Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Preservation Pokpong
•
ติดตาม
2 ก.ค. 2023 เวลา 10:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
พิษณุโลก
แผ่นดินไหวกับการรายงานข่าวที่ผิดจนชิน
อย่างที่เราทราบกันดีครับว่าในวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา
ได้มีแผ่นดินไหวขนาด 4.5 แมกนีจูด เกิดขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ ที่อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เมื่อเวลาประมาณ 00:17 น.
แต่ในส่วนของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว ไว้ถ้ามีโอกาสผมจะมาเล่าให้ฟังในภายหลังนะครับ เพราะนั่นไม่ใช่จุดที่เราจะมาโฟกัสกันในวันนี้ครับ
ผมอยากให้ทุกคนได้ย้อนกลับไปอ่านข้อความในเครื่องหมายคำพูดของผมอีก 1 รอบครับ เพราะข้อความดังกล่าวมีจุดที่ผิดพลาดอยู่ 1 จุดครับ
3
2
1
โอเค ผมว่าทุก ๆ คนคงย้อนกลับไปอ่านข้อความนั้นกันแล้ว ลองดูนะครับว่าสิ่งที่คุณคิด จะใส่สิ่งที่ผมเฉลยรึเปล่า
คำตอบคือ แผ่นดินไหว "ขนาด 4.5 แมกนีจูด" ครับ เพราะแมกนีจูดนั้น "ไม่ใช่หน่วยในการวัดขนาดของแผ่นดินไหว" และ "ไม่ใช่ชื่อของมาตราในการวัดขนาดแผ่นดินไหว" ครับ
แมกนีจูดเป็นเพียง "ประเภท" ของมาตราวัดแผ่นดินไหวครับ
หากเราสามารถแบ่งวิธีการวัดแผ่นดินไหวเราสามารถมีวิธีใช้ได้ 2 ประเภทด้วยกันครับคือ
- มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude Scale)
- มาตราวัดความเสียหายของแผ่นดินไหว (Intensity Scale)
ในส่วนของมาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude Scale) นั้น เราจะทำการวัดขนาดของแผ่นดินไหวจากกำารใช้เครื่องมืออย่าง Seismograph ในการคำนวณเพื่อหาขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง
โดยมาตราที่เอาไว้ใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหวที่เราคุ้นเคยก็อย่างเช่นมาตราริกเตอร์ (Richter Magnitude Scale) ซึ่งไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน และมาตราโมเมนต์ (Moment Magnitude Scale) ซึ่งเป็นมาตราที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
มาตราโมเมนต์ (Moment Magnitude Scale)
โดยขนาดของแผ่นดินไหวนั้นจะ "ไม่มีหน่วย" และมีเพียง "ค่าเดียว" เท่านั้น ฉะนั้นการที่เราคุ้นหูกับแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ หรือ แผ่นดินไหวขนาด 4.5 แมกนีจูดจึงเป็นการรายงานที่ผิด
หากเราต้องการรายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ถูกต้อง จึงควรรายงานว่า
"แผ่นดินไหวขนาด 4.5" หรือ "แผ่นดินไหวขนาด 4.5 ตามมาตราโมเมนต์"
อีกวิธีหนึ่งที่สามารถวัดแผ่นดินไหวได้คือการวัดโดยการใช้มาตราวัดความเสียหาย (Intensity Scale) โดยการวัดขนาดความเสียหายนั้น "สามารถมีได้หลายค่า" เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ ได้รับอิทธิพลจากแผ่นดินไหวต่างกัน
มาตราวัดความเสียหายที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ มาตราเมอร์คัลลีฉบับปรับปรุง (Modified Mercalli Intensity Scale) โดยการเขียนรายงานความเสียหายในแต่ละพื้นที่นั้น เราจะต้องยึดลักษณะที่เสียหายมากที่สุดเป็นหลักและเขียนรายงานเป็นเลขโรมัน
มาตราเมอร์คัลลีฉบับปรับปรุง (Modified Mercalli Intensity Scale)
ฉะนั้น หวังว่าหลังจากนี้ ทุกคนก็คงสามารถรายงานขนาดของแผ่นดินไหวกันได้อย่างถูกต้องแล้วนะครับ
แผ่นดินไหว
ธรณีวิทยา
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย