนต่อไปยัง Platform ต่อไป .. ที่นี่มีพร๊อพสวยๆเป็นรูปปีกทูตสวรรค์ให้นักท่องเที่ยวถายรูปเป็นที่ระลึกด้วย
เราลงบันไดเลื่อนต่อในระยะสุดท้าย
บริเวณนี้คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวที่กระตือรือร้นในการเข้ามาเก็บภาพบรรยากาศของสายน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก
มีแม่น้ำจินชา (Jinsha) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำแยงซีเกียง ที่ไหลผ่านระหว่างเขา 2 ลูก คือ ภูเขาหิมะมังกรหยก 5,596 ม. (Jade Dragon Mountain) กับ ภูเขาหิมะฮาปา 5,396ม. (Haba Snow Mountain)
ร้านค้าระหว่างทางเดิน
ที่มาของชื่อ "หุบเขาเสือกระโจน" .. มาจากตามตำนานมีการกล่าวไว้ว่า มีเสือตัวหนึ่งได้หนีการไล่ล่าจากนายพราน โดยได้กระโดดข้ามแม่น้ำอันไหลเชียวที่ผ่านซอกเขานี้ ในช่วงที่แคบที่สุด
โดยอาศัยก้อนหินใหญ่ที่อยู่ระหว่างสายน้ำที่สูงถึง 13 เมตร กระโจนข้ามไปยังอีกฝั่งเพื่อหนีการไล่ล่าจากนายพราน จึงเป็นที่มาของชื่อ “หุบเขาเสือกระโจน”
… และที่แห่งนี้ยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหุบเขาเหนือแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลกเลยทีเดียว ที่ความลึกสูงสุดประมาณ 3,790 เมตร (12,434 ฟุต) จากแม่น้ำถึงยอดเขา
.. ปัจจุบันที่นี้ มีการสร้างอนุสรณ์รูปปั้นเสือไว้ด้วย
พื้นที่นี้เปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเป็นทางการในปี 2536 แต่ได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คที่ชอบผจญภัยในช่วงทศวรรษที่ 1980
การเดินป่าไปตามความยาวของหุบเขาได้ เส้นทางเดินเขา ("ถนนสูง") .. ได้รับการดูแลและทำเครื่องหมายไว้อย่างดี แม้ว่าบางครั้งจะแคบ และบางครั้งไม่สามารถผ่านได้เนื่องจากฝนตกหนัก และชาวหน่าซีใช้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
เส้นทางนี้ยาวกว่าถนนด้านล่าง ประมาณ 22 กิโลเมตร (14 ไมล์) แต่จะมีความหลากหลายมากกว่า มีระบบนิเวศขนาดเล็กน้ำตกและบ้านพักรับรองสำหรับนักเดินป่าในจำนวนพอสมควร .. เกสต์เฮ้าส์เหล่านี้ไม่ได้รับความร้อนอย่างดี ซึ่งประกอบกับสภาพอากาศบนภูเขาสูงที่คาดเดาไม่ได้ทำให้การเดินป่านี้ไม่เหมาะในช่วงฤดูฝน
ปัจจุบันนี้ หากใครชอบแนวสายลุย ที่หุบเขาเสือกระโจน ยังมี่จุดให้เดินชมธรรมชาติ แนว Trekking เดินป่าด้วย โดยแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ
หุบเขาเสือกระโจน ตอนบน (Upper Trekking Tiger Leaping Gorge) เทรลเดินเต็มราว 23 กม.
ส่วนเทรลในระยะราว 2/3 มีระยะทางราว 17 กม.
ส่วนเทรลที่สั้นที่สุด มีระยะทางราว 1/3 ก็เดินไปกลับราว 10 กม.. ซึ่งระหว่างทางเดินก็จะเห็นวิว ภูเขาหิมะมังกรหยก ตลอดทาง
หุบเสือกระโจน ตอนกลาง (Middle Trekking Tiger Leaping Gorge) อันนี้จะเป็นเส้นทางเดินสั้น ระยะทางราว 4-6 กม. แล้วแต่จะเลือกจุดที่เดินลง-ขึ้น เป็นเส้นทางเดินจากด้านบนถนน แล้วเดินลงไปสู่ หุบเขาเสือกระโจน ด้านล่าง เส้นทางชันดิ่ง และ ชันขึ้น ... แต่ว่ากันว่า เป็นเทรลที่เดินสนุกมาก ใช้เวลาสั่นๆ ราว 2-4ชม.
นอกจากเส้นทาง trekking จะมีวิวระหว่างทางที่สวยงามแล้ว .. เส้นทางนี้ ยังเป็นเส้นทางเดินริมหน้าผาที่เรียกได้ว่า สูงติดอันดับโลกเลยทีเดียว ด้วยความสูงของหน้าผากว่า 2,000 เมตร
ไฮไลท์ของที่นี่ก็คือ .. ช่องเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน โดยจะมีช่องที่เป็นส่วนที่แคบที่สุด ที่เป็นเรื่องเล่าตำนาน การหนีนายพรานที่ตามล่าเสือ โดยเสือกระโดดข้ามแม่น้ำที่ช่องเขา และเป็นที่มาของชื่อ “หุบเขาเสือกระโจน” นั่นเอง
โฆษณา