30 มิ.ย. 2023 เวลา 09:53 • ธุรกิจ

กรมธนารักษ์คืออะไร กับการจัดการพื้นที่ดินว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน

กรมธนารักษ์คืออะไร เกี่ยวอะไรกับ Cape Shark Villas กับการจัดการที่ ระนองโมเดลถึงด่านช้างสุพรรณบุรี
ในประเทศไทย มีพื้นที่รกร้างจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าที่ไม่มีใครจับจองอีกทั้งบางพื้นที่รกร้างยังไม่มีผู้บุกเบิกแต่ประการใด ทางภาครัฐจึงได้มอบหมายหน่วยงานขึ้นมาหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังมีชื่อว่า "กรมธนารักษ์" มีหน้าที่เกี่ยวกับ
1.การปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้ใช้ จัดประโยชน์ และดำเนินการในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ 2.การจัดทำ นำออกใช้ และรับคืนเหรียญกษาปณ์และดำเนินการเกี่ยวกับเงินตราและงานรับจ้างทำของ 3.รับ-จ่ายเงินคงคลัง 4.ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ 5.จัดแสดง เผยแพร่และอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่ทำงานเบ็ดเตล็ดในด้านการจัดการดูแลทรัพย์สิน และสมบัติของแผ่นดินทั้งหมดรวมไปถึงการผลิตเหรียญกษาปณ์ ออกธนบัตรภายใต้สังกัดกระทรวงทรวงการคลัง
หารู้ไม่ว่าที่ดินรกร้างหรือที่ดิน ต่างๆนานาที่ไร้ซึ่งเจ้าของที่เป็นสมบัติของแผ่นดินจำนวนมากเป็นของกรมธนารักษ์ อย่างประเด็นร้อนเรื่อง Cape Shark Villas ล่าสุดที่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าที่ดินเกาะเต่า และพื้นที่ดังกล่าวเป็นของกรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแลและจัดการดูแล อีกทั้งกรณีของบ้านมั่นคงในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกือบทั้งหมดก็เป็นของกรมธนารักษ์ แม้จะเป็นองค์กรที่หลายคนอาจมองว่าเล็ก แต่ขอบเขตในการจัดการและหน้าที่ไม่ได้เล็กน้อยเลย
แม้ที่ดินจำนวนมากจะเป็นที่ดินที่ชาวบ้านในบ้านพื้นที่ต้องจ่ายค่าเช่า แต่อัตราค่าเช่าถือว่าถูกกกว่าที่ดินเอกชนที่ปล่อยให้เช่ากันเกือบหลายเท่าตัว เพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำกินที่เป็นพื้นที่ป่าที่ไม่มีเจ้าของที่เราจะยกตัวอย่างกรณีของระนองโมเดล
จากกรณีปัญหาความเดือนร้อนของชาวระนองอยู่อาศัยและทำประโยชน์ในที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองระนอง บริเวณพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง (อบจ.ระนอง) และเทศบาลเมืองระนองขอใช้ประโยชน์เดิม จากกรมป่าไม้ รวม 3 แปลง เนื้อที่ 484 ไร่ แต่หนังสืออนุญาตได้หมดอายุลงตั้งแต่ปี 2539 ปี 2540 และปี 2559
และยังไม่สามารถขอต่ออายุหนังสืออนุญาตได้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นผู้บุกรุกป่า ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนและส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก จึงมีการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวระนองเรื่อยมา นั้น
นายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) พร้อมด้วยนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) ได้ประชุมหารือร่วมกับนายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ ผวจ.จังหวัดระนอง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้เสียกว่า 100 คน เพื่อหาแนวทางการดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียวและป่าคลองเกาะสุย (บางส่วน) เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้แก่กรมธนารักษ์นำไปบริหารจัดการตามระเบียบ
สำหรับพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียวและป่าคลองเกาะสุย และเป็นพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีที่ปัจจุบันกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นผู้รับผิดชอบแทนกรมป่าไม้ ตั้งอยู่ในท้องที่ต.บางริ้นและต.เขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง เดิมเป็นพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมสภาพที่ผ่านการทำเหมืองแร่มาก่อน โดยในปี 2525 อบจ. ระนอง
ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้นำที่ดินไปจัดให้ราษฎรเช่าอยู่อาศัย และจัดให้เป็นย่านการค้าอุตสาหกรรม เนื้อที่ 242 ไร่2๒ งาน และในปี 2529 ได้รับอนุญาตเพิ่มอีก 224 ไร่ ส่วนเทศบาลเมืองระนองได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ เนื้อ 17 ไร่ 2 งาน
ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา อบจ. ระนอง ได้พยายามขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามไม่ให้อนุญาตการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนทุกกรณีแต่ยังไม่เป็นผล เนื่องจากติดเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าปลูกป่าทดแทน 20 เท่า ของพื้นที่ขอใช้ประโยชน์ ซึ่ง อบจ. ระนอง มีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะดำเนินการได้ และกระทรวงทรัพยากรฯ
ได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมือง จังหวัดระนอง ขึ้น โดยมีอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธาน คณะทำงานฯ ดังกล่าว ได้มีมติ เห็นชอบให้ดำเนินการการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ และส่งมอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการบริหารจัดการตามกฎหมาย สำหรับข้อระเบียบกฎหมายที่ติดขัด ให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปหารือร่วมกับกรมธนารักษ์ต่อไป
นอกเหนือจากในจังหวัดระนอง ใรอำเภอด่านช้างในจังหวะดสุพรรณบุรีก็มีพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นป่าและความคุมเคลือด้านเอกสารสิทธิ์ ที่ต้องดำการอย่างยุ่งยากและต้องผ่านกฎหมายนับหลายร้อยฉบับ ทำให้ต้องจัดการปัญหาโดยการให้กรมธนารักษ์เข้ามาจัดการและดูแลในการเก็บค่าเช่าที่ลดขั้นตอนและชาวบ้านในพื้นที่ได้ประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
แม้กรมธนารักษ์ตะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงการคลัง แต่อำนาจจัดการดูแลในส่วนต่างๆก็มีบทบาทสำคัญในการเป็นกลไกในการที่กระทรวงต่างๆใช้เป็นกลไกหรือตัวแปลสำคัญขับเคลื่อนการผลักดันให้ประชาชนมีพื้นที่ทำกิน และได้ประโยชน์สูงสุดจากที่ดินทุกตารางนิ้วในประเทศไทยของเรา
โฆษณา