24 มิ.ย. 2023 เวลา 13:22 • การศึกษา

ภาษาทารก

สังเกตุ #ภาษาทารก
การพูดคำเดิม ๆ ซ้ำ ๆ น้ำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ รวมถึงการปรับรูปหน้ารูปปากประกอบขณะพูดของผู้ใหญ่ อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ภาษาของเด็กทารก
จริงเท็จประการใดให้สังเกตคุณแม่หรือตัวเราเองเวลาพูดคุยกับเด็กทารก ซึ่งมักจะกระทำคล้ายดังที่กล่าวมา...
บ่อยครั้ง ยังมีอีกหลายสถานการณ์น่าสนใจที่เรามักจะใช้ภาษาทารก เช่น ตอนคุยกับแฟนแสนหวาน ตอนคุยกับสัตว์เลี้ยงแสนน่ารัก ตอนอกหักจากดาราหน้าจอ
"งืออง้อเจ๊าหย่อยจ้อม่ายล่ายยยย"
ขณะเดียวกัน หากสมมติว่าเราเป็นเด็กทารกแล้วลืมตาตื่นขึ้นมาพร้อมได้ยินใครสักคนพูดกับเราว่า "ไอ้ต้าวน่ารักเอ้ย! น่ารุกจุงบูยยยย"
โลกใหม่ใบนี้คงจะน่าสนใจไม่ใช่น้อย...
แอะ อี แอ อะ อี๊ด อา
(จำไปใช้บ้างดีกว่า)
จากเสียงร้องเป็นคำ
เด็กทารกมีพัฒนาการตามธรรมชาติ ภาษาก็เช่นกัน เมื่ออายุเริ่มมากขึ้นหลายเดือนเสียงร้องจะเริ่มมีจังหวะทำนองที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ และบางเสียงจะเริ่มถูกเชื่อมโยงเข้ากับคำในภาษาแม่ (ปา ปา มา มา) เกิดการเรียนรู้ จดจำ รวมถึงเลียนแบบคำอื่น ๆ ของภาษาแม่ในที่สุด
----
อ้างอิง
คริสทัล, เดวิด. ภาษา: ถอดรหัสมหัศจรรย์การสื่อสารของมนุษย์. กรุงเทพฯ : บุ๊คสเคป, 2563.
โฆษณา