Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
“วันละเรื่องสองเรื่อง”
•
ติดตาม
24 มิ.ย. 2023 เวลา 07:07 • ความคิดเห็น
การสังเกตุพลวัตรการเปลี่ยนแปลงเรื่องคนในสาย Product
ใน 6 เดือนมานี้ มีโอกาสได้ทั้งสัมภาษณ์งาน และทั้งสัมภาษณ์ Product Manager, Product Owner roles ทั้งจากภายในบริษัทและ ภายนอก >200 คน จริงๆ มันก็คือเรื่องงานแหละ แต่ตัวเลขหลักขนาดนี้ ผมเห็น pattern การเปลี่ยนแปลงของบุคคลากรโดยเฉพาะ Role PO/PM ดังนี้ (เฉพาะในไทยละกันนะ เพราะผมคุยกับคนไทยเกือบทั้งหมด)
“Details ที่น่าสนใจ”
1. PO/PM มักเป็นผู้หญิงในสัดส่วนที่มากกว่าผู้ชาย อาจจะด้วยงานที่ต้องสื่อสารมาก ยิ่งผู้ชาย tech skills คงไม่ชอบคุยเท่าไรเลยเห็นเป็นผู้หญิง >70% พวกที่สามารถนำไปใช้งานได้ ต้องทำงานมาแล้วใน role นี้อย่างน้อย 2 ปี
2. Skills และคนที่มีประสบการณ์ Product Owner จริงๆ ที่เป็นคนไทยจะพบว่ากระจุกตัวแถว industry - Bank, FinTech, Retail, eCommerce หรือ ไม่ก็ start up product เล็กๆ เท่านั้น
3. Junior ที่มีความสามารถ ยังมองไม่เห็นคนที่เงินเดือนเรตต่ำกว่า 50K+/- ส่วนระดับ Head range จะกว้างมาก แต่เฉลี่ยจะต้องแถวๆ 200K+/- ทั้งสิ้น (ดังนั้น เฉลี่ย role นี้ที่เห็น junior 50K, Senior 70-100K, Lead+ ต้องหลัก 100-200K, Head 200K+/- (อันนี้แค่นั่งบันทึกส่วนตัวดูนะครับ อาจจะผิด แล้วพวกเรื่องเพดานพวกนี้อาจจะขึ้นกับนโยบายแต่ละองค์กร)
4. Skills ความสามารถ PO ตอนนี้จะต้องเป็น hybrid (แปลว่าต้องเริ่มได้ก่อนที่ technical skills >> แต่ต้องเป็นคน technical ที่สนใจ Customer มากๆ และใส่ใจ UX/UI ศาสตร์พวกนี้มากๆ ไม่ judge ด้วยตัวเองแต่ผสม data >>> นี่คือลักษณะของ PM/PO ที่ผมรู้สึกว่าในกลุ่มที่เก่ง
5. ส่วนกลุ่มทั่วไป จะขึ้นกับบริษัท โดยเฉพาะถ้าสาย bank ก็จะฉีกงาน silo บางคนเอา scrum มาใช้แบบครึ่งๆ กลางๆ เยอะ บางคน PO ค่าตัวแพงแบงค์ให้ดูดีๆ ความจริง อาจเป็นแค่ BA (แต่เค้าก็จะเขียน tech flow/user flow, หรือ create story ใน jira เก่ง) >> แต่ไม่รู้ภาพใหญ่ทั้งนั้นในกลุ่มนี้
6. คนที่จะรุ่ง ต้อง A-Must “Tech skills” เพราะว่าองค์กรต้องใช้ เทคโนโลยีแทนมนุษย์ การที่ PM/PO จะเข้าใจเรื่องการ เสนอ solution ได้ต้องเข้าใจความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี ดังนั้น ที่มองเห็นสาย PM/PO ที่ turn มาจาก Business จะน้อยลงเรื่อยๆ (แต่คนเน้นสร้างจาก tech ให้เป็น technical business มากกว่า)
7. คนที่มีความสามารถ คือ คนที่สามารถ unlearn ความสำเร็จของตัวเอง แล้ว relearn เรื่องใหม่ๆ ได้
8. การทำงานตาม framework ดังๆ จะ Agile/scrum or whaterver ที่เป็น iteration เป็น “Foundation” ที่ต้องมี มักพบการผสมผสาน waterfall, mini-waterfall, fire fighter, iterration ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของแต่ละคนที่เจอ แต่คนที่เก่งคือต้องมีทักษะ “Project management แบบผสมผสานได้ เพื่อให้ได้ commitment ต่างหาก”
9. วัฒนธรรมองค์กรสำคัญในการ facilitate ความเป็นไปได้ของ role PM/PO ถ้าวัฒนธรรมองค์กรที่คนกลุ่มนั้นอยู่เป็น Top-down มันก็ยากที่จะเป็นลักษณะของการออก customer-concentric products >>> แต่ที่น่าสนใจ PO/PM ที่เก่งจะไม่ได้ทิ้งอัตตาว่าถ้าไม่ได้มาจากลูกค้าจะไม่ใช่ แต่เขาเน้นการผสมผสานของ goals ของผู้ว่าจ้าง และลูกค้าไปด้วยกันอย่างพอดี
10. ที่สอนๆ ทักษะกัน certified ระดับโลกมากมาย จริงๆ แล้วข้อดีคือ “เป็นเกียรติกับผู้ได้เท่านั้น” ไม่ได้บอกถึง “ความสามารถใดๆในการทำงาน PO/PM ได้” >>> แนะนำให้คุยถึงปํญหาหนักๆ ที่เค้าเจอและผ่านได้ดีกว่าถ้าเราอยากรู้เขาคือ PO/PM ที่เก่งไหม บางทีไม่มี certified ใดๆ อาจโคตรเก่งเลยก็ได้
“โอกาส”
1. PM/PO คนไทยกระจุกมากไปที่สาย bank, FinTech, retail ซึ่งน่านน้ำเดือดนะ…ต้องลองหา specialize skills ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ดีกว่าถ้าอยากเติบโต
2. เหนือสิ่งที่เป็น Hardskills คือ “การสื่อสาร และไหวพริบที่เฉียบคม การเป็นผู้ประสานสิบทิศได้” จะเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดของ PO/PM
3. เวลาหลังยุคโควิท หรือเผาจริง ในช่วงยุคก่อนมีคนสอนต้องใช้เวลาเยอะไป validate ต่างๆ ทั้ง pains, problems หรือหาลูกค้า แต่ยุคนี้ คนที่โต จะต้องมองเห็น business model (การทำเงิน) ในจินตนาการ แล้วทำให้เร็วที่สุดโดยย่นย่อเวลาที่ต้อง valid ต่างๆ
4. AI/Data ใครไม่มีใน product roadmap หรือไม่มีในแผน valid คุณกำลังเป็น PM/PO ที่ตกยุค (ผู้สัมภาษณ์ผมที่เข้าท่าเยอะมากจะเกริ่นเรื่องนี้)
(หมายเหตุ : กลุ่มตัวอย่างมาจากการนั่งคุย ไม่ได้มี methodology การวิจัยใดๆ เป็นแค่การสังเกตุแและสรุปของกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่ผมได้คุยในครึ่งปีมานี้)
#วิจัยสามบาทห้าบาท
#วันละเรื่องสองเรื่อง
productmanager
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย