2 ก.ค. 2023 เวลา 05:28 • สิ่งแวดล้อม

น้องๆ แถบแคลิฟอร์เนีย เจ็บป่วยล้มตายจำนวนมาก

ถ้าใครติดตามข่าวเกี่ยวกับสัตว์โลกน่ารักในช่วงนี้ จะพบว่ามีเรื่องน่าสลดใจเกิดขึ้นที่แถบชายฝั่งแถบแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีสิงโตทะเล และโลมาจำนวนมาก เข้ามาเกยตื่น และ เสียชีวิต ไม่ต่ำว่าวันละ 10 ตัว
โดยมีสามเหตุมาจาก สาหร่ายที่เป็นพิษ Pseudo-nitzschia ซึ่งสร้างพิษ Domoic Acid ที่มีผลต่อระบบประสาทของสัตว์ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้บริโภคสาหร่ายนี้โดยตรง แต่เกิดจากกินสัตว์เล็กสัตว์น้อยเช่น ปลา หอย ซึ่งบริโภคสาหร่ายเป็นอาหาร สาหร่ายที่เป็นพิษนี้จะมีการบลูมในช่วงนี้ของทุกๆปี แต่ในปีนี้มีการแผ่ขยายเป็นวงกว้างและยาวนาน เนื่องด้วยสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น จากภาวะโลกรวน
การบลูมของสาหร่ายเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ จนในบางที่ทำให้ทะเล หรือ แม่น้ำเปลี่ยนสีกันเลยทีเดียว
ทางวิชาการเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ยูโทรฟิเคชัน” (Eutrophication) หรือ “ขี้ปลาวาฬ”ตามที่ชาวบ้านเรียนกัน
มีสาเหตุมาจากมลภาวะจากธาตุอาหารพืช (Nutrient Pollution) ในน้ำ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อสารอาหารในน้ำคือไนโตเจนและฟอสฟอรัสอยู่ในภาวะไม่สมดุลกันจนทำให้แพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายทะเลเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว (Plankton & Agae Bloom) และผิดปกติจนทำให้นำ้ทะเลเปลี่ยนสี โดยอาจจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีแดงก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอนพืชที่เจริญเติบโตขึ้นมา สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในน้ำเค็มและน้ำจืดอีกด้วย
แท้จริงแล้วนี่ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นเองนาน ๆ ทีสิบปีครั้งได้ด้วยซ้ำ แต่ในระยะหลังที่เราพบเห็นได้ถี่ขึ้นก็ด้วยเพราะธรรมชาติถูกเร่งเร้าให้ตึงเครียดจากกิจกรรมของมนุษย์เข้ามาเป็นหัวเชื้อทั้งกิจกรรมจากภาคเกษตรกรรมที่นิยมใช้ปุ๋ยเคมีที่มีส่วนประกอบของทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากเกินไปจนสะสมทิ้งค้างอยู่ในดินพอกพูนไว้ในปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนพายุมาจึงชะล้างสารเคมีเหล่านี้ให้ไหลลงไปยังแหล่งน้ำธรรมชาติ กิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนเองก็ใช่ย่อยไม่น้อยหน้าแม้จะได้บำบัดน้ำที่เคยเสียให้กลับดีขึ้นแล้วหากแต่ถ้ายังดีได้ไม่มากพอก็อาจเป็นเหตุให้น้องขี้ปลาวาฬนี้ปะทุเดือดปุด ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน
เมื่อแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายเจริญเติบโตขึ้นมามากกว่าปกติก็แน่นอนว่าอีกไม่นานก็จะถึงคราที่จะต้องตายลาจากโลกนี้และจมลงสู่ใต้ท้องน้ำ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของมวลหมู่มหาแบคทีเรียที่ต้องระดมกันมาย่อยสลายซากแพลงก์ตอนและสาหร่ายโดยดึงออกซิเจนจากในแหล่งน้ำเดียวกันนี้มาใช้ แต่ด้วยปริมาณซากที่มากเกินไปจนทำให้เกิดภาวะออกซิเจนในน้ำขาดสมดุลจนเกิด “Dead Zone” กลายเป็นพื้นที่ออกซิเจนต่ำตมจนสิ่งมีชีวิตไม่อาจอาศัยอยู่ต่อได้
และถ้าโชคร้ายเพิ่มขึ้นไปอีก ชนิดของสาหร่ายที่บลูมเป็นสาหร่ายที่เป็นพิษ ก็จะมีเหตุการที่น่าสลดเกิดขึ้นแบบชายฝั่งแถบ แถบแคลิฟอร์เนีย
ในประเทศไทย ปรากฏการณ์ “ขี้ปลาวาฬ” ทะเลเปลี่ยนสี จะมาในช่วงที่มีฝนตกมากๆ (มิถุนา-กันยา) สามาถสังเกตเห็นได้ในบริเวณทะเลยแถวปากแม่น้ำ เช่น บางแสน
ถึงแม้ว่า ชนิดของสาหร่ายที่บลูกจะไม่ได้มีพิษ แต่สภาวะ Eutrophication น้ำทะเลเอื้อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่ติดต่อผ่านได้ทางน้ำ เช่น ท้องเสีย หูอักเสบ ดังนั้นทะเลที่เกิด Eutrophication ก็ไม่ใช้ทะเลที่น่าลงไปว่ายเล่นสักเท่าไหร่
แม้จะไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นสัตว์น้ำทยอยขึ้นมาเกยตื้นตายหรือนอนหายใจรวยรินอยู่บนชายหาด แต่ไม่น่าจะเป็นเรื่องดีที่เราจำต้องคุ้นชินกับ “ทะเลเปลี่ยนสี” และ “ปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชัน” ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายพื้นที่สะท้อนภาพความล้มเหลวของมวลมนุษยชาติที่กำลังพยายามสู้โลกรวน...แต่ถูกโลกรวนสู้กลับ
ข้อมูลและภาพจาก
 
The Guardian
Daily mail
BBC
สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา