28 มิ.ย. 2023 เวลา 10:06 • ธุรกิจ

เกิดอะไรขึ้นกับ 'เซเว่นอีเลฟเว่น' ในอินโดนีเซีย ?

คงเป็นเรื่องยาก ที่เราจะเห็นอภิมหาแฟรนไชส์อย่าง ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ไปแพ้ที่ประเทศไหนสักประเทศในเอเชีย
1
เพราะปัจจุบัน นี่คือแฟรนไชส์ที่มีจำนวนสาขามากกว่า 80,000 สาขาใน 19 ประเทศทั่วโลก เอาแค่ที่อยู่ในเอเชียก็ปาเข้าไปเกินครึ่ง และตีแตกจนเกือบหมดแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี(ใต้) ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ รวมถึงบ้านเรา
แต่เชื่อหรือมีอยู่ประเทศหนึ่งที่ไม่ว่า ‘เซเว่น’ จะเข้าตียังไง สุดท้ายก็สู้ไม่ไหว พ่ายให้กับเจ้าบ้าน จนต้องคลานกลับออกมา
ประเทศนั้นคืออินโดนีเซียครับ
7
คำถามคือเกิดอะไรขึ้น ทำไมเซเว่นอีเลฟเว่นถึงพ่ายให้กับตลาดในอินโดนีเซีย ?
วันนี้ WDYMean จะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปในปี 2009 เซเว่นอีเลฟเว่น ถูกนำเข้ามาในอินโดนีเซียโดยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง PT Modern Internasional
1
PT Modern Internasional เป็นบริษัทสัญชาติอินโดนีเซียที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าแบรนด์สินค้า และอุปกรณ์เฉพาะทางต่างๆ
3
เอาที่พอคุ้นหูกันก็คือ เครื่องเอกซเรย์แบบ C-Arm และฟิลม์เอกซเรย์จากฟูจิฟิลม์
4
แต่ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในตอนนั้น ที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด
5
ด้วยจำนวนประชากรกว่า 240 ล้านคน และกว่า 20 ล้านคนในนั้นเป็นวัยรุ่นที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต ผู้บริหารของ PT Modern จึงเล็งเห็นแล้วว่า นี่ล่ะคือโอกาส
2
จากนั้นไม่นานพวกเขาก็กระโจนเข้าสู่ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ และเซเว่นอีกเลฟเว่นสาขาแรก ก็ได้เปิดตัวขึ้นกลางกรุงจากาตา
ในช่วงเริ่มแรก 'เซเว่น' ใช้กลยุทธ์เดียวกันกับคาเฟ่ คือจัดร้านให้เป็นที่นั่งชิล ฟรี WiFi แถมยังขายของราคาถูก
5
เป็นเหมือนซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดย่อมที่มีเครื่องดื่มครบครัน หวังดึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาเป็นอันดับแรก
2
ซึ่งก็ได้ผลครับ เพราะเซเว่นน้องใหม่นี้มัดใจกลุ่มเป้าหมายได้อยู่หมัด ทั้ง Slurpee ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มที่ถูกปากเด็กมหา'ลัย อย่างแอลกอฮอล์ แถมยังวางตัวเองอยู่ในเมือง มีที่จอดรถฟรี และเปิด 24 ชั่วโมง
4
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ดันให้ยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี
1
จากปี 2009 ที่เริ่มเปิดกิจการ
ปี 2010 เปิดสาขาที่ 21
ปี 2012 มีจำนวนสาขาแตะหลัก 100 สาขา
3
และในปี 2014 บริษัททำยอดขายรวม 971.77 พันล้านรูเปียห์ (ประมาณ 2,500 ล้านบาท) มากที่สุดตั้งแต่เปิดกิจการมา พร้อมจำนวนสาขาในมือที่มากถึง 190 สาขา ดูยังไงอนาคตข้างหน้าก็สดใสอย่างแน่นอน
4
แต่เราทุกคนรู้ดีว่ามันจะไม่เป็นอย่างนั้น
แล้วฝันร้ายของจริงก็มาเยือน เมื่อตัวเลขในปฏิทินขยับเลื่อนเป็นปี 2015
1
รัฐบาลประกาศแบนแอลกอฮอล์
เมษายนปี 2015 รัฐบาลอินโดนนีเซียประกาศแบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ให้วางขายตามร้านมินิมาร์ททั่วไป สถานที่ที่จะขายได้คือซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และคลับบาร์เท่านั้น
4
ถามว่าทำไม?
เหตุผลก็เพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมครับ การปล่อยให้ลูกหลานได้สัมผัสกับของมึนเมาถือเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักศาสนาอย่างรุนแรง
5
รัฐบาลจึงมีมาตรการขึ้นภาษีแอลกอฮอล์ และโยกทั้งหมดไปขายแต่ในห้างใหญ่ จะดีจะร้ายอย่างน้อยก็พอที่จะควบคุมได้ในระดับหนึ่ง
3
เมื่อเป็นอย่างนั้น คนที่ได้รับผลกระทบก็ไม่ใช่ใคร ก็ร้านเล็กๆ ทั้งหลายที่อยู่ได้ด้วยกลุ่มนักเรียนนักศึกษานั่นล่ะ
หลังจากมีมาตรการออกมา สิ้นปี 2015 ยอดขายของเซเว่นลดฮวบทันที 24% ส่วนกำไรไม่ต้องพูดถึง หายวับไปเลย 15%
4
แสดงให้เห็นว่าพวกเขาพึ่งพารายได้จากส่วนนี้มากจนเกินไป และจากนั้นมารายรับของบริษัท ก็ไม่เคยกลับไปในจุดที่เคยทำได้อีกเลย
2
ยอดขายของเซเว่นในอินโดนีเซีย (พันล้านรูเปียห์)
นอกจากปัญหาเรื่องการห้ามขายสุราแล้ว เซเว่นยังเจอกับอีกปัญหาหนึ่งที่ยังแก้ไม่ตก นั่นคือลูกค้าที่เข้ามา จ่ายเงินซื้อของในร้านน้อยเกินไป
5
จริงอยู่ที่การจัดร้านเป็นคาเฟ่ จะสามารถดึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาเข้ามานั่งชิลได้ แต่ส่วนใหญ่พวกเขาก็ซื้อกันแค่น้ำแก้วเดียว หรือขนมสองชิ้น แล้วก็นั่งเมาท์กันยาวๆ
3
ยิ่งไม่มีแอลกอฮอล์นี่ยิ่งแล้วใหญ่ เซเว่นกลายเป็นแค่สถานที่นัดเจอของกลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น
5
พอมีรายได้เข้ามาน้อยลง แต่ต้องจ่ายเพิ่มทั้งค่าไฟ ค่าเช่า ค่าสต็อกของ ต่อให้รวยมาจากไหนก็อยู่ไม่ไหวแน่ๆ สุดท้ายก็ต้องทยอยปิดกันไปทีละร้านสองร้าน
4
สิ้นปี 2016 จำนวนหน้าร้านของเซเว่นในอินโดนีเซียลดลงเหลือเพียงแค่ 161 สาขา
7
แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมด จุดเปลี่ยนจริงๆ ที่ทำให้เซเว่นในมือของ PT Modern ต้องระหกระเหินกลับบ้านเกิดไป ก็เพราะพวกเขาสู้เจ้าถิ่นที่ครองตลาดอยู่ไม่ได้เลย
3
ทั้ง Alframarts ที่อยู่มานานกว่า 20 ปี เข้าใจนิสัยคนอินโดฯ ทุกย่างก้าว
4
Alfamart
และ Indomaret เครือแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีสินค้าให้เลือกมากกว่า 5,000 ชนิด
3
Indomaret
สองเจ้านี้รวมกันมีหน้าร้านมากกว่า 25,000 สาขา หันกลับไปมองเซเว่นอีเลฟเว่นในขณะนั้นที่มีอยู่แค่หลักร้อย เทียบกันแล้วต่างกันชนิดไม่เห็นฝุ่น
4
ที่สำคัญคือ ทั้งสองเจ้านี้มีของให้เลือกเยอะมากๆ ถ้าให้เทียบคงเหมือนกับโลตัสบ้านเรา ที่ดูจะเข้าใจคนอินโดฯ มากกว่า ทั้งคนในเมือง และคนท้องถิ่น
4
ส่วนการแบนเครื่องดื่มแอลกอลฮอล์ ก็ดูจะไม่ส่งผลเท่าไหร่นัก เพราะกำไรของพวกเขาไม่ได้ไปกองรวมกันอยู่ตรงนั้น ขาดเหล้าเบียร์ไป เขาก็ยังมีของใหม่ๆ ให้เลือกซื้ออยู่ดี
6
เมื่อนำภาพทั้งหมดมาประกอบกัน ทั้งการแบนเหล้าสุรา นิสัยของผู้บริโภค และยักษ์สองตัว
2
ท้ายที่สุด PT Modern ก็ยื้อธุรกิจนี้ต่อไปไม่ไหว ทยอยปิดกิจการไปทีละสาขา
3
และในปี 2017 สองปีหลังจากรัฐออกมาตรการแบนสุรา 'เซเว่นอีเลฟเว่น' ในมือของ PT Modern Internasional ก็โดนย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศที่ชื่อ 'อินโดนีเซีย' ไปในที่สุด
4
ปิดฉากแฟรนไชส์ชื่อเดียวกันที่ตีตลาดบ้านเราแตก จนมีหน้าร้านแตะหลักหมื่นสาขาไปแบบงงๆ
4
#WDYMean
1
ถามว่าเรื่องนี้มันผิดพลาดตรงไหน ผมว่าการตลาดครับ คือผู้บริหารที่เอาเซเว่นเข้ามา ดูเหมือนจะไม่รู้ว่าจะปรับร้านให้เข้ากับวิถีชีวิตคนอินโดฯ ยังไง
3
ถ้ารู้ว่าวัยรุ่นชอบนั่งชิล น่าจะปรับร้านให้นั่งทำงานสะดวก เน้นโซน snack และเครื่องดื่มเช่นชา กาแฟ (เหมือน All Café)
1
ส่วนพรีเซนเตอร์ก็ดึงคนดังที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มวัยรุ่นมาช่วยโปรโมต (รู้สึกว่าแจ็คสัน หวัง เพิ่งจะมาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับเซเว่นบ้านเรา แถมยังเน้นธีมรักเมืองไทย มัดใจวัยรุ่นวัยทำงานได้แบบสุดๆ)
4
แจ็คสัน หวัง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็อาจจะมีตื้นลึกหนาบางที่เรายังไม่รู้อีกก็เป็นได้ บางทีทีมบริหารอาจจะชนเข้ากับตอจนไปต่อไม่ไหวจริงๆ และคิดว่าคงขอหยุดไว้แค่นี้
4
และทั้งหมดนี้ครับ ก็คือคำตอบของคำถามที่ว่า 'ทำไมเซเว่นอีเลฟเว่นถึงพ่ายให้กับตลาดในอินโดนีเซีย ?'
2
สวัสดีครับ
1
อ้างอิงจาก
จำนวนประชากรของอินโดนีเซีย
โฆษณา