25 มิ.ย. 2023 เวลา 06:04 • การตลาด

สรุป storytelling canvas ที่ต้องแชร์เก็บไว้ 👍

จาก session Storytelling Canvas : เทคนิคการเล่าเรื่องที่ทุกคนก็ทำได้
โดย 🎤คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร, Chief Customer Officer SCBX
ใน Session นี้ ได้เริ่มเล่าก่อนว่าชีวิตของเรามีแต่เรื่องเล่า
ไม่ว่าจะข่าว หนัง การพูดคุย เพลง และอื่น ๆ อีกมากมาย
และเรื่องเล่านี่แหละทำให้มนุษย์พิเศษขึ้นมา
โดยผมจะมาอธิบายแต่ละช่องของ canvas นี้กันครับ
1
เริ่มต้นจาก what if และ some world Time & Palace
2 ช่องนี้เป็น Imagination Trigger สำหรับเรื่องนี้ครับ โดยแยกเป็นดังนี้
What if (ถ้าสมมติว่า)
กล่องแรกนับจากบนซ้าย
โดย Story ที่ดี จะเริ่มต้นจากคำถามนี้ เช่น ถ้าหมาของทหารรับจ้างถูกฆ่าตาย เขาจะทำอย่างไร (John Wick)
some world Time & Palace
เป็นการโชว์เฉยๆไม่ได้บอกอะไร เพียงแต่ต้องกำหนดให้ชัด ชัดที่เวลาและสถานที่ บรรยายออกมาให้เห็นภาพ
ไม่บอกเวลาเป็นช่วง ต้องบอกเป็นปี ๆ เลย เพื่อกันความสับสน เช่น ปี 1970
ไม่บอกว่าถนนเหม็น แต่บอกว่าถนนมีคราบน้ำครำ มีหนูวิ่ง มีเศษอาหารหล่นตามพื้น
4
Character main
เป็นช่องที่ถัดลงมาจาก What if
นั่นคือตัวเอกมี flaw (ข้อตำหนิ) เช่น ตัวเอก จน พิการ ครอบครัวไม่เลี้ยง
และยิ่งช่องนี้กับช่อง want ที่อยู่บนขวาสุดต่างกันมากเท่าไหร่ ตัวละครจะยิ่งเท่มากเท่านั้น
1
Inciting incident
เป็น cause-and-effect event
หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เรื่องดำเนินต่อ เช่น อยู่บ้านอยู่ดีๆก็ไปเกณฑ์ทหาร มาเฟียมายิงหมาตัวเองตาย
1
Therefore
เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น เป็น twist ของเรื่อง
เป็นสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจว่าจะสู้หรือหนี (Fight or Flight) ซึ่งถ้าเนื้อเรื่องยังไม่จบจะเป็นการตัดสินใจที่ทำให้สถานการณ์แย่ลง โดยมีกี่ Therefore ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น 3 กล่องแบบตัวอย่าง
ส่วน need อยู่ด้านล่างกล่อง Therefore
คือ สิ่งที่ต้องการที่จะทำให้ผ่านเหตุการณ์นั้นไปได้
เช่น มีคู่หูไม่พอ มีเงินไม่พอ ขาดอุปกรณ์บางอย่าง
1
Stake
อะไรคือความเสี่ยงหรือเดิมพันนั้น หากตัดสินใจผิดหรือพลาดอีกไม่ได้แล้ว สิ่งนี้จะมีในหนัง ในเรื่องเล่าทุกเรื่อง
The last Battle
เป็น climax ของเรื่อง เช่น การต่อสู้ครั้งสุดท้าย บุกเดี่ยว 1 vs มาเฟีย
Resolution
ช่องที่อยู่ตรงการของขวาสุด เป็นช่องหลังผ่าน climax มาแล้ว จบสวยๆ ได้สิ่งที่บรรลุ
แต่ช่องนี้ ส่วนใหญ่มักจะไม่เหมือนกับช่อง want ที่อยู่ด้านบนครับ
เช่น ต้องการมีชีวิตที่สงบสุข แต่สิ่งที่ได้มา คือการคลายปมในใจออกไป
และช่องสุดท้าย คือ
Story Value และ Sum of Needs
เป็นบทเรียนที่ได้จากเรื่องนี้ที่หนังไม่ได้บอก แต่ให้เราวิเคราะห์
โดยการเล่าเรื่องนี้จะใช้ The psychology of curiosity โดยใช้ความสงสัยของมนุษย์มาทำให้เราอยากรู้ ใช้ unexpected twist ที่ทำให้คนอยากรู้ สามารถทำได้โดย
1 The presentation of a question or a puzzle เปิดด้วยคำถามหรือข้อสงสัย
2 The exposure of events with unknown resolution ทำให้เห็นตอนจบที่คาดเดาไม่ได้ จนเกิดความสงสัย อยากรู้ เช่น ตัวเอกของเรื่องจะตายหรือไม่
3 The violation of expectation that triggers explanation สิ่งที่เกิดไม่ใช่สิ่งที่คิด
4 The knowledge of possession of knowledge by someone หรือปมนี้จะแก้ไขได้โดยใคร
ใน session นี้มีตัวอย่างบุคคลที่ใครพูดชื่อก็รู้จัก หากพูดถึงการย้ายไปอยู่ดาวอังคาร
บุคคลนั้นคือ Elon Musk โดย
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราจะย้ายไปอยู่ดาวอังคารด้วยเหตุผลว่าคนเต็มหรืออาหารหมด โดย Elon Musk
จากประวัติของเขาที่ขาย Paypal และนำเงิน 1 ใน 3 ไปลงทุนในบริษัท SpaceX
จุด trigger คือ ตอนที่เขาไปเสมอจรวดกับรัสเซียแต่ถูกปฏิเสธ ทำให้เขาคิดจะสร้างจรวดเองเลย
และแน่นอนครับ มันล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีก พอสร้างจรวดได้จริง ก็แพงเกิน
เขาได้ใช้เงินลงทุนก้อนสุดท้ายเพื่อพัฒนาให้จรวดมันรีไซเคิลได้ และก็สำเร็จ
ประหยัดไปได้มาก เพราะครั้งนี้ใช้เงินไปเพียง 1 ใน 100 จากของเดิม
แม้จุดเริ่มต้นตอนแรกคือไปดางอังคาร แต่ผลที่ได้คือการสร้างจรวดที่รีไซเคิลได้
ทำให้เขาเรียนรู้ว่าธุรกิเกี่ยวกับอวกาศกำลังมา และแน่นอนว่าเขาไม่หยุดแค่จรวดนี้แน่นอนครับ
1
นี่ก็เป็นตัวอย่างของเรื่องเล่าธุรกิจจริงๆที่มาจากประวัติของ Elon Musk จริงๆโดยใช้ canvas นี้ครับ
ถ้าอยากฝึกใช้จริง ๆ พี่ตูนแนะนำว่ายังไม่ต้องเขียนเรื่องมาใหม่ก็ได้ครับ
เพียงวิเคราะห์จากหนังหรือเวลาที่ใครเล่าเรื่องอะไร โดยใช้ canvas นี้นั่นเองครับ
.
ใครชอบสรุปแบบนี้หรือนำไปลองทำแล้วเป็นอย่างไร คอมเมนท์บอกกันได้เลยครับ
อย่าลืมกดติดตามอยากสรุป เพื่อติดตามสาระดีๆ แบบนี้กันได้เลยครับ
.
#CTC2023 #อยากสรุป #storytellingcanvas
โฆษณา