Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Knowledge is Power
•
ติดตาม
24 มิ.ย. 2023 เวลา 06:34 • การศึกษา
ว่าด้วยเรื่องการสะกดคำในภาษาไทย
เหตุที่มาของประเด็นนี้ มีงานเขียนของฝรั่งคนหนึ่ง David Crystal กล่าวว่าการสะกดคำในภาษาอังกฤษนั้นซับซ้อนและไม่มีรูปแบบเป็นมาตรฐาน
ในฐานะชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งที่ใช้ภาษาไทยจึงเกิดความสงสัยว่า การสะกดคำในภาษาไทยคงจะมีความซับซ้อนไม่แพ้กันหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำหรือเปล่า ? รวมถึงภาษาไทยมีรูปแบบการสะกดคำเป็นมาตรฐานหรือไม่ ?
การค้นหาคำตอบได้เริ่มขึ้น...
เริ่มด้วยเรื่องมาตรฐานการสะกดคำก่อน
คิดแบบผิวเผินโดยนึกถึงการสะกดคำง่าย ๆ อย่าง "กิน" "นอน" ก็คงใช้หลักการเดียวกันประกอบสร้างด้วยพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ซึ่งถือว่าไม่ยากหรือซับซ้อนเกินไป แต่หากคิดแบบลึก ๆ นึกถึงคำยาก ๆ ที่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ ไม่ค่อยได้ใช้อย่าง "พระปฤษฎางค์" "วิปลาส" คงจะใช้หลักการเหมือนคำว่า "กิน" "นอน" ไม่ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทย (บางคำ) มีความซับซ้อนและยากมากที่จะ(เขียน)สะกดให้ถูกต้อง
ต่อมา แล้วอะไรเป็นองค์ประกอบที่ทำให้การสะกดคำภาษาไทย (บางคำ) มีความซับซ้อนและไม่มีรูปแบบเป็นมาตรฐาน
จากการรวบรวมเรียบเรียงโดยสังเขป พอจะสรุปได้ว่า
การสะกดคำในภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น "การอ่านสะกดคำ" หรือ "การเขียนสะกดคำ" มีรายละเอียดมากและไม่มีรูปแบบเป็นมาตรฐานหนึ่งเดียว กล่าวคือ "คำ" บางคำไม่แน่นอนว่าจะต้องประกอบสร้างขึ้นจากพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เพียงอย่างเดียว หรือประกอบสร้างอย่างสัทอักษร (phonetic alphabet) ที่ใช้อักษรแทนเสียงเป็นสำคัญ
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ (กาญจนา นาคสกุล และคณะ, 2554) ได้เรียบเรียงคำอธิบายเกี่ยวกับการอ่านคำในภาษาไทยในภาพรวมไว้ว่า เนื่องจากคำที่ใช้ในภาษาไทยไม่ใช่คำไทยล้วนอย่างเดียว แต่มีคำจากภาษาอื่นและภาษาถิ่นด้วย ตัวอักษรก็ยังมีมากกว่าหน่วยเสียง อักษรบางตัวหน่วยเสียงก็เหมือนกัน รวมถึงคำบางคำยังใช้รูปการเขียนแบบโบราณ ส่งผลให้เกิดการอ่าน เขียน และตีความความหมายของคำบางคำต่างกัน เช่น คำพ้องต่าง ๆ นอกจากนี้ บางยุคสมัยอาจมีการดัดแปลง ตกแต่งรูปแบบการเขียนให้สอดคล้องกับการออกเสียง ความนิยม และลักษณะพิเศษบางประการของภาษาด้วย ดังที่ปราณี บุญชุ่ม (กาญจนา นาคสกุล และคณะ, 2554) กล่าวถึงการเขียนสะกดคำไว้ว่า ต้องศึกษาการใช้สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่าง ๆ เช่น คำยืม คำทับศัพท์ คำย่อ ชื่อเฉพาะต่าง ๆ เป็นต้น
ดังนั้น เป็นที่แน่นอนว่าการสะกดคำในภาษาไทยมีความซับซ้อนคล้ายการสะกดคำในภาษาอังกฤษ และไม่มีรูปแบบเป็นมาตรฐานหนึ่งเดียวเช่นกัน ทั้งนี้หากพิจารณาระหว่าง "การอ่านสะกดคำ" กับ "การเขียนสะกดคำ" อะไรเป็นสิ่งที่น่ากังวลมากกว่ากัน สำหรับผมการเขียนสะกดคำอาจจะต้องใช้ภูมิรู้ ความจำ และความพยายามมอย่างมาก
ปลา อ่านว่า ปลา
แต่เมื่อต้องเขียนคำว่า (มัด-ฉา) มันยากอยู่นะครับ ถ้าไม่เคยเห็นหรือได้ยินมาก่อน 😊
อ้างอิง
กาญจนา นาคสกุล และคณะ. (2554). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 1 ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านคำ การเขียนสะกดคำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
ภาพ David Crystal :
https://en.m.wikipedia.org/wiki/David_Crystal
ความรู้รอบตัว
ประวัติศาสตร์
ภาษา
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย