2 ก.ค. 2023 เวลา 04:20 • ปรัชญา

EP124: ก า ล า ม สู ต ร Doubt and Belief สงสัย ? ศรัทธาต่อความเป็นจริง

Doubt and Belief สงสัย ? ศรัทธา
ก า ล า ม สู ต ร : บทธรรมที่เราต้องอ่านให้จบ
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเกี่ยวกับอาการที่ไม่ควรเชื่อหรือสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ความสงสัยและความศรัทธา หลายคนเกิดความสงสัยว่า…
1
พระพุทธเจ้าสอนว่าให้เชื่อตนเอง และไม่ควรเชื่อแม้จะเป็นพระพุทธเจ้า จริงหรือไม่พระองค์สอนแบบนั้นหรือ ?
ซึ่งดูย้อนแย้งกับการตั้งศรัทธาถือเอารัตนตรัยเป็นสรณะ ?
และความจริงแล้วพระพุทธเจ้าตรัสสอนชาวกาลามอย่างไรบ้าง ?
จริงเท็จอย่างไร?
ในพระไตรปิฏก กาลามสูตร บทที่ ๕ จับใจความได้ดังนี้
สรุปสาระธรรมในกาลามสูตรว่า…
- ควรเชื่อตัวเองในการพิจารณาความจริงต่างๆที่รับฟังหรือกล่าวอ้างมานั้นว่าเป็นเรื่องดีไหม เป็นไปเพื่อประโยชน์ไหม สร้างทุกข์ไหม
- โลภโกรธหลง เป็นอกุศลธรรมถ้าเราถูกครอบงำมาก จะมีการกระทำผิดศิลฆ่า ลัก ผิดกาม พูดโกหก สร้างโทษและทุกข์ให้ตนเองและผู้คน
- พรหมวิหารสี่ คือเครื่องอยู่แห่งพระพรหมสี่ประการ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อานิสงส์หลักคือไม่ก่อเวร จึงไม่ทุกข์ เกิดในภพภูมิที่ดี
- ตระกูลกาลาม ต่างนับถือในความน่าสรรเสริญ และความไพเราะ ขอนับพระรัตนตรัยเป็นสรณสืบไป
ลองมาสั่งสมสุตตะใคร่ครวญและสดับในธรรมบทนี้กันนะครับ
ที่ ม า
กาลามสูตร…
กาลามคือวงค์ตระกูลหนึ่งในเมืองเกสปุตตะ
เป็นสูตรธรรมเกี่ยวกับคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้าผู้ควรเดินตามว่าด้วย การมิให้เชื่อ 10 อาการ
ตระกูลวงค์กาลาม แห่งเมืองเกสปุตตะ
ต่างมาชุมนุมกันรอคุยธรรมกับตถาคต ซึ่งก็มีทั้งกลุ่มที่ดูตั้งใจเลื่อมใสพนมมือ
กลุ่มทักทายไมตรี
กลุ่มแนะนำตัวเอง
กลุ่มนั่งมองเฉยๆ
พวกเขาถามพระพุทธเจ้าว่า…
ก่อนหน้านี้มีกลุ่มสมณพราหมณ์มาหลายกลุ่มมักจะเหมือนกันคือ
มาแบบยกตนข่มท่าน อวดแต่สิ่งดี ว่าคนอื่นไม่ดี เลยไม่รู้จะเชื่อใครดี ?
จึงมีคำถามถึงพระตถาคตว่าจะมีเหตุผลอย่างไรเพื่อจะเชื่อและยึดถือ
ไม่ควรเชื่อหรือยึดถือเพราะเหตุผลต่างๆอย่างไร ?
อ า ก า ร ไ ม่ ค ว ร เ ชื่ อ
อาการที่ไม่ควรเชื่อคืออะไร…?
ตถาคตตอบว่าถูกแล้วที่สงสัย กล่าวถึง 10 อาการไม่ควรเชื่อ
อย่าถือโดยฟังตามกันมา
อย่าถือโดยลำดับสืบๆกันมา
อย่าถือโดยความตื่นว่าได้ยินอย่างนี้
อย่าถือโดยอ้างตำรา
อย่าถือโดยนึกเดาเอา
อย่าถือโดยนัยคาดคะเน
อย่าถือโดยคิดตามอาการ
อย่าถือโดยถูกใจว่าเหมือนลัทธิของตน
อย่าถือโดยเชื่อว่าผู้พูดน่าเชื่อถือ
อย่าถือโดยเป็นความนับถือว่าสมณนั้นเป็นครูของเรา
แต่ให้เรารู้ด้วยตนเองว่า…
ความจริงเหล่านี้เป็นอกุศล มีโทษ มีผู้รู้ติเตียน
เป็นความจริงที่ถ้าใครทำมากแล้ว ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์
ความจริงหรือธรรมเหล่านี้ควรละเสีย
โ ล ภ โ ก ธ ร ห ล ง
นำไปสู่บาป…
พระพุทธเจ้าจึงกล่าวสาธยายธรรมแบบถามตอบให้คิดด้วยตนเองว่า
- ถ้าคนใดเต็มไปด้วยความละโมปอยากได้มาก นี้จะการเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ไหม_ไม่พระเจ้าข้า
- ถ้าโลภะมากเกิดครอบงำคนใด จะมีการฆ่า ลักของคนอื่น ผิดกาม พูดเท็จชักชวน ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทุกข์แก่ผู้อื่น โดยตลอด ใครโลภมักชวนผู้อื่นให้เป็นไปตามจริงไหม_จริงพระเจ้าข้า
จากนั้นตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผู้ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง กล่าวอุปมาอุปไมยในลักษณะนี้ในการมี โทษะ(ประทุษร้ายใจตัวเองและผู้อื่น) โมหะ (ความหลง)ครอบงำอยู่ จะทำสิ่งไม่เป็นเพื่อประโยชน์ และเป็นทุกข์จริงไหม_ไช่พระเจ้าข้า
- แล้วตัวเราจะพิจารณาธรรมเหล่านี้คือ โลภโกรธหลง นั้นเป็นกุศลหรืออกุศล มีโทษ หรือไม่มีโทษ_ เป็นอกุศล และมีโทษพระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าได้แนะนำการใคร่ครวญธรรมในลักษณะเดียวกันให้ชาวกาลามบรรลุปัญญาว่า การไม่โลภโกรธหลง ไม่ไปผิดศิลอีกสี่ข้อ และเป็นไปเพื่อประโยชน์ และไม่เป็นทุกข์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้รู้กล่าวสรรเสริญ
พ ร ห ม วิ ห า ร สี่…
พระพุทธเจ้ากล่าวแนะนำถึงสิ่งที่พรหมประพฤติสี่ประการ และอานิสงส์แห่งการทำกุศลแบบนี้แล้ว จะไม่โลภโกรธหลง มีสติรู้รอบคอบ
ใจปรารถนาให้หมู่สัตว์ได้ความสุขทั่วหน้า
หมู่สัตว์พ้นจากทุกข์ทั่วหน้า
มีความรื่นเริงบันเทิงต่อสมบัติที่สัตว์อื่นได้
มีใจเป็นกลางไม่ลำเอียงไปข้างไหน
ภาวนาที่แผ่ไปในหมู่สัตว์ไม่มีประมาณ ตั้งอยู่ในธรรมที่อยู่ของผู้ประเสริฐ ตั้งอยู่ในพรหมวิหารสี่อยู่เสมอ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ที่ได้แน่ๆคือ เป็นอริยสาวก มีจิตหาเวรมิได้ มีจิตไม่เบียดเบียน ไม่เศร้าหมอง จิตหมดจด
1. ตายไปสุคติสวรรค์
2. ทำดีไม่มีชั่ว รักษาตนไม่มีเวร ไม่มีความลำบากไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้
3. ใครทำบาป ถือว่าทำบาป แต่เราไม่ได้คิดบาปให้ใครๆ ไหนทุกข์จะมาติดที่เรา
4. ใครทำบาป แต่ไม่ถือว่าทำ เราพิจารณาแล้วเห็นตนบริสุทธิ์
ศ รั ท ธ า ใ น พ ร ะ พุ ท ธ พ ร ะ ธ ร ร ม พ ร ะ ส ง ฆ์
ชาวกาลามต่างสรรเสริญ ความไพเราะการบรรยายเหตุหรือกระแสความต่างๆ ได้เกิดปัญญาดุจดังเป็นผู้เปิดของที่คว่ำ หลงอยู่ ให้เห็นความกระจ่าง ดุจดังแสงตะเกียง เหมือนคนมีตาได้เห็นรูป
ขอพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่งตลอดไป
อ้างอิงจากเนื้อความในพระสูตร กาลามสูตร บทที่5 ในพระไตรปิฏก
…พร้อมกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกกราบไหว้ตาม 
อาการของผู้เลื่อมใส บางพวกเป็นแต่กล่าววาจาปราศรัยแสดงความยินดี 
บางพวกเป็นแต่ประคองอัญชลีประณมมือ บางพวกร้องประกาศชื่อแลโคตร 
ของตน ๆ ต่างคน นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง บางพวกนิ่งเฉยอยู่ ครั้นหมู่ 
กาลามชนชาวเกสปุตตนิคมนั้นนั่งเป็นปกติแล้ว
จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า 
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มาถึงเกสปุตตนิคมนี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น 
พูดแสดงแต่ถ้อยคำของตนเชิดชูให้เห็นว่า ดีชอบควรจะถือตามถ่ายเดียว พูด 
คัดค้านข่มถ้อยคำของผู้อื่น ดูหมิ่นเสียว่าไม่ดีไม่ชอบ ไม่ควรจะถือตาม ทำ 
ถ้อยคำของตนให้เป็นปฏิปักษ์แก่ถ้อยคำของผู้อื่น ครั้นสมณพราหม์พวกหนึ่งอื่น 
มาถึงเกสปุตตนิคมนี้อีก ก็เป็นเหมือนพวกก่อน เป็นอย่างนี้ทุก ๆ หมู่ จน 
ข้าพระองค์มีความสงสัย ไม่รู้ว่าท่านสมณะเหล่านี้ ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ 
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ควรแล้วท่านจะสงสัย ความสงสัย 
ของท่านเกิดขึ้นแล้วในเหตุควรสงสัยจริง ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตาม 
กันมา อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่า 
ได้ยินอย่างนี้ๆ อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา 
อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ
อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อ 
ว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้ 
เป็นครูของเรา
เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล 
ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้ 
เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควร 
ละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามไม่ให้ถือ โดยอาการสิบอย่าง มีถือ 
โดยได้ฟังตามกันมาเป็นต้น ให้พิจารณารู้ด้วยตนเองแล้ว เว้นสิ่งที่ควรเว้นเสีย 
อย่างนี้แล้ว จะทรงแนะนำ ให้กาลามชนได้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งที่ควรเว้น 
นั้นด้วยตนเอง จึงตรัสปุจฉา ยกโลภะ (ความละโมบอยากได้เหลือเกิน) โทษะ 
(ความมีใจโกรธขัดเคืองแล้ว ประทุษร้ายใจตัวเองแลผู้อื่น) โมหะ (ความหลง) 
ขึ้นถาม ให้กาลามชนทูลตอบตามความเห็นโดยลำดับ อย่างนี้
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน โลภความอยากได้เมื่อเกิดขึ้น 
ในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือ หรือเพื่อสิ่งที่ไม่เป็น 
ประโยชน์
กา. โลภนั้นย่อมเกิดขึ้นเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า. 
 พ. บุรุษผู้โลภแล้ว อันความโลภครอบงำแล้ว มีใจอันความโลภ 
ยึดไว้รอบแล้ว ฆ่าสัตว์มีชีวิตบ้าง ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้แล้วบ้าง ถึง 
ภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นบ้าง สิ่งใดเป็นไป 
เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้โลภแล้ว 
ชักชวนผู้อื่นในสิ่งนั้น อันจริงหรือไม่. 
 กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน โทษะความประทุษร้ายเมื่อเกิด 
ขึ้นภายในของบุรุษ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์. 
 กา. โทษะนั้น เกิดขึ้นเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษอันโทษะประทุษร้ายแล้ว อันโทษะครอบงำแล้ว มีใจอัน 
โทษะยึดไว้รอบแล้ว ฆ่าสัตว์มีชีวิตบ้าง ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้แล้วบ้าง 
ผิดในภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นบ้าง สิ่งใดเป็น 
ไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้ที่ 
โทษะประทุษร้ายแล้ว ชักชวนผู้อื่นในสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่.
กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน โมหะความหลงเมื่อเกิดขึ้นภาย 
ในของบุรุษ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์. 
 กา. โมหะนั้นเกิดขึ้นเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษผู้หลงแล้ว อันความหลงครอบงำแล้ว มีใจอันความหลง 
ยึดไว้รอบแล้ว ฆ่าสัตว์มีชีวิตบ้าง ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้แล้วบ้าง ผิดใน 
ภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นบ้าง สิ่งใดเป็นไป 
เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้หลง 
แล้วชักชวนผู้อื่นในสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่. 
 กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือ 
เป็นอกุศล 
 กา. เป็นอกุศล พระพุทธเจ้าข้า 
 พ. มีโทษ หรือไม่มีโทษ.
กา. มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านผู้รู้ติเตียน หรือท่านผู้รู้สรรเสริญ. 
 กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระพุทธเจ้าข้า. 
 พ. ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ 
เป็นไปเพื่อทุกข์หรือไม่ ความเห็นของท่านในข้อนี้เป็นอย่างไร. 
 กา. ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ 
เป็นไปเพื่อทุกข์ ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า ในข้อนี้อย่างนี้.
พ. เราได้กล่าวคำใดว่า ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา อย่าได้ 
ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ อย่าได้ 
ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน 
อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิ 
ของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือ 
ว่าสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา
เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็น 
อกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใคร 
ประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ 
ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น ดังนี้ คำนั้นเราได้อาศัยความข้อนี้แล 
กล่าวแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะนำให้กาลามชนได้ปัญญาพิจารณาเห็น 
สิ่งที่ควรเว้นนั้นด้วยตนเองอย่างนี้แล้ว ตรัสสอนให้พิจารณาให้รู้ด้วยตนเองแล้ว 
ทำสิ่งที่ควรทำต่อไปว่า ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา อย่าได้ถือโดยลำดับ 
สืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ อย่าได้ถือโดยอ้าง 
ตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัย คือคาดคะเน อย่าได้-
ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิของตน 
อย่าได้ถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะ 
ผู้นี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม 
เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครประพฤติ 
ให้เต็มที่แล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นไปเพื่อสุข ดังนี้ ท่านควรถึงพร้อม 
ธรรมเหล่านั้นอยู่ เมื่อนั้น.
ครั้นตรัสสอนอย่างนี้แล้ว ตรัสปุจฉายก อโลภะ (ความไม่โลภ) 
อโทษะ (ความมีใจไม่ขัดเคือง ไม่ประทุษร้ายใจตัวเองแลผู้อื่น) อโมหะ 
(ความไม่หลง) ขึ้นถาม ให้กาลามชนทูลตอบตามความเห็นโดยลำดับดุจหน- 
หลัง ดังนี้ 
 พ. ท่านจะสำคัญ ความนั้นเป็นไฉน อโลภะความไม่อยาก เมื่อเกิดขึ้น 
ภายในแห่งบุรุษ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์. 
 กา. อโลภะนั้นย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษผู้ไม่โลภแล้ว อันโลภไม่ครอบงำแล้ว มีใจอันโลภะ 
ไม่ยึดไว้รอบแล้ว ไม่ฆ่าสัตว์มีชีวิต ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าไม่ให้แล้ว ไม่ผิดใน 
ภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้น สิ่งใดเป็นไปเพื่อประ- 
โยชน์ เพื่อสุขแก่ผู้อื่นนั้นสิ้นกาลนาน ผู้ไม่โลภแล้ว ชักชวนผู้อื่นในสิ่งนั้น 
ข้อนี้จริงหรือไม่. 
 กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
1
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน อโทษะความไม่ประทุษร้าย 
เมื่อเกิดขึ้นภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อไม่เป็น 
ประโยชน์. 
 กา. อโทษะนั้น เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษอันโทษะไม่ประทุษร้ายแล้ว อันโทษะไม่ครอบงำ มีใจ 
อันโทษะไม่ยึดไว้รอบแล้ว ไม่ฆ่าสัตว์มีชีวิต ไม่เองสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้แล้ว 
ไม่ผิดในภรรยาผู้อื่น ไม่พูดชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้น สิ่งใดเป็นไปเพื่อ 
ประโยชน์เพื่อสุขแก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้อันโทษะไม่ประทุษร้าย ชักชวน 
ผู้อื่นในสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่. 
 กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนี้เป็นไฉน อโมหะความไม่หลง เมื่อเกิดขึ้น 
ภายในแห่งบุรุษ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์. 
 กา. อโมหะนั้น เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษผู้ไม่หลงแล้ว อันความหลงไม่ครอบงำแล้ว มีใจอัน 
ความหลงไม่ยึดไว้รอบแล้ว ไม่ฆ่าสัตว์มีชีวิต ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ 
แล้ว ไม่ผิดในภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้น สิ่งใด 
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้ไม่หลงแล้ว ชักชวน 
ผู้อื่นในสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่. 
 กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือเป็น 
อกุศล. 
 กา. เป็นกุศล พระพุทธเจ้าข้า. 
 พ. มีโทษ หรือไม่มีโทษ. 
 กา. ไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า. 
 พ. ท่านผู้รู้ติเตียน หรือท่านผู้รู้สรรเสริญ. 
 กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขหรือไม่ 
ความเห็นของท่านในข้อนี้ เป็นอย่างไร. 
 กา. ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข 
ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าในข้อนี้เป็นอย่างนี้.
พ. เราได้กล่าวคำใดว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา 
อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ 
อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัย คือ 
คาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่าต้องกัน 
กับลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือ 
โดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา
เมื่อใด ท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า 
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ 
ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นไปเพื่อสุข 
ดังนี้ ท่านควรถึงพร้อมธรรมเหล่านั้นอยู่เมื่อนั้น ดังนี้ คำนั้นเราได้อาศัย 
ความข้อนี้แลกล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะนำให้กาลามชนได้ปัญญา พิจารณาเห็น 
ด้วยตนเองแล้ว ทำสิ่งที่ควรทำอย่างนี้แล้ว ทรงแสดงอานิสงส์อันชนผู้ปฏิบัติ 
อย่างนั้น จะพึงได้จะพึงถึงดังนี้ว่า อริยสาวกนั้นปราศจากความโลภ ปราศจาก 
พยาบาทแล้ว ไม่หลงแล้ว อย่างนี้
มีสติรู้รอบคอบ ใจประกอบด้วยเมตตา 
คือ ปรารถนาให้หมู่สัตว์ได้ความสุขทั่วหน้า มีใจประกอบด้วยกรุณา คือ 
ปรารถนาให้หมู่สัตว์พ้นจากทุกข์ทั่วหน้า มีใจประกอบด้วยมุทิตา คือ ร่าเริง- 
บันเทิงต่อสมบัติที่สัตว์อื่นได้ แลมีใจประกอบด้วยอุเบกขา คือ ตั้งใจเป็นกลาง 
ไม่ลำเอียงเข้าข้างไหน แผ่อัปปมัญญา (ภาวนาที่แผ่ไปในหมู่สัตว์ไม่มี 
ประมาณ) พรหมวิหาร (ธรรมเป็นที่อยู่ของผู้ประเสริฐ) สี่ประการนี้ไป
ตลอดทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ มีใจประกอบด้วยเมตตา (ความปรารถนา 
ให้เป็นสุข) กรุณา (ความปรารถนาให้พ้นจากทุกข์) มุทิตา (ความร่าเริง 
ยินดีต่อสมบัติที่ผู้อื่นได้) อุเบกขา (ความเฉยเป็นกลาง) ไพบูลย์เต็มที่ เป็น 
จิตใหญ่มีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน 
แผ่อัปปมัญญาพรหมวิหารตลอดโลกอันมีสัตว์ทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ด้วยความ 
เป็นผู้มีใจในสัตว์ทั้งปวง ทั้งทิศเบื้องบนเบื้องต่ำเบื้องขวาง
ดังนี้ อยู่เสมอ 
อริยสาวกนั้นมีจิตหาเวรมิได้ อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้ อย่างนี้ 
มีจิตไม่เศร้าหมองแล้ว อย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้ว อย่างนี้ เธอได้ความอุ่นใจ 
สี่ประการในชาตินี้ ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่. ผลแห่งกรรม 
ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่
ข้อนี้เป็นสถานที่ตั้งซึ่งจะเป็นได้ คือเบื้องหน้าแต่กาย 
แตกตายไปแล้ว เราจะเข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวก 
ได้แล้วเป็นที่หนึ่ง ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมที่ 
สัตว์ทำดีทำชั่วก็ไม่มี
เราก็จะรักษาตนให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก 
ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง 
ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำ เราไม่ได้ 
คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปดังนี้ ความ- 
อุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม ความอุ่นใจที่สี่ว่า
ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป 
บาปไม่ชื่อว่าเป็นอันทำ เราก็ได้พิจารณาเห็นตนเป็นคนบริสุทธิ์ แล้วทั้งสองส่วน 
ดังนี้ ความอุ่นใจนี้อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่ อริยสาวกนั้นมีจิตหาเวรมิได้ 
อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้ อย่างนี้ ทีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ 
มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอได้ความอุ่นใจสี่ประการเหล่านี้แล ในชาตินี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธรรมเทศนาจบแล้ว กาลามชน 
ทูลรับว่า ข้อนั้นเป็นจริงอย่างนั้น ๆ แล้ว ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา
และแสดงตนเป็นอุบาสกว่า ภาษิตของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก ๆ พระผู้มีพระ- 
ภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมเทศนาโดยบรรยาย (เหตุหรือกระแสความ) 
หลายอย่าง
1
ให้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นทางที่จะปฏิบัติแจ้งชัดแก่ปัญญา อุปมา 
ดุจบุคคลหงายของที่คว่ำ หรือเช่นเปิดของที่มีสิ่งกำบังไว้ หรือเหมือนบอกทาง 
ให้แก่คนหลงทาง หรือเปรียบอย่างตามตะเกียงไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีนัยน์ตา 
จักได้เห็นรูป ฉะนั้น
1
ข้าพระพุทธเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรม 
และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งพำนัก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้า 
ไว้ว่าเป็นอุบาสก ถึงสรณะ (สิ่งที่ควรถึงว่าเป็นที่พึ่งพำนัก) จนตลอดชีวิต 
จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้. 
 จบกาลามสูตรที่ ๕
โฆษณา