1 ก.ค. 2023 เวลา 02:00 • ความคิดเห็น
การลงทุนในระบบขนส่งมวลชนโดยรัฐหรือเอกชนก็ตาม มีสูตรการคำนวณความคุ้มค่าของการลงทุนค่ะ มีขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมฯ เรียกว่า feasibility study ไม่ใช่เรื่องที่คิดเองหรือใช้ความรู้สึก และไม่ได้ดูแต่จำนวนผู้โดยสารเท่านั้น ยังมีตัวชี้วัดอื่นๆทั้งที่เป็นตัวเลขเห็นชัดและพารามิเตอร์อื่นๆเช่น ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดการณ์เศรษฐกิจ ฯลฯ
รถไฟฟ้าในจังหวัดต่างๆเป็นเรื่องของท้องถิ่นจังหวัดนั้นๆค่ะ เช่นในกรุงเทพฯ BTS เป็นของ กทม / MRT เป็นของ รฟม / ARL เป็นของการรถไฟฯ (รฟฟ ต่างประเทศเรียกว่า Metro Subway Underground เป็นต้น)
รถไฟฟ้าทุกแห่งในโลก ไม่มีที่ไหนสามารถทำกำไรจากการขายตั๋วโดยสารเพียงอย่างเดียวค่ะ แม้จะมีธุรกิจต่อเนื่องพ่วงตามมา เช่นการเช่าพื้นที่ทำร้านค้า ป้ายโฆษณา ฯลฯ ก็ยังไม่ใช่ทุกแห่งที่จะไปถึงจุดที่ทำกำไรได้
ผู้ลงทุนจะมองด้านอื่นประกอบด้วย เช่น ถ้าเป็นเอกชนจะดูระยะเวลาสัมปทาน ที่ดินตามแนว รฟฟ & ใกล้เคียงราคาพุ่ง (ไปกว้านซื้อไว้ก่อนเพื่อเก็งกำไร & ทำกำไรเอามาโป๊ะที่ขาดทุนจากตัวโครงการ) ถ้าเป็นโครงการที่ลงทุนโดยรัฐ จะดูตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดหรือพื้นที่ใกล้เคียง
อีกทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ผู้ลงทุนกู้มาทำโครงการ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งค่ะ (บางโครงการชนะประมูลแล้วยังไม่ยอมเริ่มสร้างซะที เพราะเค้ารอกู้เงินช่วงดอกเบี้ยขาลง)
และอีกเรื่องที่คนไม่ค่อยรู้คือ การเจรจาตกลงแบบ G2G รัฐไทยตกลงซื้อ รฟฟ จากประเทศใดประเทศหนึ่ง แลกกับข้อตกลงที่ประเทศนั้นจะซื้อสินค้าจากประเทศเรา
ตอบซะยาว!!
สรุปว่า..ไม่สามารถใช้คำว่า "จำเป็นหรือไม่จำเป็น" เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกว่าแค่เรื่องความจำเป็นค่ะ
โฆษณา