2 ก.ค. 2023 เวลา 02:57 • ข่าวรอบโลก

ล่าสุด Nord Stream ความจริงเริ่มปรากฏ หักล้างหลายทฤษฎีก่อนหน้า

จากข้อมูลสืบสวนของทีมสืบสวนอิสระ วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ
ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2023 (วันที่ 27-28) มีบทความรายงานเผยแพร่เกี่ยวกับการสืบสวนเรื่อง “การก่อวินาศกรรมท่อก๊าซนอร์ดสตรีม” ที่แสดงหลักฐานล่าสุดจากที่เกิดเหตุ ผ่านการวิเคราะห์ประมวลผลและสรุปผลออกมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดยทีมสืบสวนอิสระ คือ The Grayzone (GZ) กับ The Intercept_
2
ข้อมูลวิเคราะห์ที่ได้รวบรวมในบทความนี้มาจาก Erik Andersson วิศวกรชาวสวีเดนที่เคยทำงานกับ Boeing และ Volvo ส่วนอีกคนคือ Michael Kobs นักสืบสวนแบบโอเพ่นซอร์สที่มีพื้นฐานความรู้ด้านวิศวกรรม
1
กว่าเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมาหลังเกิดเหตุการณ์ท่อก๊าซนี้ระเบิดเมื่อช่วงกันยายน 2022 มีการตั้งทีมการสืบสวนทางการในแต่ละประเทศที่อยู่บริเวณที่เกิดเหตุ ซึ่งทำงานแยกกันไม่ใช่ระดับสากล โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่พบแต่อย่างใด และยังมีรายงานข่าวจากสื่อต่างๆ รวมถึงการตั้งทฤษฎีความเป็นไปได้หลากหลาย เพื่อนำมาสู่คำตอบของคำถามที่ว่า “ใครทำ ทำเพื่ออะไร” ซึ่งแน่นอนคำตอบจากผู้อยู่ฝั่งหนึ่งก็มักจะโบ้ยให้เป็นฝีมือของฝั่งตรงข้าม อีกฝั่งก็ปฏิเสธตามมา ไม่มีใครออกมายอมรับแต่อย่างใด
1
ส่วนใหญ่สื่อที่เป็นทางการของฝั่งตะวันตกจะมุ่งเน้นไปที่การหาหลักฐานที่ใช้ในที่เกิดเหตุ เช่น ยานพาหนะที่ใช้ ตัวบุคคลต้องสงสัย ส่วนทีมสืบสวนอิสระที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจะเน้นไปที่การเก็บหลักฐานหรือพิสูจน์หาร่องรอยในที่เกิดเหตุเสียมากกว่าโดยใช้เครื่องมืออย่าง โดรนใต้น้ำ คลื่นโซนาร์ ที่ผ่านมาดูเหมือนต่างคนจะพลาดสิ่งสำคัญไปสิ่งหนึ่งคือ “ตำแหน่งของการวางระเบิด ขนาดและรูปร่างของระเบิด”
2
เครดิตภาพ: Reuters
ย้อนกลับไปเมื่อเหตุการณ์ท่อก๊าซสาย Nord Stream 2 ระเบิด เมื่อเวลา 2.03 น. ของวันที่ 26 กันยายน 2022 (เกิดคลื่นไหวสะเทือนขนาด 1.8) ปรากฏว่ามีเพียงท่อเดียว เส้น A ที่ถูกทำลายจากการระเบิด แต่ยังมีก๊าซอยู่ในเส้น B ซึ่งยังสามารถส่งก๊าซจากรัสเซียไปเยอรมนีได้อยู่ ต่อมาอีก 17 ชั่วโมง ในเวลา 19.04 น. เกิดเหตุท่อก๊าซสาย Nord Stream 1 ระเบิดทั้งสองเส้น (เกิดคลื่นไหวสะเทือนขนาด 2.3) พร้อมกับ Nord Stream 2 สาย A ที่อยู่ใกล้กัน
1
  • สรุปคือ ท่อก๊าซแต่ละสาย Nord Stream 1 & 2 มีท่ออยู่อย่างละ 2 เส้น รวมเป็น 4 เส้น ที่ถูกระเบิดทั้งหมดมี 3 เส้น เหลืออยู่เส้นหนึ่งของ Nord Stream 2 ที่ยังไม่ระเบิดคือ สาย B เพื่อให้เห็นภาพยิ่งขึ้น สามารถดูได้จากรูปด้านล่าง
เครดิตภาพ: The Intercept_
  • ทำไมไม่ระเบิดทั้ง 4 เส้น เหลือไว้เส้นเดียว?
Andersson และ Kobs พวกเขาเชื่อว่าผู้กระทำความผิดในการก่อวินาศกรรมครั้งนี้มีความตั้งใจที่จะวางระเบิดที่ท่อส่งก๊าซทั้ง 4 เส้น แต่ถ้าเราสังเกตจากแผนที่ของจุดเกิดระเบิดตามด้านบน จะเห็นว่า Nord Stream 2 เส้น A ถูกวางระเบิดถึง 2 ครั้ง แต่เส้น B ไม่ถูกระเบิดแต่อย่างใด โดยมีระยะทางห่างกัน 72 กิโลเมตร และในเวลาต่างกัน 17 ชั่วโมง แล้วทำเพื่ออะไรหรือเกิดอะไรขึ้น
1
Andersson ได้อธิบายหนึ่งเหตุผลที่เป็นไปได้คือ การมีสายไฟขนาดใหญ่วางอยู่ก้นทะเลใกล้กับจุดที่เกิดการระเบิดของ Nord Stream 2 ครั้งที่ 2 ซึ่งเกิดการเหนี่ยวนำและทำให้เกิดการบิดเบือนของสนามแม่เหล็กโลกอย่างหนักจนเข็มทิศสามารถอ่านค่าผิดพลาดได้ถึง 180° (เขาสังเกตเห็นปรากฏการณ์นี้เช่นกันในตอนที่ไปสำรวจจุดเกิดเหตุระเบิดครั้งที่ 2) ดังนั้นจึงทำให้นักประดาน้ำที่ก่อเหตุอ่านทิศทางจากเข็มทิศผิดพลาด จึงพลาดไปวางระเบิดกับเส้น A แทนที่จะเป็นเส้น B ซึ่งอยู่ห่างกัน 50 เมตร
3
เครดิตภาพ: Graphic: The Intercept / Sonar images by Patrik Juhlin of the Baltic Explorer and Erik Andersson
  • ขนาดความเสียหายของท่อก๊าซ ไม่ได้ขึ้นกับขนาดของระเบิดที่ใช้อย่างเดียว
1
จากภาพถ่ายทางอากาศบนมุมสูง เครื่องบินบันทึกภาพก๊าซมีเทนปริมาณ 75,000 – 230,000 ตัน ที่ผุดขึ้นมาบนพื้นผิวทะเลบอลติก นักวิจัยแผ่นดินไหวกล่าวว่าเทียบเท่ากับแรงระเบิดที่มนุษย์สร้างขึ้นคือ ทีเอ็นที 700 กิโลกรัม แต่ทว่าจากการสืบสวนและพิสูจน์ล่าสุดพบว่า แรงระเบิดดังกล่าวไม่ได้เกิดจากวัตถุเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจาก “แรงดันในท่อก๊าซที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
1
GZ ได้รับภาพและฟุตเทจใต้น้ำจาก Erik Andersson วิศวกรชาวสวีเดนซึ่งเป็นผู้นำการเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุระเบิด หลักฐานที่มองเห็นและวิเคราะห์ได้นี้ “หักล้างทฤษฎี” ที่ยึดถือกันอย่างกว้างขวางว่ามีการใช้วัตถุระเบิด “หลายร้อยกิโลกรัม” เพื่อทำลายท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีมเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และยังนำมาซึ่งการระบุ “ขนาดของระเบิดที่ใช้” โดยประมาณการณ์ และ “ตำแหน่งการวางระเบิด”
3
Michael Kobs ผู้สืบสวนโอเพ่นซอร์สที่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรม ระบุว่าวัสดุฉนวนหุ้มท่อยังคงสภาพไว้ตามขอบตรง ไม่มีรอยตัดจากโลหะที่หลอมเหลวที่อัตราเร็วสูง อาจไม่สามารถทะลุทะลวงเหล็กที่อยู่ด้านล่างซึ่งฉนวนซ้อนทับขอบของเหล็ก และไม่มีร่องรอยของความร้อนให้เห็น Kobs ยืนยันว่าจากที่สังเกตนั้นรอยแยกเป็นผลมาจากแรงดึงเชิงกลและการคลายตัวอย่างรวดเร็วของท่อที่มีแรงดันมหาศาล ไม่ใช่ความร้อนจากการระเบิด
เครดิตภาพ: Michael Kobs / The Grayzone
Andersson เห็นด้วยกับข้อสรุปของ Kobs พวกเขาเชื่อว่าการจุดระเบิดเกิดขึ้นจริงในช่วงกลางของท่อส่งก๊าซที่ถูกทำลายไปแล้วทั้งหมดซึ่งมีความยาวประมาณ 250 เมตร แต่ผลที่ตามมาก็คือ แรงดันในท่อพุ่งสูงมากเกินไปจนทำให้ท่อแยกออกจากกันทีละส่วน ด้วยแรงมหาศาลที่ส่งให้ท่อน้ำหนักหลายตันร่วงหล่นลงไปในน้ำลึกหลายสิบเมตร “เหตุการณ์แรงสั่นไหวที่รู้สึกได้บนพื้นผิวดูเหมือนจะเกิดจากการขยายตัวอย่างกะทันหันของก๊าซ” แทนที่จะเป็นแรงจากการะเบิด
1
  • ดังนั้นความเสียหายที่เกิดกับท่อ Nord Stream 2 เส้น A ในการระเบิดครั้งที่ 2 ซึ่งเกิดตามหลังรอบแรก 17 ชั่วโมง และอยู่ห่างจากจุดแรก 72 กิโลเมตร (คาดว่านักประดาน้ำวางผิดเส้น) จึงสามารถเห็นความเสียหายที่เกิดจากวัตถุระเบิดเพียงอย่างเดียว ตรงข้ามกับจุดแตกหักอื่นๆ ซึ่งท่อดูผิดรูปจากการเปลี่ยนแปลงของความดันในท่อจำนวนมหาศาล เพราะตอนนั้นท่อเส้น A ของ Nord Stream ถูกระเบิดไปแล้วก่อนหน้าครั้งหนึ่ง ดังนั้นความดันในท่อจึงน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
5
  • แล้วรูปร่างและขนาดระเบิดที่ใช้?
การสืบสวนของ GZ ครั้งล่าสุดนี้ ดูเหมือนจะขัดแย้งกับข้อมูลของสื่อตะวันตกก่อนหน้านี้ที่อ้างว่ามีการใช้ระเบิด “หลายร้อยกิโลกรัม” แต่กลับไปเข้าทางข้อเสนอล่าสุดที่ระบุว่าการก่อวินาศกรรมครั้งนี้สามารถดำเนินการโดยใช้ระเบิดที่มีขนาดไม่กี่กิโลกรัมซึ่งสามารถขนบนเรือยอร์ชได้
2
การบันทึกวิดีโอด้วยโดรนใต้น้ำบริเวณจุดเกิดเหตุนั้นยาก ด้วยเพราะสนามแม่เหล็กในบริเวณใกล้เคียงสร้างการรบกวนอย่างรุนแรงกับเข็มทิศ ทำให้เกิดความยากลำบากในการบังคับทิศทาง และข้อเท็จจริงที่ว่าท่อจมอยู่ในโคลนเบากว่าครึ่งหนึ่งของความสูงของมัน หมายความว่าทุกการเคลื่อนไหวของโดรนทำให้เกิดเมฆตะกอนที่ทำให้ทัศนวิสัยยากและเป็นไปไม่ได้ในบางครั้ง
ภาพจากวิดีโอฟุตเทจใต้น้ำของ Erik Andersson (copyright) เครดิต: The Intercept_
อย่างไรก็ตามทีมสืบสวนนี้ได้สร้างแบบจำลองสามมิติขึ้นมาจากภาพที่ได้ จากข้อมูลของ Kobs ดูเหมือนกับว่า “ลูกตุ้มทำลายล้างขนาดยักษ์กระแทกภายนอกด้านข้างท่อ” คอนกรีตหุ้มถูกทำลายในระยะทาง 2.5 เมตร อย่างสมมาตรกับการเชื่อมต่อของส่วนท่อสองส่วน ซึ่งตรงนั้นคือ “บริเวณข้อต่อ”
การวิเคราะห์ด้วยภาพแสดงให้เห็นว่าท่อเหล็กถูกดันเข้าไปด้านใน 30-40 ซม. และปริออก เขาระบุสิ่งที่ค้นพบจากการวิเคราะห์ภาพที่ได้ครั้งนี้คือ ความจริงที่ว่าเหล็กเสริมด้านในถูกตัดหรือเฉือนออกไปเหนือขอบ จึงสร้างแรงกดท่อปริออกที่ระดับก้นทะเล เกิดหลุมจากการระเบิดที่ด้านข้างตัวท่อ ต่อมาทรายและโคลนก็โดนน้ำดูดเข้าไปในท่อ เขาจึงสรุปความเป็นไปได้ 3 ประการคือ
2
  • ประการที่ 1: ระเบิดดูเหมือนจะถูกฝังอยู่ในโคลนที่ระดับเดียวกับส่วนที่ปากหลุม และเป็นส่วนที่เหล็กเสริมด้านในท่อเสียหายอย่างรุนแรง
  • ประการที่ 2: ท่อดูเหมือนจะวางตัวอยู่บนชั้นดินที่แน่นกว่า ซึ่งอาจป้องกันส่วนด้านล่างจากการถูกทำลายได้
  • ประการที่ 3: รูปร่างของระเบิดที่ใช้วาง ความเสียหายที่เกิดกับชั้นนอกของโลหะผิวท่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแต่เดิมพันรอบรอยต่อระหว่างส่วนของท่อ ซึ่งถูกเจาะออกโดยแรงดันของคลื่นกระแทก (แรงระเบิด) เนื่องจากขีดจำกัดด้านนอกของชั้นโลหะที่ไม่ม้วนงอจะระบุมุมที่แม่นยำซึ่งคลื่นกระแทกกระทบกับแผ่นโลหะหุ้มท่อได้
2
แบบจำลองการเกิดระเบิดท่อก๊าซนอร์ดสตรีม เครดิตภาพ: The Grayzone
Kobs และ Andersson มองว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าชิ้นส่วนระเบิดจำนวนมากจมลงสู่พื้นบริเวณข้างท่อที่จุดเชื่อมต่อระหว่างส่วนท่อสองส่วน ซึ่งจะเป็นจุดอ่อนที่สุดของโครงสร้าง หากจมอยู่ใต้น้ำลึกสุดจะทำให้ผู้มาสำรวจตรวจสอบไม่สามารถหาเจอได้
1
  • Andersson ในตอนแรกประเมินว่าจำเป็นต้องใช้ TNT จำนวน 60 กิโลกรัม สำหรับการทำลายดังกล่าว หลังจากการหารือหลายครั้งกับผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด ตัวเลขนี้ต้องปรับให้ลดลงเพียงเล็กน้อย จึงได้ข้อสรุปที่ว่า น่าจะใช้ปริมาณระเบิดแบบ TNT 50 กก. หรือ แบบ HMX 40 กก. และสันนิษฐานอย่างสมเหตุสมผลว่าใช้วิธีการเดียวกันสำหรับการระเบิดทั้งหมด (4 จุด 3 เส้น)
  • Kobs บอกว่าความเสียหายกับท่อก๊าซขนาดนี้โดยไม่ต้องนับปฏิกิริยาลูกโซ่จากการเปลี่ยนแปลงแรงดันในท่อที่จะส่งผลความเสียหายมากขึ้นตามมา เหมือนเป็นการคำนวณไว้ล่วงหน้าสำหรับขนาดของการทำลายล้างที่ต้องการให้เกิด ดังนั้น “คนที่ลงมือจึงไม่ใช่มือสมัครเล่น และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังรายเดียวกัน”
3
อย่างไรก็ตามจากการสืบสวนครั้งนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการใช้กลไกการจุดระเบิดที่แน่ชัดแบบใด ในขณะที่ในทางทฤษฎีสามารถใช้วงจรหน่วงตั้งเวลาได้ แต่ก็มีเหตุผลหลายประการที่ผู้กระทำความผิดไม่น่าจะใช้อุปกรณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตั้งตัวจับเวลาแล้ว วิธีเดียวที่จะหยุดมันได้คือต้องกลับไปที่ที่เกิดเหตุเท่านั้น เนื่องจากระเบิดถูกวางไว้ใต้ผิวทะเลเพียง 80 เมตร บริเวณน่านน้ำที่ได้รับการปกป้องอย่างแน่นหนาที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ความเป็นไปได้นี้จึงดูค่อนข้างห่างไกล
3
แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถระบุได้ในตอนนี้คือ “รัสเซีย” ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมท่อก๊าซนอร์ดสตรีมดังกล่าว จากรายงานของสื่ออย่าง Expressen ของสวีเดน หรือ The Washington Post ของอเมริกาเองก็ตาม (โบ้ยให้เป็นฝีมือของฝ่ายยูเครน)
1
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ “ซีมัวร์ เฮิร์ช” ก็มีระบุถึงวิธีการจุดระเบิดโดยการใช้ “ทุ่นโซนาร์” ส่งสัญญาณคำสั่งเมื่อต้องการของอเมริกา โดยอาศัยความร่วมมือจากทางกองทัพนอร์เวย์ หลังจากบทความเปิดโปงของเฮิร์ชเผยแพร่เมื่อช่วงกุมภาพันธ์ปีนี้ ทาง Andersson วิศวกรชาวสวีเดนที่ร่วมสืบสวนครั้งนี้ก็ค่อนข้างเห็นด้วยกับประเด็นนี้รวมถึงเรื่องอื่นๆ แต่เขาก็ยังมีสงสัยในรายละเอียดที่เฮิร์ชได้เปิดเผยอยู่บ้างเช่นกัน
2
เครดิตภาพ: GZERO Media
เรียบเรียงโดย Right SaRa
2nd July 2023
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: The Intercept / Sonar images by Patrik Juhlin of the Baltic Explorer and Erik Andersson>
โฆษณา