30 มิ.ย. 2023 เวลา 17:34 • ไลฟ์สไตล์

ที่มาของการเริ่มวางแผนการเงิน

ทำงานที่รัก ทำงานที่อยากทำ ทำแล้วนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม ไม่เคยนึกเสียใจที่ทำงานนี้และยังคงอยู่ ยังคงทำต่อไป
แต่พอว่าด้วย “งาน” มันก็เหนื่ิอยนะ มีใครบ้างทำงานแล้วไม่เหนื่อย
พอเหนื่อย มันก็เกิดคำถามกับตัวเองว่า ต้องทำอีกแค่ไหน เมื่อไหร่ที่จะเรียกว่าตายได้ ที่ผ่านมาถือว่าชีวิตมีความหมายแล้วหรือยัง และดูเหมือนว่า เสียงเล็ก ๆ จากหัวใจมันเรียกร้องให้ทำสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขและอยากจะทำมันอีกครั้ง คือสมัยนศ. นอกจากสิงอยู่ร้านสุดสะแนน ตามร้านกาแฟ บนห้องชมรม เรายังขลุกอยู่ห้องสมุดทั้งวี่ทั้งวัน ดังนั้นสิ่งที่อยากมีและทำอีกครั้งคือ การ “มีเวลา” ได้อ่านหนังสือ โดยมีไอดอลคือรอมแพงที่อ่านประวัติศาสตร์จนเขียนนิยายเรื่องบุพเพสันนิวาส
คำถามเหล่านี้นำมาสู่การตั้งโจทย์ชัด ๆ ให้รูปธรรม คือ วัยนี้ 31 - 32 ปีกับเวลาอีก 20 ปีหลังจากนี้ มีอะไรต้องเตรียมความพร้อมบ้าง เพื่อที่จะ “มีเวลา” “ใช้ชีวิต” ในวัยเกษียณในแบบที่เสียงหัวใจมันเรียกร้อง เพื่อท้ายที่สุดแล้ว จะได้ตายอย่างสงบ
การมีเวลาใช้ชีวิตวัยเกษียณ รูปธรรมก็คือมี “บ้าน” และมี “เงิน” นี่จึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นวางแผนการเงิน บันทึกรายรับรายจ่าย ทะยอยปิดหนี้ คุมรายจ่าย หาทางหารายได้เพิ่ม กำหนดเป้าหมายเงินก้อนที่ต้องมี และเริ่มซื้อประกัน (ไว้ต่อ ๆ ไปจะมาแบ่งปันว่าทำบัญชีรายรับรายจ่ายยังไง และทำไมต้องทำประกัน รวมถึงเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับการวางแผนการเงิน)
ส่วนในทางการเมืองหรือความฝันที่อยากเห็นประเทศนี้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ชีวิตของทุกคนมี “คุณภาพ” มากขึ้น การที่ก้าวไกลชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ สำหรับเรา เราไม่ห่วงอะไรอีกแล้ว (เว้นแต่ใครจะมาหยุดเวลาลงอีก) สังคมมันน่าจะก้าวผ่านยุคสมัยอันมืดมิดมาแล้ว และในช่วง enlightenment นี้ ก็ผลักดันหนุนเสริม เอาใจช่วยในบางเรื่อง และทำเท่าที่ทำได้ ให้มัน radical มากขึ้น ก็ยังคงทำต่อ ทำไป แต่แบ่งกำลังกาย กำลังใจ มาหารายอีกทางด้วยแล้ว เท่านั้นเอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา