2 ก.ค. 2023 เวลา 12:32 • ความคิดเห็น
น้ำขึ้นให้รีบตัก คือรู้กาละ คือรู้จักจังหวะเวลาว่าจะตักตวงเอาประโยชน์จากจังหวะเวลานั้นๆ ที่มอบโอกาสให้ แต่เห็นได้ชัดว่านี่คือคำพังเพยของคนที่อยู่ริมน้ำ ชาวนาอีสานมีสำนวนที่คล้ายกันนี้ว่า "สิบต้นหล่า บ่เท่าห้าต้นหัวปี" แปลตามตัวว่า ข้าวสิบต้นที่ปลายฤดูเพาะปลูกนั้นไม่งามเท่ากับข้าวห้าต้นที่ปลูกต้นฤดู มันสอนให้รีบเร่งทำการงานที่เมื่อโอกาสล่วงเลยไปแล้วจะ "ไม่ทันกาล" จนทำให้ต้อง "เสียการ"
2
ส่วน ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม สอนให้รู้จักรอบคอบ ไม่ใช่ว่าไม่ให้รีบ นอกจากรอบคอบแล้วยังต้องพิถีพิถัน ใส่ใจให้ดี เหมือนการ "ตี" พร้า พร้าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในสมัยโบราณ แม้สมัยนี้ในสังคมชนบทก็ยังสำคัญอยู่ ผู้ใช้งานจะรู้ได้ว่าพร้าที่ใช้นั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร (พร้างามที่ว่านี้ต้องดีด้วย) การตีพร้านั้นก็ไม่ได้ตีแค่คนเดียว แต่ต้องต้องตีเป็นทีม คือ มีคนทำหน้าที่ตี 2 คน อีกคนหนึ่งเป็นช่างที่ทำหน้าที่คีบเหล็กใส่ทั่งไว้ให้ลูกมือตี หากตีเร็วเกินไปก็ไม่เข้าจังหวะกัน ช้าเกินไปก็ไม่เข้าจังหวะกัน
2
แล้วก็ไม่ได้ตีแค่สองทีสามที หรือสองยกสามยก แต่ตีจนกว่าจะได้ เมื่อตีเสร็จสรรพคือเป็นดวงแล้วก็ต้องเอาไปชุบ(บ้านผมเขาเรียกพร้าเป็นดวง ภาษากลางคงใช้เป็น เล่ม) การชุบพร้าก็ต้องรู้จักทั้งเหล็ก รู้จักทั้งไฟ เหล็กอย่างงี้ต้องใช้ไฟอ่อน เหล็กอย่างงี้ต้องใช้ไฟแก่ ยุ่งยากสารพัด มันจึงเป็นงานที่ "ใจเร็วด่วนได้" คือรีบๆ ทำ รีบๆ เอาไม่ได้ แม้กระทั่งว่าชุบเสร็จแล้ว จะเอาไปใช้งานเลยก็ยังไม่ได้ ต้องรอให้เหล็กมันคายความร้อนจนเย็นสนิทเป็นวันๆ ก่อน
2
บางสูตรที่เคยได้ยินมาก็คือเอาไปเสียบไว้ในต้นกล้วย ผ่านไปวันนึงจึงเอาไปใช้ได้ ฉะนั้น ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม จึงไม่ใช่เรื่องให้รู้จักเวลา แต่ให้รู้จักใจเย็น พิถีพิถัน รอบคอบ เป็นขั้นเป็นตอน ไม่ลักลำดับกัน อะไรแบบนี้
2
การตีเหล็ก เป็นศาสตร์และศิลป์ของคนโบราณ คนสมัยนี้อาจไม่ค่อยรู้จักแล้ว
2
โฆษณา