Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Pongsuda
•
ติดตาม
3 ก.ค. 2023 เวลา 04:16 • ไลฟ์สไตล์
จะเก็บเงินใช้ตอนแก่ได้ยังไง แล้วถ้าตายก่อน ยังไม่ทันแก่ จะทำยังไง
คำถามแรก เก็บเงินใช้ตอนแก่ ทำไง ? ตอบ ก็ดูว่าตอนนั้นจะใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ แล้วกะว่าจะแก่สักกี่ปี และอย่าลืมว่าเงินมันเฟ้อขึ้นเรื่อย ๆ ก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 บาทในวันนี้อาจเป็นชามละ 100 บาทในวันนั้น
อ่ะ อยากมีเงินใช้ตอนแก่สักเดือนละ 20,000 อยู่สัก 10 ปี(ถึงอายุ 70 กว่า) ก็น่าจะเตรียมตัวตายได้แล้ว บวกกับเงินเฟ้อ ดังนั้นต้องหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยมากกว่า 2% ซึ่งการฝากระยะยาวบางธนาคารตอบโจทย์นี้ได้ รวมถึงการซื้อสลากแบบต่าง ๆ และการซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์
เงินใช้เดือนละ 20,000 x 10 ปี = 2,400,000 ประกันแบบสะสมทรัพย์ 30/15 ของ FWD. ที่ทุนประกัน 1 ล้านบาท จ่ายเบี้ยเดือนละ 11,340 เป็นเวลา 15 ปี (จ่ายเบี้ยยอดนี้ คงที่ ไม่มีปรับเพิ่ม รวมแล้ว 2,041,200) จะได้รับเงินปันผลทุกปี ตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 1 - 30 รวมแล้วจะได้รับเงินปันผล 2,350,000 (รายละเอียดนี้ระบุไว้ในกรมธรรม์) นั่นเท่ากับว่า ประกันแบบสะสมทรัพย์ให้ผลตอบแทน 15% และตอบโจทย์ตามวงเงินที่ต้องการ
คำถามต่อมา ถ้าตายก่อนแก่ จะทำยังไง ตอบ ในแง่ความต้องการก็คือ ไม่ต้องทำไง ถือว่า Game Over เพราะไม่มีลูกหรือคนข้างหลังให้ดูแล อาจจะต้องการเงินสำหรับจัดงานศพและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของครอบครัวในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เท่านั้น
กรมธรรม์สะสมทรัพย์ 30/15 คุ้มครองกรณีเสียชีวิตด้วย หากเสียชีวิตในปีกธ.ที่ 1 - 6 รับ 1 ล้าน , หากเสียชีวิตในปีกธ.ที่ 7 - 9 รับ 1.5 ล้าน , เสียชีวิตในปีกธ.ที่ 10 - 12 รับ 2 ล้าน และหากเสียชีวิตในปีกธ.ที่ 13 เป็นต้นไป รับ 2.5 ล้าน หมายความว่า แม้เสียชีวิต เงินที่จ่ายไปกับการสะสมทรัพย์นั้นก็ไม่ได้สูญเปล่า ยังได้คืนมาโดยคืนให้กับผู้รับผลประโยชน์
กรณีต่อมา เกิดเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง (ดันติดเทรนด์โรคร้ายแรงยอดฮิตคนไทย มะเร็ง หัวใจ สมอง หลอดเลือด ฯลฯ - กูว่า กูไม่น่ารอด 555) ทำให้ทำงานไม่ได้ ต้องหยุดหรือลาออกจากงาน ซึ่งมีภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน (ป่วยแทบตาย แต่ยังไม่ตาย แถมยังมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เคยพัก)
โจทย์นี้ตอบได้ด้วยประกันโรคร้ายแรง CI 50 สมมุติทำทุนประกันที่ 3 ล้านบาท เมื่อตรวจเจอ 5 โรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น รับเงินก้อน 600,000 ต่อมาเจอระยะลุกลาม รับเงินก้อน 2.4 ล้าน หรือหากเจอ 1 ใน 45 โรคระยะลุกลามเลย ก็รับเงินก้อน 3 ล้าน หรือถ้าหากไม่มีการป่วยด้วยโรคร้ายแรงใด ๆ แล้วมีการเสียชีวิตไม่ว่ากรณีใด ก็รับเงิน 3 ล้านโดยจ่ายให้กับผู้รับผลประโยชน์ (หญิง อายุ 33 จ่ายเบี้ยประกันตัวนี้ที่เดือนละ 670 บาท)
และสุดท้าย ระหว่างทำงานใน 20 ปีนี้ การเจ็บป่วยระหว่างทางเป็นอุปสรรคต่อการไปถึงชีวิตยามแก่อันน่ารื่นรมย์ แม้มีประกันสังคม แต่ก็อยากนอนห้องที่ดีหน่อย ได้รับการรักษาที่ครอบคลุม (แน่นอน! เราเรียกร้องให้ประกันสังคมเป็นระบบเดียวที่มีคุณภาพไม่ว่าสิทธิ์ข้าราชการ 30 บาท หรือสิทธิ์ประกันสังคม)
ประกันสุขภาพพรีเชียส แคร์ วงเงินต่ำสุด 1 ล้านบาทเป็นการจ่ายค่ารักษาแบบเหมาจ่าย มีค่าห้อง 2,500 บาท OPD ให้ 3,000 บาท + เงินชดเชยรายวัน ๆ ละ 2,000 บาท และ + เงื่อนไข Family Sharing ให้สามารถแชร์ค่ารักษากับคนในครอบครัวได้ ทั้งหมดนี้จ่ายเบี้ยเดือนละ 1,742 บาท (กรณี หญิง อายุ 33 ปี)
———
ทั้งหมดนี้ รวมแล้ว หญิง อายุ 33 ปี ต้องจ่ายเบี้ยเดือนละ 13,752 บาท แน่นอนว่า นี่คือแผนบริหารการเงินที่สมบูรณ์แบบ และต้องมีเงินเดือนอย่างน้อย 50,000 บาทเพื่อจ่ายเบี้ยที่ว่ามาท้ังหมดนี้
(ตามหลักในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ควรมีประกันหรือการโอนความเสี่ยงในการสูญเสียเงินก้อนไปให้บริษัทประกันไม่เกิน 10 - 15 % ต่อเดือน และควรมีเงินเก็บ เงินออมอีก 10 - 15% ต่อเดือน) ไว้โพสต์ต่อ ๆ ไปจะลองทำโมเดลกรณี/เงื่อนไขชีวิตแบบอื่น ๆ มาให้ดูกัน (อันนี้คือสมบูรณ์แบบใช่ไหม แสดงว่าแบบอื่น ๆ เบี้ยน้อยกว่านี้เยอะ)
ปล. ส่วนตัวแล้ว ก็อยากไปถึงเป้าหมายที่สมบูรณ์แบบแบบนี้เหมือนกันนะ #ทำงานทำงานทำงาน
ใครสนใจสอบถาม ปรึกษา เช็คเบี้ยประกัน ทักแชทมาได้เลยนะ (เน้นคุย ไม่เน้นขาย ไม่ซื้อ ไม่ว่า ตามบ้าง - แต่นานไปก็ขี้เกียจ ไม่จิก ไม่เลิกคบ , ตามชอบ)
------
นายหน้าประกันวินาศภัย ใบอนุญาตเลขที่ 6504001537 สังกัด ฟิน อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด รหัส FNG22-054737 และตัวแทนประกันชีวิต ใบอนุญาตเลขที่ 6601030434 สังกัด FWD.Life บริษัท เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) รหัสตัวแทน 163884
การเงิน
วางแผนการเงิน
เรื่องเล่า
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ผลิตภัณฑ์การเงิน
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย